GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "Tokyo Game Show"
SNK vs. Capcom: The Match of the Millennium เกมต่อสู้ Crossover สุดคลาสสิก วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการบน PC แล้ว!
SNK ได้ทำการเปิดตัว SNK vs. Capcom: The Match of the Millennium เกมต่อสู้ Crossover สุดคลาสสิก เวอร์ชัน PC แล้ว ผ่านหน้า Steam ในราคา $7.99 หรือประมาณ 270.86 บาท พร้อมทำการปล่อยวิดีโอตัวอย่างใหม่ความยาวเกือบสองนาทีออกมา แสดงให้เราเห็นตัวละครที่จะปรากฏภายในเกม อีกทั้งยังเผยซีนการต่อสู้ออกมาอีกมากมายอีกด้วยอันที่จริงแล้ว SNK vs. Capcom: The Match of the Millennium นั้นเป็นเกมที่วางจำหน่ายครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 1999 ก่อนจะนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้งบนเครื่อง Nintendo Switch ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยภายในเกมจะมีตัวละครให้เราได้เลือกเล่นทั้งหมด 26 คน ซึ่งจะมาจากแฟรนไชส์ของทั้ง SNK กับ Capcom ผสมกัน ยกตัวอย่างเช่น Iori, Kyo, Terry กับ Mai (จากเกม The King of Fighters) Ryu, Ken, Chun-Li กับ M. Bison (จากเกม Street Fighter) B.B. Hood กับ Morrigan (จากเกม Darkstalkers) Arthur (จากเกม Ghosts n’ Goblins) Akari (จากเกม The Last Blade)โดยภายในตัวเกมนั้นจะมีโหมดต่างๆ มากมายให้ผู้เล่นได้เลือกเล่น ตั้งแต่โหมด Single Player, โหมด Tag&Team, โหมด Survival, โหมด Time Attack ไปจนถึง Mini Games ต่างๆ นอกจากนั้นพวกเขาก็ยังแอบซ่อนตัวละครลับอยู่อีกมากมาย เพื่อรอคอยให้ผู้เล่นได้เข้าไปทำการปลดล็อก ซึ่งเราจะสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ ได้ ในช่วงงาน Tokyo Game Show 2021 ที่จะถึงนี้นั่นเองค่ะ<iframe width='560' height='315' src='https://www.youtube.com/embed/cTz3aaDEh5A' title='YouTube video player' frameborder='0' allow='accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture' allowfullscreen></iframe>Credit: GamingBolt
30 Sep 2021
Square Enix ยืนยัน! Forspoken และ Stranger of Paradise Final Fantasy Origin จะมางาน TGS 2021 นี้แน่นอน!!
อีกไม่กี่วันอีกหนึ่งอีเวนท์ที่ใครหลายๆ คนตั้งหน้าตั้งตารอคอยอย่าง Tokyo Game Show ก็จะมาถึง และแน่นอนว่าบรรดาผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ ก็ได้เริ่มออกมายืนยันข่าวสาร รวมถึงกระจายอัปเดตต่างๆ เกี่ยวกับเกมของพวกเขากันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นก็จะขาด Square Enix ไปไม่ได้เลย โดยสองเกมใหญ่ที่สุดที่ได้รับการยืนยันว่าจะได้เห็นในงาน TGS 2021 นี้เลยก็คือ Forspoken ที่จะมาในวันที่ 1 ตุลาคมและ Stranger of Paradise Final Fantasy Origin ที่จะมาในวันที่ 2 ตุลาคม โดยทั้งสองเกมนั้น จะทำการลงให้ PS5 โดยเฉพาะ! นอกจากนั้นในวันที่ 3 ตุลาคม เราก็จะมีโอกาสได้เห็นเกมที่เพิ่งจะเปิดตัวใหม่อย่าง เกมที่ลงให้เครื่อง Switch โดยเพาะอย่าง Chocobo GP และ เกมที่นำโดย Yoko Taro อย่าง Voice of Cards: The Isle Dragon Roars อีกด้วยแน่นอนว่านอกจากเกมที่ได้รับการยืนยันแล้ว เราก็อาจมีโอกาสจะได้เห็น Marvel's Guardians of the Galaxy เพิ่มเติมในวันที่ 2 ตุลาคม และได้เห็นเกม Fantasy 7: The First Soldier ในวันที่ 3 ตุลาคมเพิ่มเติมอีกด้วย ในขณะที่ Final Fantasy 16 และ Triangle Strategy นั้นไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลยแม้แต่นิดเดียวอย่างไรก็ดีอีกไม่กี่วันงาน TGS 2021 ก็จะมาถึงแล้ว ทางเราก็ได้แต่มานั่งเกาะจอรอลุ้น หรือสุ่มเดากันต่อไปนะคะ ว่าภายในงานจะมีโอกาสได้เห็นเกมอะไรจากค่ายเกมไหนกันบ้างนะCredit: GamingBolt
29 Sep 2021
ตารางวัน Tokyo Game Show 2021 มาแล้ว
Tokyo Game Show 2021 กำลังจะมาแล้วในปลายเดือนนี้ โดยจะยาวถึง 4 วันพร้อมกับการประกาศอัปเดตและเรื่องสำคัญจากค่ายเกมต่างๆ สามารถเช็คตารางได้ที่ TGS 2021ในวันที่ 30 กันยายนจะมีงานของ Xbox และ Capcom ยาวถึง 50 นาที จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคมก็จะเป็นงานของ Square Enix ที่จะนำเสนอข้อมูลเกมใหม่ที่กำลังจะมา มีโอกาสที่เกมใหม่จะเป็น Forspoken หรือ Final Fantasy 16 ก็ได้ทำให้หลายๆ คนรอดูงานนี้กัน นอกจากนี้ก็มีงานของบริษัทอื่นมากมายเช่น D3 Publisher, Konami, Koei Tecmo, 505 Games, Ubisoft, Arc System Works, miHoYo, NCSoft และอื่นๆ อีกมากมายในขณะนี้ตารางงานยังไม่แน่นอนฉะนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาภายในงานได้Credit: Gamingbolt
02 Sep 2021
SEGA ATLUS ยืนยันแล้ว!! เข้าร่วมงาน Tokyo Game Show 2021 แน่นอน
อีกไม่นานจะถึงเวลาของงาน Tokyo Game Show 2021 แล้ว โดยทาง SEGA ได้ออกมายืนยันด้วยการเปิดเว็บไซต์ Teaser ของงาน Tokyo Game Show ก่อนเลยว่าจะเป็นเจ้าภาพการไลฟ์สตรีมสดโดยใช้ชื่อว่า “Sega Atlus Channel” ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมจนถึงวันที่ 3 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันหลังจากงาน Tokyo Game Show Kicks Off นั่นเอง ในตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะได้เห็นในงาน แต่เราสามารถคาดเดาได้ว่าอาจจะได้เห็นเกมเพลย์เพิ่มเติมของ Shim Megami Tensei V ที่กำลังจะวางขายให้กับเครื่อง Nintendo Switch ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้อาจจะมีข่าวเกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ Persona ด้วย เพราะตอนนี้ ATLUS กำลังฉลองครบรอบ 25 ปี Persona พอดี งาน Tokyo Game Show 2021 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 กันยายน ไปจนถึงวันที่ 3 ตุลาคม จะมีสตูดิโอใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นอะไรเข้าร่วมในงานปีนี้บ้าง เราต้องรอติดตามกันอีกทีครับCredit : GamingBolt
30 Aug 2021
โปรดิวเซอร์ประกาศ Final Fantasy 16 อาจจะไม่ได้ขึ้นโชว์ในงาน Tokyo Game Show 2021
หลังเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีอัปเดตเกี่ยวกับ Final Fantasy 16 ออกมามากนัก แต่เหล่าแฟนๆ ก็ได้แต่ตั้งตารอข่าวอัปเดตของเกมนี้กันมาตลอด เพราะ Naoki Yoshida โปรดิวเซอร์ของ Final Fantasy 14 ได้กล่าวไว้เมื่อปลายปีที่แล้วว่า Square Enix มีแผนที่จะเปิดตัวเกมหลายเกมในปี 2021 แค่นี้ก็ทำให้แฟนๆ พร้อมที่จะรอฟังข่าวดีกันแล้ว แต่งาน E3 กับ State of Play ผ่านไปแล้ว ก็ยังไม่มีข่าวอะไรเกี่ยวกับ Final Fantasy 16 ออกมาเลย ทำให้แฟนๆ คาดการณ์ไปว่าจะมีการพูดถึงเกมนี้ในงาน TGS (Tokyo Game Show) แต่แฟนๆ ก็ต้องผิดหวังกันไปอีกเพราะล่าสุด Naoki Yoshida ได้ประกาศไว้ในไลฟ์สตรีม Final Fantasy 14 ว่า Final Fantasy 16 อาจไม่มีการนำขึ้นมาโชว์ที่งาน Tokyo Game Show ซึ่งมีกำหนดไลฟ์สตรีมในช่วงปลายเดือนกันยายนYoshida ก็ยังกล่าวอีกว่า ตอนนี้การพัฒนาเกมยังราบรื่นดี การทำงานในส่วนต่างๆ ก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว การอัดเสียงภาษาอังกฤษก็ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว จากนั้น Yoshida ก็บอกอีกว่า ที่ตอนนี้ยังไม่เอาขึ้นโชว์เพราะต้องการที่จะให้ตัวเกมเสร็จจนพร้อมวางขายก่อนประกาศขึ้นโชว์เพื่อให้แฟนๆ สามารถซื้อได้ในทันทีYoshida ยังบอกอีกว่า เขาไม่ต้องการที่จะให้แฟนๆ รอนาน เพื่ออัปเดตข้อมูลเพียงเล็กน้อย เขาต้องการให้แฟนๆ ได้รู้ข่าวสารรวดเดียวจนพร้อมซื้อเกมในทันที ถึงจะยังไม่รู้วันวางขายที่แน่นอน แต่ที่แน่นอนคือ Final Fantasy 16 จะวางขายให้เล่นใน PS5 FINAL FANTASY 16 UPDATES FROM YOSHI-P-Voice recording for the ENGLISH version is almost complete-All scenarios set in stone-Development going well, but they might not be able to show it at TGS-He wants to show it at utmost quality so people can watch and think "INSTANT BUY!" pic.twitter.com/YrL5ktKeDp— ☆オードリーAudrey☆ (@aitaikimochi) July 10, 2021 Credit : GamingBolt
12 Jul 2021
Tokyo Game Show 2021 เปลี่ยนไปจัด Online เซ่น COVID-19 ปีนี้จะมีภาษาอังกฤษด้วย!
เมื่อวานนี้เพิ่งจะมีข่าวออกมาว่างาน PAX East จำเป็นต้องยกเลิกเพื่อเซ่นพิษ COVID-19 ไป วันนี้อีกหนึ่งงานเกมใหญ่ประจำปี Tokyo Game Show 2021 เองก็ประกาศเปลี่ยนไปจัดแบบ Online แทนเช่นกัน โดยตัวงานจะยาว 4 วัน ตั้งแต่ 30 / 9 / 2021 ไปจนถึง 3 / 10 / 2021การถ่ายทอดสดจะถูกทำผ่าน Youtube โดยพิเศษกว่าปีที่แล้วตรงงาน Online ในครั้งนี้จะเป็นแบบภาษาอังกฤษ หรือมีคำบรรยายภาษาอังกฤษด้วย แม้ยังไม่รู้ว่าจะมีเกมอะไรถูกเอามาโชว์บ้าง แต่คิดว่าน่าจะมี Fianal Fantasy จากทาง Square Enix ด้วยอย่างแน่นอนถือเป็นครั้งแรกสำหรับชาวต่างชาติอย่างเราเลย ที่จะสามารถเที่ยวงาน Tokyo Game Show ได้โดยเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้โดยง่าย นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้น และอดใจรอไม่ไหวที่จะถึงวันงานครับCredit: https://gamingbolt.com/tokyo-game-show-2021-confirmed-to-be-an-online-event
31 Mar 2021
Ghostrunner ประกาศจะวางจำหน่ายเวอร์ชั่น Nintendo Switch ในวันที่ 27 ตุลาคม!!
Ghostrunner เกมแอ็คชั่นมุมมองบุคคลที่หนึ่งในธีมโลก Cyberpunk ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง All In! Games กับ 505 Games ได้มีการประกาศออกมาว่าเกมดังกล่าวจะลงให้กับเครื่อง Nintendo Switch ด้วย! แต่เดิม All In! Games กับ 505 Games ได้ยืนยันว่า Ghostrunner จะวางจำหน่ายให้กับเครื่อง PC, PlayStation 4 และ Xbox One ในวันที่ 27 ตุลาคม ไม่เคยกล่าวถึงแพลตฟอร์ม Switch มาก่อน ซึ่งปกติแล้วการประกาศในลักษณะนี้จะจบลงที่เวอร์ชั่น Nintendo Switch จะวางจำหน่ายช้ากว่าเวอร์ชั่นอื่นๆ และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือเกม Doom Eternal นั่นเอง แต่สำหรับเกมนี้มันจะไม่เป็นแบบนั้น เพราะผู้จัดจำหน่ายได้ประกาศในงาน Tokyo Game Show เมื่อคืนว่า Ghostrunner จะวางจำหน่ายเวอร์ชั่น Nintendo Switch พร้อมกับเวอร์ชั่นอื่นๆ อีกทั้ง Twitter ของเกม Ghostrunner ยังมีการโพสต์วิดีโอตัวอย่างเกมนี้แบบเวอร์ชั่น Nintendo Switch มาให้ผู้ที่พลาดงาน Tokyo Game Show เมื่อคืนได้ดูกันด้วย สามารถดูวิดีโอดังกล่าวได้ด้านล่างครับ Y̲o̲u̲r̲ N̲i̲n̲t̲e̲n̲d̲o̲ S̲w̲i̲t̲c̲h̲ collection is about to get a lot more ...dangerous. See for yourself in the new Ghostrunner trailer and get it in the N̅i̅n̅t̅e̅n̅d̅o̅ G̅a̅m̅e̅ S̅t̅o̅r̅e̅ o̅n̅ O̅c̅t̅o̅b̅e̅r̅ 2̅7̅!̅#BeGhostrunner pic.twitter.com/xqK6xCbDtv — Ghostrunner (@GhostrunnerGame) September 23, 2020 Credit: GAMERANT
24 Sep 2020
ยืนยัน!! Resident Evil Village จะมาโชว์ในงาน TGS 2020 นี้ด้วย
Capcom ได้ยืนยันแล้วว่า Resident Evil Village จะมาในงาน Tokyo Game Show 2020 ที่จะจัดในวันที่ 23 - 27 กันยายน นี้ด้วย ซึ่งมันก็ไม่น่าแปลกใจมากนักเพราะซีรีส์ Resident Evil ก็มีมาโชว์ในงาน TGS อยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ทาง Square Enix ก็ได้ยืนยันว่าจะเข้าร่วมงานนี้พร้อมประกาศรายชื่อเกมที่จะมาในงานด้วย ในขณะเดียวกัน Resident Evil Village ก็มีการรั่วไหลของข้อมูลออกมาอยู่บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น Boss หรือศัตรูภายในเกมที่เราจะต้องเผชิญไปจนถึงเรื่องราวในช่วงต้นเกมและตัวละครที่เราสามารถเล่นได้ เรียกได้ว่ารู้ไปเสียเยอะทั้งๆ ที่เกมยังไม่ทันวางจำหน่ายเลยด้วยซ้ำ มันจึงน่าสนใจว่าในงานนี้พวกเขาจะเอาอะไรมาโชว์ให้เราดูครับ Resident Evil Village มีกำหนดวางจำหน่ายในปี 2021 สำหรับเครื่อง PlayStation 5, Xbox Series X และ PC Resident Evil Village will be part of Tokyo Game Show 2020 Online and Capcoms own TGS LIVE 2020!https://t.co/jXTSrLQqkI We know that gamers were excited to learn more in August so we apologize for the delay. Stay tuned.#REVillage #ResidentEvil — Capcom Dev 1 (@dev1_official) September 1, 2020 Credit: Gamingbolt
02 Sep 2020
ของดีมีเพียบ! Square Enix เปิดเผยรายชื่อเกมที่จะมาในงาน TGS 2020
Tokyo Game Show 2020 จะเป็นอีเวนต์ออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ทาง Square Enix ก็ได้ยืนยันแล้วว่าจะเข้าร่วมงานนี้และได้มีการเปิดเผยรายชื่อเกมที่เราน่าจะได้เห็นกันในงานดังกล่าวออกมาด้วยครับ บางชื่อนั้นไม่เคยมีการประกาศที่ไหนมาก่อนเช่น Collection of SaGa: Final Fantasy Legend สำหรับแพลตฟอร์ม Nintendo Switch และ Balan Wonderworld เกมจากหนึ่งในผู้สร้าง Sonic the Headgehog คุณ Yuji Naka นอกจากนี้ดูเหมือนว่า Babylons Fall จากทีม PlatinumGames ก็เป็นส่วนหนึ่งของรายชื่อที่ได้ถูกเปิดเผยออกมา เกมดังกล่าวคือเกมแนวเดินหน้าฟัน (Hack and Slash) ที่มีการเปิดตัวเมื่อปี 2018 นั่นเอง เกมอื่นๆ ที่เราน่าจะได้ชมในงานนี้ได้แก่ Dragon Quest 11: Echoes of an Elusive Age S - Definitive Edition ของเครื่อง PlayStation 4, Xbox One และ PC นอกจากนั้นยังมี Kingdom Hearts: Melody of Memory ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ยังมีเกมน่าสนใจอื่นๆ อีกมากที่จะมาโชว์ในงาน Tokyo Game Show 2020 ซึ่งจะจัดในวันที่ 23 ถึง 27 กันยายน นี้ สามารถดูรายชื่อเกมได้ด้านล่างครับ Babylon’s Fall (PS4, PC) Balan Wonderworld (PS5, Xbox Series X, PS4, Xbox One, Switch, PC) Collection of SaGa: Final Fantasy Legend (Switch) Dragon Quest 10 Online (PS4, Switch, PC, Wii U, 3DS) Dragon Quest 11: Echoes of an Elusive Age S – Definitive Edition (PS4, Xbox One, PC) Dragon Quest: The Adventure of Dai Game Project (Arcade, iOS, Android) Dragon Quest Monsters 2: Iru and Luca’s Marvelous Mysterious Key (iOS, Android) Dragon Quest Rivals Ace (Switch, PC, iOS, Android) Dragon Quest Tact (iOS, Android) Dragon Quest Walk (iOS, Android) Final Fantasy XIV (PS4, PC, Mac) Final Fantasy: Brave Exvius (iOS, Android, PC) Final Fantasy Trading Card Game Kingdom Hearts: Melody of Memory (PS4, Xbox One, Switch) Manga UP! Marvel’s Avengers (PS4, Xbox One, PC) Romancing SaGa Re: Universe (iOS, Android) Square Enix Music Toji no Miko: Kizamishi Issen no Tomoshibi (iOS, Android) War of the Visions: Final Fantasy Brave Exvius (iOS, Android) Credit: Gamingbolt
02 Sep 2020
Resident Evil Village เตรียมขายเสื้อยืด และแจ็คเก็ตลายโลโก้เกมในงาน TGS 2020
งาน Tokyo Game Show 2020 กำลังจะจัดในช่วงปลายเดือนหน้า ซึ่งจากข่าวก่อนหน้านี้ ทำให้เรารู้ว่า ไลฟ์สตรีมที่จะมีขึ้นทดแทนตัวงานที่ต้องยกเลิกในวันที่ 23 - 27 กันยายน นี้จะเป็นแบบไหน อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าความพิเศษของงานในครั้งนี้จะยนังไม่หมดแค่นั้นครั้ง เมื่อล่าสุดได้มีการประกาศจาก Capcom ว่าในงานดังกล่าวจะมีการขายเสื้อลาย Resident Evil Village และ Street Fighting V ด้วยครับ! หน้าเว็บไซต์ของ Capcom ได้มีการเปิดให้พรีออเดอร์เสื้อยืด และแจ็คเก็ต ลายโลโก้เกม Resident Evil Village กับ Strret Fighter V ในราคา 3,800 เยน และ 8,000 เยนตามลำดับ โดยสามารถเข้าไปดูไเ้ผ่านลิงก์นี้ ต้องบอกก่อนเลยว่าสิ้นค้าเหล่านี้เป็นของที่มีจำนวนจำกัด ดังนั้นใครที่เข้าไปดูแล้วเกิดอยากได้ขึ้นมา อย่าลังเลที่จะกดพรีออเดอร์ครับ! [gallery columns="2" ids="64867,64868,64869,64870"] Credit: Siliconera  
20 Aug 2020
นิตยสาร Famitsu เผยข้อมูลสิ่งที่เราจะได้เห็นในงาน Tokyo Game Show แล้ว!
2020 นับเป็นปีที่น่าเศร้าครับ เพราะแค่การระบาดของ COVID-19 เพียงอย่างเดียว ก็เล่นทำเอาเกมเลื่อนวันวาจำหน่ายไปเยอะแยะแล้ว ทางด้านงานอีเวนต์เกมเองก็ถูกยกเลิกไปมากมายเช่นกัน Tokyo Game Show 2020 เองก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ยังดีที่เหมือนว่าเราจะได้งานอีเวนต์แบบออนไลน์มาทดแทน ซึ่งล่าสุดดูเหมือนเราจะรู้แล้วครับ ว่าจะได้เห็นอะไรบ้างในงานครั้งนี้! นิตยสาร Famitsu ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงานอีเวนต์ที่กำลังจะมา ว่าเราจะได้เห็นอะไรบ้าง โดยทางเราได้สรุปข้อมูลดังกล่าวมาให้แล้ว สามารถดูได้ข้างล่างนี้เลยครับ เนื้อหาหลักที่จะถูกไลฟ์สตรีม จะเป็นการโชว์เกี่ยวกับข่าวสารล่าสุดจากทางผู้พัฒนาต่างๆ โดยรูปแบบกิจกรรม หรือการโชว์ Footage ภายในเกม ที่มักจะมีในบูธต่างๆ จะถูกทำออกมาในลักษณะของวิดีโอ และเล่นต่อกันไปเรื่อยๆ จะมีการปรับเปลี่ยน และเว้นช่องว่างเล็กน้อยเพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมวิดีโอต่างๆ ได้แบบครบถ่วน เราวางแผนที่จะมีไลฟ์สตรีมพร้อมกัน 3 ช่อง โดย 1 จะเป็นการโชว์เกมอินดี้, 1 จะเป็นการโชว์รางวัล Japan Game Awards และอีกหนึ่งจะโชว์ eSports บริษัทต่างๆ สามารถโพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ก่อนที่ไลฟ์สตรีมจะเริ่ม เพื่อบอกให้ผู้ชมรู้ได้ว่าพวกเขาจะได้เห็นอะไรในไลฟ์สตรีมที่กำลังจะมาถึง หวังว่าพวกเราจะสามารถจัดอีเวต์จริงๆ ได้ที่ Makuhari Messe ในปีหน้า น่าเสียดายที่ไม่มีประกาศออกมาด้วยว่า เราจะได้เห็นเกมอะไรบ้างในงานครั้งนี้ แต่ต้องยอมรับว่าช่วงนี้ข่าวจากทางฝั่งผู้พัฒนาญี่ปุ่นค่อนข้างเงียบเหงา ดังนั้นคิดว่าในงานปีนี้ก็ไม่น่ามีอะไรให้เราดูมากมายครับ อย่างไรก็คามต้องรอดูวันที่ 23 - 27 กันยายน อีกครั้งหนึ่ง ว่าจะมีอะไรให้เราดูในงานบ้างครับ Credit: Siliconera
20 Aug 2020
Tokyo Game Show 2020 Online จะจัดขึ้นในวันที่ 23 - 27 กันยายน 2020 นี้!
ปีนี้เรียกได้ว่า เป็นปีที่โหดร้ายสำหรับผู้จัดงานเกี่ยวกับเกมมาก เพราะในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีงานเกมมากมาย ประกาศยกเลิกไปเพราะพิษจาก COVID-19 ซึ่ง Tokyo Game Show 2020 ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง เนื่องจากผู้จัดงานบอกว่าจะมีอีเว้นท์ออนไลน์ทดแทน ล่าสุดก็ได้มีการประกาศวันที่อีเว้นท์ดังกล่าวจะถูกจัดแล้วครับ! หน้าเว็บไซต์ Official ของ Tokyo Game Show 2020 ได้ประกาศว่า งานอีเว้นท์ออนไลน์ทดแทนจะมีขึ้นในวันที่ 23 - 27 กันยายน 2020 ทั้งยังบอกด้วยอีกว่าในงานดังกล่าวจะมีการเปิดตัวเกมใหม่ๆ ทั้งจากผู้พัฒนาชื่อดัง และผู้พัฒนาเกท Indie อีกมากมาย แน่นอนว่าจะมีการไลฟ์สตรีมสดโชว์การแข่งขัน Esport ด้วยเช่นกันครับ Tokyo Game Show 2020 Online จะจัดขึ้นในวันที่ 23 - 27 กันยายน 2020 นี้ Credit: Gematsu
25 Jun 2020
Tokyo Game Show ประกาศยกเลิก และเปลี่ยนเป็นออนไลน์แทน
เซ่นโควิดไปอีกหนึ่ง สำหรับงานแสดงเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นอย่าง Tokyo Game Show ที่ล่าสุดทางผู้จัดได้ทำการประกาศยกเลิกการจัดงานในปี 2020 นี้แล้ว !! แต่ถึงอย่างนั้นงานโชว์ครั้งนี้จะถูกจัดเป็นแบบออนไลน์แทน !! คำแถลงจากผู้จัด "เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในระดับโลกและสถานการณ์ยังไม่แน่นอนในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ทางผู้จัดงานและผู้ร่วมจัดงานได้ตัดสินใจ โดยคำนึงถึงความสำคัญสูงสุดคือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้เข้าชมงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เราขอความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกท่าน" โดยรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานออนไลน์จะมีการเปิดเผยในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า Credit: kotaku ติดตามข่าวสารเกมที่น่าสนใจ คลิ๊ก!  
08 May 2020
ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ กับ งานเทศกาลใหญ่ ในแวดวงวิดีโอเกม?
คุณผู้อ่านทุกท่านเคยไป ‘งานนิทรรศการ’ กันบ้างไหม? มันออกจะเป็นคำถามที่เรียบง่ายจนเกือบจะไร้สาระ เพราะนิทรรศการ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์และศิลป์อันเป็นที่เราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี ไม่ว่าจะนิทรรศการศิลปะ นิทรรศการสินค้า นิทรรศการภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย หลากหลายทั้งในส่วนของขนาด และในส่วนของเนื้อหา ถ้าเช่นนั้น ผู้เขียนขอเปลี่ยนคำถามใหม่ … คุณ ‘รู้สึก’ อย่างไรเมื่อได้เข้าไป ‘ร่วม’ นิทรรศการเหล่านั้น? ผู้เขียนตีวงคำถามให้แคบลง แต่ก็เชื่อเหลือเกินว่าคำตอบก็น่าจะหลากหลายไม่แพ้กัน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะมีร่วมกัน คือความรู้สึก ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของการจัดแสดง ไม่ว่าจะในฐานะผู้รับชม หรือผู้ออกร้านเองก็ตาม การได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้สนใจ การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยเสรี การบรรลุข้อตกลงในทางธุรกิจการค้า นี่ต่างหาก ที่เป็นคุณค่าที่สำคัญของงานนิทรรศการ อันเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญไม่แพ้การโฆษณาในแบบปกติ [caption id="attachment_46659" align="aligncenter" width="1024"] งานนิทรรศการ E3 ที่คุ้นเคย ที่อาจจะต้องผ่านเลยไปสำหรับปี 2020 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่การมีอยู่ของมันเมื่อ 25 ปีที่แล้ว[/caption] และแวดวงวิดีโอเกมก็ไม่ต่างกัน มันเป็นงานพาณิชย์ศิลป์ที่ต้องการ ‘ความสนใจ’ และ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ไม่ว่าจะในรูปแบบของ Business to Business (B2B) หรือ Business to Customer (B2C) ก็ตาม นั่นทำให้งานนิทรรศการจัดแสดงเกมใหญ่ๆ อย่าง Tokyo Game Show, Game Developer Conference, EGX Rezzed, PAX East ไปจนถึงมหกรรม ‘ศักดิ์สิทธิ์’ ของนักเล่นเกมอย่าง Electronic Entertainment Expo หรือ E3 ยังคงดำเนินต่อไปมาจนถึงปัจจุบัน แต่มาในปีนี้ ดูเหมือนว่าบรรดางานนิทรรศการเกม กำลังเจอบททดสอบและมาถึงทางแยกที่สำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ ว่าวิกฤติการของ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ได้กระเทือนถึงการคงอยู่ของนิทรรศการวิดีโอเกมอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะด้วยการยกเลิก E3 2020, การเลื่อนกำหนดของ GDC 2020, การเลื่อนกำหนดของ EGX Rezzed 2020 และ Taipei Game Show 2020 และอีกหลายสิบงานที่ได้รับผลกระทบจากการมาถึงของเชื้อร้ายที่กำลังสร้างความตื่นตระหนกเสียขวัญให้กับผู้คนทั่วโลก และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ในเร็ววัน ลำพังแค่การยกเลิก E3 2020 ก็เรียกได้ว่าสะเทือนขวัญอย่างใหญ่หลวง เพราะนับตั้งแต่ปี 1995 นั้น ไม่เคยมีปีใดที่ Los Angeles Convention Center ในช่วงกลางปี จะขาดซึ่งสีสันของมหกรรมยักษ์ใหญ่ ที่เหล่าผู้รักในวิดีโอเกมและผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม จะได้มารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง แลกเปลี่ยน พูดคุย และได้เปิดตัวพร้อมทดสอบชิ้นงานวิดีโอเกมใหม่ ทั้งที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา และที่พร้อมจะมา Premiere เป็นครั้งแรกในงานนี้ แน่นอนว่าการยกเลิกและการเลื่อนกำหนดของบรรดานิทรรศการวิดีโอเกมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (ภายใต้สถานการณ์ที่สุดวิสัย…) แต่มันก็ก่อให้เกิดคำถามที่เกิดขึ้นในใจของผู้เขียนขึ้นมาประการหนึ่ง นั่นคือ… มันยัง ‘จำเป็น’ อยู่หรือไม่ ที่แวดวงวิดีโอเกมจะต้องมี ‘นิทรรศการ’ ใหญ่ๆ เหล่านี้? ออกจะเป็นคำถามที่สับสนและขัดแย้งกับข้อกล่าวในช่วงข้างต้นของบทความ แต่เราอาจต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งที่ว่า เสน่ห์ของงานนิทรรศการนั้น แม้จะยังคงทรงพลัง และมีคุณค่าในสายตาของพวกเราผู้บริโภค แต่สำหรับค่ายเกมยักษ์ใหญ่นั้น มันคือเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ต้องถูกใช้เพื่อจับจอง เตรียมความพร้อม เพื่อช่วงเวลาสามถึงสี่วัน ที่สูงถึงหลักร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการได้มีพื้นที่ในฮอลล์หลัก ไม่นับรวมบรรดาค่ายเล็กๆ และทีมสร้างเกมอินดี้ ที่ค่าใช้จ่ายสำหรับการออกบูธเล็กๆ นั้น แม้จะไม่สูงเท่ากับการออกบูธของค่ายใหญ่ แต่เมื่อถัวเฉลี่ยค่าตกแต่ง ค่าเช่าที่ ค่าบุคลากร ค่าอุปกรณ์ อาจจะหมายถึงเงินเก็บสะสมทั้งหมด ที่ต้องเอาออกมาใช้แทงจนหมดหน้าตัก และเฝ้าภาวนาว่าผลงานของพวกเขา/เธอ จะไปเข้าตากรรมการหรือผู้ประกอบการให้ทะยานติดปีก (ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้ ก็ต้องไปวัดดวงกันหน้างาน) เหล่านี้ เมื่อบวกรวมกับวัฒนธรรมการ Streaming ถ่ายทอดสดผ่านแพลทฟอร์มอย่าง Youtube หรือ Twitch ที่ผู้ชมสามารถเลือกรับชมได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องไปถึงสถานที่จริง มันก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นของการจัดนิทรรศการเกมนั้นถูกท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ ว่าในปีนี้ ที่ทุกอย่างต้องยกเลิก เลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ มันจะยังมีพลังและทำหน้าที่ที่งานนิทรรศการทั่วไปสามารถทำได้อยู่หรือไม่ อันที่จริง ค่ายเกมใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพเองก็ส่งสัญญาณการ ‘ตีจาก’ ให้เห็นเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็น EA ที่แยกมาจัดงานเฉพาะของตัวเอง, Nintendo ที่ถ่ายทอดสดผ่านงาน Nintendo Direct หรือแม้แต่งานอย่าง GDC และ E3 เอง ก็มีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Streaming ที่มีจำนวนผู้ชมมากขึ้นๆ ในแต่ละปี กระนั้นแล้ว ในทัศนะของผู้เขียน แม้จะมีปัจจัยแวดล้อมที่จะหนุนส่งให้บรรดางานนิทรรศการต้องล้มหายตายจาก มันก็ยังมีอีกมุมหนึ่ง ที่เป็นหลักฐานว่างานนิทรรศการอาจจะ ‘ไม่ตาย’ ไปตามกระแส เพราะดังที่กล่าวไป เป้าประสงค์ของงานนิทรรศการก็คือการ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างกัน ไม่ว่าจะระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค หรือบริษัทกับคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝั่งผู้บริโภค ที่เป็นปลายน้ำสุดท้ายที่ชิ้นงานเกมจะต้องเดินทางไปถึง และงานนิทรรศการ ก็คือตัวจักรสำคัญที่จะช่วยผลักการตัดสินใจของผู้บริโภคในขั้นสุดท้ายก่อนที่ชิ้นงานจะวางจำหน่ายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการมีอยู่ของนิทรรศการเกมนั้น ไม่ได้มีส่งผลต่อค่ายพัฒนาและผู้จัดจำหน่าย แต่หมายรวมถึงกิจการต่างๆ ของพื้นที่ในการจัดงานเหล่านั้น ไม่ว่าจะบริการด้านสถานที่พัก สถานประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการหมุนเวียนของเม็ดเงินและเศรษฐกิจให้สะพัดมากยิ่งขึ้น การขาดไร้ซึ่งงานนิทรรศการ ย่อมส่งผลกระทบต่อการมีอยู่ของกิจการต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอาจจะไม่พร้อมเสี่ยงที่จะยกเลิกงานเหล่านี้ในเร็ววัน มาถึงวรรคนี้ ย้อนกลับไปที่คำถามเรื่องความจำเป็นของงานนิทรรศการแวดวงวิดีโอเกม มันอาจจเร็วเกินไปที่จะสรุป แต่สิ่งที่เคยเป็นเพียงแค่คำถาม ก็จะได้โอกาสที่จะทำการทดสอบอย่างจริงจัง เมื่อโลกแห่งแวดวงวิดีโอเกมจะไม่มีนิทรรศการ หรือมี แต่ถูกเลื่อนออกไปสู่ทางเลือกใหม่ มันจะได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นใด [caption id="attachment_46674" align="alignnone" width="1000"] ก็ได้แต่หวังว่า Tokyo Game Show 2020 สถานการณ์วิกฤติ COVID-19 จะทุเลาเบาบางจนสามารถจัดงานได้ตามปกติ...[/caption] แต่ก็ดังที่กล่าวไปข้างต้น ผู้เขียนยังคงเชื่อในพลังของงานนิทรรศการ ตราบเท่าที่มันยังคงฟังก์ชันหลักของมัน มันก็ยากที่อุปกรณ์สำคัญชิ้นนี้ จะร้างลาห่างหายไป เพราะ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างผู้คน และการลองดูกับมือเห็นกับตา โดยเฉพาะแวดวงวิดีโอเกม ก็ยังทรงคุณค่า และมีพลังมากกว่าเพียงแค่การถ่ายทอดสด อยู่หลายร้อยหลายพันเท่า
22 Mar 2020
[TGS2019] พูดคุยกับคุณ Shuhei Yoshida ผู้อยู่เบื้องหลังเกม Exclusive ทั้งหมดของ Sony!
ในงานมหกรรมเกมสุดยิ่งใหญ่ Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา ทีมงาน GameFever TH ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์คุณ Shuhei Yoshida (ชูเฮย์ โยชิดะ) ประธานบริษัท Sony Interactive Entertainment Worldwide Studios (SIE WWS) ผู้รับผิดชอบเหล่าเกม First-Party อันยอดเยี่ยมทั้งหมดของค่ายในยุค PS4 นี้ โดยทีมงานได้ร่วมพูดคุยกับคุณ Shuhei ในประเด็นน่าสนใจต่างๆ ทั้งแนวคิดที่บริษัทใช้ในการสร้างเกมระดับท๊อปออกมาติดๆ กัน การเล่นเกมเถื่อน การสร้างเกม Remake/Remaster การเซนเซอร์เนื้อหาเกม และการเปลี่ยนแปลงไปของตลาดเกมญี่ปุ่นอันเป็นบ้านเกิดของ Sony นั่นเอง จะเข้มข้นแค่ไหน ไปอ่านกันได้เลย!  ถาม: ในขณะนี้ SIE ยังคงเสาะแสวงหาค่ายผู้พัฒนาเก่งๆ มาช้วยสร้างเกม Exclusive อยู่หรือไม่ ก็ยังคงมองอยู่เรื่อยๆ นะ แต่อาจจะไม่ได้จริงจังขนาดนั้นในตอนนี้ ถ้าคุณลองสังเกตประวัติการรับบริษัท 3rd Party (ค่ายพัฒนาอิสระที่ไม่ได้สังกัดกับผู้จัดจำหน่ายใด) อาจจะจำได้ว่าบริษัท 3rd Party ค่ายสุดท้ายที่เรารับเข้ามาก็คือ Media Molecule (ผู้สร้างเกม LittleBigPlanet) ก่อนหน้านั้นก็มี Guerilla Games, Naughty Dog, Sucker Punch, และล่าสุดก็คือ Insomniac ซึ่งทุกค่ายล้วนเป็นค่ายที่บริษัท SIE เคยมีผลงานที่ประสบความสำเร็จร่วมกันมาก่อนจะถูกรับเข้ามาเป็นค่าย 1st Party ทั้งสิ้น โดยบริษัท SIE มั่นใจแล้วว่าค่ายเหล่านี้มีศักยภาพมากพอ และมีความสัมพันธ์อันดีในฐานะคู่ค้ากันอยู่แล้วด้วย Insomniac (ผู้สร้าง Marvel’s Spider-man) เองก็เป็นแบบนี้เช่นกัน เราและค่ายเคยร่วมสร้างเกมกันมานานตั้งแต่เกม Spiro the Dragon ในปี 1998 เพราะฉะนั้นเราจึงมีความสัมพันธ์ในฐานะผู้พัฒนาและผู้จัดจำหน่ายกันยาวนานกว่า 20 ปีแล้ว ยิ่งพอเห็นความสำเร็จของเกมยุคหลังๆ มาอย่าง Ratchet & Clank และ Marvel’s Spider-man เราเลยรู้สึกว่าควรจะยกระดับความสัมพันธ์ให้เค็มรูปแบบมากขึ้น ถาม: เกม Exclusive ของค่าย SIE ที่วางจำหน่ายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหลายเกมที่ถูกจัดให้เป็นเกมยอดเยี่ยมอันดับต้นๆ ของยุค ไม่ว่าจะเป็น God of War, Marvel’s Spider-man, Uncharted, ฯลฯ คุณมีวิธีการใดในการคงคุณภาพของเกม First Party ของค่ายให้อยู่ในระดับสูงขนาดนี้ และจะทำอย่างไรให้ค่ายรักษามาตรฐานของเกม 1st Party ต่อไปได้ในอนาคต   แน่นอนว่าค่ายมีเกมที่ประสบความสำเร็จอยู่หลายเกม และก็มีเกมที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จขนาดนั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา ในความเป็นจริงแล้วค่ายมีเกมที่เริ่มพัฒนาไปแล้วและถูกยกเลิกกลางคันหลายเกมมากๆ ในกระบวนการเริ่มพัฒนาเกมนั้น เมื่อทีมสร้างคอนเซปต์หรือแนวคิดที่น่าสนใจขึ้นมา พวกเขาก็จะต้องลองสร้างโครงต้นแบบขึ้นมาเพื่อพิสูจน์ว่าสามารถสร้างคอนเซปต์นั้นได้จริง โดยเฉพาะสำหรับเกมที่เป็น IP ใหม่ โดย SIE มีแนวคิดว่าถ้าผู้พัฒนารู้แน่นอนว่าจะสามารถทำได้ นั่นหมายความว่าพวกเขายังตั้งเป้าไว้ไม่สูงพอ เราต้องการให้ IP ใหม่ๆ ทั้งหมดของค่ายทำในสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เราจึงจำเป็นต้องรอให้เกมพัฒนาไปถึงจุดๆ หนึ่งก่อนที่เราจะบอกได้ว่าคอนเซปต์ที่ทีมคิดขึ้นจะทำได้จริงหรือไม่ ทำให้ในความเป็นจริงมีเกมหลายเกมของค่าย SIE ที่พัฒนาไปแล้วไกลมากๆ แต่แค่ไม่เคยมีใครรู้เพราะถูกยกเลิกไปเท่านั้นเอง นอกจากนี้ ค่าย SIE ยังมีความเชื่อว่าช่วง 6 เดือนสุดท้ายของการพัฒนาเกมเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เกมๆ หนึ่งอาจจะดูเหมือนพัฒนาเสร็จแล้วตั้งแต่ 6 เดือนก่อนวางจำหน่าย ที่เราเรียกกันว่าช่วง Alpha หรือ Beta แต่ในความเป็นจริงแล้วเกมเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงการเติบโตเท่านั้น เกมส่วนใหญ่จะเริ่มมีพัฒนาการในส่วนของประสบการณ์ผู้เล่นอย่างก้าวกระโดดในช่วงมไม่กี่เดือนสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงที่ค่ายให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ ยิ่งเกมใหญ่หรือมีเวลาเล่นยาวก็ยิ่งต้องใช้เวลา ซึ่งผมไม่ได้พูดถึงแค่การแก้บั๊กเท่านั้น แต่พูดถึงการขัดเกลาและเจียระไนองค์ประกอบต่างๆ ของเกมให้สมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะสำหรับเกมแนวโลกเปิด (Open-World) ซึ่งท้าทายมากๆ เพราะฉะนั้นเกมๆ หนึ่งอาจจะมีสภาพที่ดูเหมือนเสร็จแล้วก่อนวันวางจำหน่ายเป็นปีเลยก็ได้ ค่ายจึงกำชับให้ผู้พัฒนาต้องวางแผนและจัดตารางเวลาการพัฒนาเผื่อช่วงการขัดเกลานี้ด้วย ที่ผ่านมานั้น ค่ายเคยทำพลาดตรงการประกาศวันวางจำหน่ายเกมเร็วเกินไป ซึ่งส่งผลให้เราต้องเลื่อนวันวางจำหน่ายเกมในภายหลังบ่อยๆ เช่นกัน แต่ในช่วงเร็วๆ นี้เราก็เริ่มประกาศเลื่อนวันวางจำหน่ายน้อยลง เราเข้าใจว่าการประกาศวันวางจำหน่ายเกมอาจจะช่วยในการสร้างความตื่นเต้นสนใจในหมู่ผู้เล่น แต่ถ้าประกาศเร็วเกินไปก็อาจจะส่งผลต่อขั้นตอนการขัดเกลาเกมที่พูดถึงข้างต้นได้ หลังๆ มาเราจึงเลี่ยงการประกาศวันวางจำหน่ายเกมจนกว่าผู้พัฒนาจะมั่นใจเต็มที่ว่าจะสามารถสร้างเกมให้สมบูรณ์ทันเวลาได้ เราอาจจะมีการตั้งระยะเวลาที่ต้องการจะวางจำหน่ายเกมไว้หยาบๆ แต่ถ้าผู้พํฒนาบอกว่าต้องการเวลาเพิ่มเราก็ยินดีจะเลื่อนได้เพื่อแลกกับคุณภาพที่เพิ่มขึ้นของเกม ซึ่งตรงจุดนี้ก็ต้องเอ่ยชมคณะบริหารของ SIE ด้วยที่มีความเข้าใจกระบวนการพัฒนาเกม เกมที่ได้รับความนิยมมากๆ ในทุกวันนี่มักจะเป็นเกมที่มีลักษณะเป็นเกม Multiplayer (เล่นหลายคน) ที่เข้าถึงง่าย เล่นแปบเดียวจบเป็นตาๆ ไปอย่าง Fortnite หรือ PUBG คุณคิดว่านี่คือการสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของเกมเมอร์ยุคปัจจุบันไหม SIE มีแผนจะเปลี่ยนแปลงแนวเกม Exclusive ของค่ายเพื่อรองรับความนิยมของผู้เล่นหรือไม่ ผมและบุคคลในวงการเกมหลายๆ คนมีความเชื่อมั่นในแนวคิดที่ว่าอุตสาหกรรมเกมต้องการแนวเกมที่หลากหลายสำหรับผู้เล่นที่หลากหลาย ผู้เล่นที่นิยมเกม Singleplayer ที่เน้นการติดตามเนื้อเรื่องก็มีไม่ต่างจากผู้เล่นที่ชอบเกม Multiplayer สั้นๆ  ในส่วนของการสร้างเกม Exclusive นั้น การสร้างเกมซักเกมให้เสร็จเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว และการสร้างเกมที่ยอดเยี่ยมก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะต้องใช้เวลา ความพยายาม และเคมีภายในทีมพัฒนา กว่าจะสามารถร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ผู้พัฒนาแต่ละทีมก็มีความชำนาญไม่เหมือนกัน คุณอาจจะมองว่า Naughty Dog สามารถสร้างเกมแอคชั่นผจญภัยบุคคลที่สามได้เก่งมาก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าค่ายจะสามารถสร้างเกมต่อสู้ (Fighting) ที่ยอดเยี่ยมได้ เพราะมันต้องใช้ความสามารถและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เราจึงหลีกเลี่ยงการให้ทีมพัฒนาทำในสิ่งที่ไม่ถนัด แต่ถ้าทีมพัฒนามีไอเดียที่น่าสนใจเราก็อยากให้เขาได้ลองทำนะ เรามีความเชื่อว่าผู้เล่นทุกวันนี้ต้องการเกมที่จะใช้เวลากับมันได้เยอะๆ เห็นได้จากการที่เกมหลายๆ เกมทุกวันนี้มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อก่อน แถมทุกวันนี้ผู้เล่นก็คาดหวังให้เกมต้องมีเนื้อหาเพิ่มขึ้นตลอดเวลาผ่านการอัพเดท กระทั่งในเกมเล่นคนเดียวก็ตาม ซึ่งตรงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงในความคาดหวังของผู้เล่นที่เรายอมรับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องทำตามเทรนด์ เพราะมุมมองของบริษัทคือถ้าคุณเริ่มตามเทรนด์ นั่นหมายความว่าคุณก็สายไปซะแล้ว คุณเคยมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกม Legend of Dragoon เมื่อหลายปีมาแล้ว คุณรู้สึกอย่างไรบ้างเมื่อได้ยินข่าวลือว่าเกมอาจจะได้รับการ remake อีกครั้งในเร็วๆ นี้? เอ๊ะ มีข่าวลือแบบนี้ด้วยเหรอ (หัวเราะ) เอาจริงๆ ว่าการจะสร้างเกมแบบ Remaster หรือ Remake เป็นงานหนักมาก การ Remaster เกมอาจจะง่ายกว่า เพราะเราสามารถใช้กราฟฟิคเดิมๆ แต่พัฒนาความคมชัดและความลื่นไหลขึ้นเฉยๆ ในขณะที่การ Remake เกมนั้นเรียกว่าเป็นงานช้างเลยก็ได้ เพราะต้องสร้างทุกอย่างใหม่ทั้งหมด ดูอย่างเกม Final Fantasy VII Remake ซึ่งเป็นผลงานที่น่าทึ่งมาก หรือเกม RE2 Remake ซึ่งเป็นผลงานใหญ่ของ Capcom เลยทีเดียว ผมเองกอบเกม Remake นะ แต่ต้องยอมรับตรงๆ ว่ามันไม่ได้ง่ายอย่างที่หลายคนคิด  แม้ว่าผมจะเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับเกม Legends of Dragoon มาก่อน แต่ด้วยความที่เกมมีขนาดใหญ่ไม่แพ้เกม Final Fantasy VII ภาคดั้งเดิมที่ต้องใช้แผ่นซีดีถึง 4 แผ่นในการเล่น การจะสร้างเกมฉบับ Remake อย่างที่เกมสมควรได้รับจึงถือเป็นงานที่ใหญ่และท้าทายมาก และไม่ใช่อะไรที่นึกจะทำก็ทำได้ง่ายๆ แน่นอน แถมเกมเมอร์สมัยนี้ก็ดูออกเวลาที่ผู้พัฒนาทำงานลวกๆ และมักจะผิดหวังกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ SIE ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเด็ดขาด ประเด็นการเซ็นเซอร์เกมเป็นหนึ่งในประเด็นที่ PlayStation มักจะถูกตำหนิในปีที่ผ่านมา โดยมีการแสดงความเห็นโดยผู้สื่อข่าวเกมและการเผยแพร่ภาพเกมที่ถูกเซ็นเซอร์ออกมาบ่อยๆ จึงอยากถามว่า PlayStation กำลังพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เหมาะกับเด็กเล็กหรือครอบครัวมากขึ้นหรือไม่ ก่อนอื่นเลย บริษัท SIE และแพลตฟอร์ม PlayStation มีความเคารพในวิสัยทัศน์ของผู้พัฒนามากๆ แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็มีการกำหนดเรตติ้งเกมของตัวเองที่เราต้องปรับตัวตามด้วย โดยเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นขึ้นมาส่วนหนึ่งเพราะความนิยมของ Youtube และการไลฟ์สตรีม ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถเห็นเนื้อหาของเกมที่วางจำหน่ายในประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในสมัยก่อน เราจึงต้องระมัดระวังมากขึ้นในการเผยแพร่เนื้อหาเกมที่อาจจะถูกรับชมโดยผู้เล่นจากประเทศอื่นๆ ที่มีกฏห้ามด้วย พูดง่ายๆ ก็คือแม้ว่าเราจะยึดระบบเรตติ้งของประเทศนั้นๆ เป็นมาตรวัด แต่เราก็ต้องปรับเนื้อหาของเกมเผื่อในกรณีที่เกมนั้นๆ อาจจะถูกผู้เล่นในประเทศอื่นเห็น ซึ่งประเทศนั้นๆ อาจจะมีกฏห้ามที่ประเทศอื่นไม่มีนั่นเอง คุณชอบเกม Exclusive ของ SIE เกมไหนมากที่สุด  เป็นคำถามที่ผมมักจะถูกถามบ่อยๆ นะ ซึ่งทุกครั้งผมก็จะตอบว่าเป็นเกม Journey เพราะผมประทับใจมากที่เกมที่มีทีมสร้างไม่ถึง 20 คนอย่าง ThatGameCompany สามารถสร้างเกมที่เล่นให้จบได้ใน 2-3 ชั่วโมง แต่กลับสามารถสร้างความรู้สึกต่างๆ นาๆ ให้ผู้เล่นได้มากขนาดนั้น แถมเกมยังได้รับรางวัล Best Game of the Year (เกมยอดเยี่ยมประจำปี) จากเวทีต่างๆ มากมาย คิดดูว่าเกมความยาว 3 ชั่วโมงสามารถเอาชนะเกมระดับ AAA ทุกเกมในปีนั้นเลยนะ! เกม Exclusive ที่เด่นที่สุดของ SIE หลายๆ เกมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาล้วนเป็นผลงานของผู้พัฒนาฝั่งตะวันตกแทบทั้งสิ้น อยากถามว่าเกมเหล่านี้ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นเหมือนกันไหม? SIE มีวิธีสร้างความสนใจให้เกมเมอร์ญี่ปุ่นอย่างไรบ้าง? รสนิยมของเกมเมอร์ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน? คำตอบของคำถามสุดท้ายคือใช่ เมื่อก่อนนี้เกมฝั่งตะวันตกมักจะทำยอดขายได้ไม่ดีนักในญี่ปุ่น แต่เกมเมอร์รุ่นใหม่ทุกวันนี้ไม่มีปัญหานี้อีกต่อไป พวกเขาสามารถสนุกกับเกมอย่าง Call of Duty, PUBG, หรือ Dead by Daylight ได้โดยที่ไม่สนใจอีกต่อไปว่าเกมเหล่านี้พัฒนาโดยชาวตะวันตก ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องความแตกต่างของยุคสมัยนะ เพราะเหล่าเกมเมอร์รุ่นเดียวกับผมก็ยังคงเฝ้ารอการมาของ Final Fantasy หรือ Dragon Quest ภาคใหม่อยู่ตลอด ในส่วนของเกม SIE นั้น เกมของค่ายมักจะขายไม่ค่อยดีในญี่ปุ่นมานานเหมือนกัน แม้ว่าเกมเมอร์ทั่วโลกจะยอมรับว่าเกมเหล่านั้นยอดเยี่ยมแค่ไหนก็ตาม แต่หลังๆ มานี้แม้แต่เกม Exclusive ฝั่งตะวันตกอย่าง Detroit: Become Human, Marvel’s Spider-man, หรือ Horizon: Zero Dawn ต่างก็ทำยอดขายในญี่ปุ่นได้ในระดับที่น่าพอใจ ส่วนหนึ่งต้องชมทีมแปลเกมที่รักษามาตรฐานงานได้สม่ำเสมอ แต่เหตุผลจริงๆ ก็คือการเปลี่ยนแปลงไปของเกมเมอร์ชาวญี่ปุ่นเองที่เปิดใจยอมรับเกมจากตะวันตกมากขึ้นด้วย  เกม Exclusive ของ SIE ในช่วงปีหลังๆ ดูจะมีเกม Remake และ/หรือ Remaster อยู่หลายเกม ถ้าคุณสามารถเลือกเกมมา Remake/Remaster ได้เกมหนึ่ง คุณจะเลือกเกมอะไร ผมมักจะได้ยินข้อเรียกร้องจากแฟนๆ ให้นำเกมมาสร้างใหม่บ่อยมากๆ อย่าง Legends of Dragoon ก็เป็นเกมหนึ่งที่มีคนขอเข้ามาบ่อย SOCOM ก็อีกเกม PlayStation All-Stars ก็มีเยอะ มีคนส่วนน้อยๆ ที่เรียกหาเกม Ape Escape ซึ่งผมเคยเป็นโปรดิวเซอร์ด้วย จริงๆ เกม Ape Escape เป็นเกมแรกๆ ที่ผมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย ฉะนั้นถ้าต้องเลือกซักเกมผมก็คงเลือก Ape Escape นี่แหละ คงไม่ได้ทำจริงๆ หรอก แต่ถ้าเกมได้รับการสร้างใหม่ในระดับเดียวกับ Crash Bandicoot ก็น่าสนใจเหมือนกัน คุณคิดว่าคุณภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ของเกมยุคปัจจุบันมีผลให้ผู้เล่นเห็นคุณค่าของเกมมากขึ้น และเล่นเกมเถื่อนน้อยลงหรือไม่ ผมก็หวังว่าจะเป็นแบบนั้นนะ (หัวเราะ) เมื่อก่อนนี้คนมักจะทำการดูดเพลงจากแผ่นซีดีมาใส่เครื่อง MP3 กันเป็นกิจจะลักษณะ หรืออาจจะใช้โปรแกรมแชร์ไฟล์อย่าง Napster ในการโหลดเพลง ซึ่งก็ทำให้เหมือนว่าได้เพลงเหล่านั้นมาฟรีๆ แต่ถึงอย่างนั้นทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ก็เลือกจะใช้งาน Spotify มากกว่า เพราะฉะนั้นผมมองว่าความสะดวกสามารถทำให้ผู้เล่นหันมาเล่นเกมแท้ได้เหมือนกัน นอกจากนี้ เหล่าเกมเมอร์ที่เคยเล่นเกมเถื่อนส่วนใหญ่ก็โตเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว ทำให้รู้มากขึ้นว่าอะไรควรไม่ควรทำ แน่นอนว่าอุตสาหกรรมเกมเองก็พยายามหาวิธีที่จะทำให้การเล่นเกมเถื่อนทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ากลับไปสู่วงการเพลง ก็จะเห็นว่ามีค่ายเพลงใส่มาตรการป้องกันการก๊อปเพลงน้อยลงเรื่อยๆ เพราะการจ่ายค่ารายเดือนมันง่ายกว่ามาก ผมจึงเชื่อว่าความสะดวกน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้คนหันมาใช้ของแท้มากขึ้นด้วย ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
23 Sep 2019
5 สิ่งน่าสนใจจากงาน Tokyo Game Show 2019
Tokyo Game Show ถือว่าเป็นหนึ่งในงานเกมระดับโลกจากทางฝั่งเอเชีย ที่เน้นการนำเสนอเกมจากทีมพัฒนาเกมในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอย่างที่เรารู้กันว่าในปัจจุบันทีมพัฒนาเกมระดับโลกนั้นเป็นทีมพัฒนาสัญชาติญี่ปุ่นก็มีอยู่ไม่น้อย ทั้ง Capcom , Square Enix , Nintendo , Sony , Konami รวมถึงทีมพัฒนาเกมอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เมื่องานนี้เริ่มต้นขึ้นเกมเมอร์ทั้งโลกก็จับตามอง เหมือนกับงาน E3 จากทางฝั่งตะวันตก ซึ่งงาน Tokyo Game Show จัดต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยปีในปี 2019 นี้งานได้จัดขึ้นในวันที่ 14 - 15 กันยายนที่ผ่านมาใน Makuhari Messe เมืองชิบะประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าจะผ่านไปแล้วแต่ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะวันนี้เราได้นำเอาสิ่งที่น่าสนใจของานนี้มาให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบกันแล้ว โดยคัดที่เด็ด ๆ มาให้ได้ดูกัน FINAL FANTASY VII Remake ตัวอย่างเกมใหม่ และ Demo สำหรับแฟน ๆ ของเกม FF7 แล้ว นอกจาก TIFA ที่เป็นขวัญใจของใครหลาย ๆ คนแล้ว Aerith ก็ไม่ต่างกัน เพราะว่าตัวละครนี้มีความสำคัญกับตัวเกมมาก ในเวอร์ชัน Remake นั้นจากเดิมที่เป็นเพียงตัวละคร Polygon ก็สวยแล้ว(ยุคนั้น) พอเป็นเวอร์ชันนี้เรียกได้ว่าสวยขึ้นอย่างมากทั้งหน้าตาและรูปร่าง ! อีกทั้งในงาน Tokyo Game Show ปีนี้ทาง Square Enix ก็จัด Aerith แบบเต็มตัว พร้อมกับระบบการเล่นบางส่วน นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยถึงฉากสำคัญต่าง ๆ ในเกม รวมถึง Mini Game อีกด้วยแบบนี้ไม่ซื้อไม่ได้แล้ว หากอยากอ่านรายละเอียดของเกมนี้เพิ่มเติมก็สามารถอ่านได้รีวิวของ บ.ก. Gamefever ที่ได้ไปลองเล่นเกมนี้ในงานมาแล้วที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=RtnfYYlvCVA https://www.youtube.com/watch?v=0x1AGz8DwtY Demo Gameplay ของ Death Stranding หนึ่งในเกมที่สร้างความมึนงงตั้งแต่เกมการเล่นไปจนถึงเนื้อเรื่องของเกม ในช่วงนี้คงไม่มีเกมไหนจะสร้างความสับสนไปมากกว่าเกม Death Stranding จาก Kojima Production ที่รอบนี้ได้นำเสนอตัวอย่างเกมการเล่นที่แฟนๆ เกมนี้จะต้องชอบ โดยรอบนี้เฮีย Kojiama นำเสนอเกมการเล่นหลาย ๆ อย่างตั้งแต่ภารกิจส่งของ ,ระบบ Inventory, การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ,  Safe House และระบบอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าจุดใจเหล่าเกมเมอร์อย่างแน่นอน https://www.youtube.com/watch?v=HGx-kEFcznI เปิดตัว Nioh 2 หนึ่งในเกมยากปาจอยแตกที่ใครเล่นจบแล้วก็ไม่อยากจะกลับไปเล่นอีกอย่าง Nioh ที่ในตอนนี้ได้ประกาศเปิดตัวภาคใหม่อย่างเป็นทางการ ที่ยังคงแนวทางการเล่นแบบเดิมคือ น่ากลัว โหดร้ายและท้าทาย  ที่เกมเมอร์สายฮาร์ดคอน่าจะชอบเกมนี้ เพราะทางทีมพัฒนากล่าวว่าตัวเกมจะไม่มีการเพิ่มหรือลดความยากในเกม แต่จะเป็นความยากเดียวกันทั้งเกม ดังนั้นเล่นเกมนี้ไม่ผ่านก็อย่าปาข้าวของล่ะ https://www.youtube.com/watch?v=fFDnUkiZQZ0 Project Resistance - Gameplay Trailer หลังจากที่ปล่อยตัวอย่างออกมายั่วแฟน ๆ รอบนี้ทาง Capcom ได้จัดเอาเกมการเล่นมาให้ดูกันแบบเต็ม ๆ โดยเป็นไปตามที่หลาย ๆ คนคาดคือเป็นเกม 4vs1 ที่ผู้เล่นจะต้องช่วยกับในการผ่านฉากต่าง ๆ ให้ได้ ในขณะที่อีกฝั่งหนึ่งจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้เล่นอีก 4 คนทำภารกิจไม่สำเร็จ ซึ่งในรอบนี้ทาง Capcom ได้เพิ่มความเป็น Survival Horror ให้กับตัวเกมไปอีกขั้นด้วยการเพิ่มในส่วนของเวลามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่หากผู้เล่นถูกโจมตีเวลาก็จะลดลงด้วย แต่ก็สามารถเพิ่มได้ด้วยการสังหารซอมบี้และทำ Objective ในฉาก ซึ่งเมื่อมองภาพรวมแล้วเรียกได้ว่าน่าสนใจมาก ๆ https://www.youtube.com/watch?v=ASax53Pk6Mg ตัวอย่างเกม Tale of Arise เรียกได้ว่าสร้างเสียงฮือฮาให้กับแฟนเกมซีรีส์ Tale เป็นอย่างมากหลังจากที่หายไปนานเกือบ ๆ 4 ปี ในที่สุดก็ได้เปิดตัวภาคใหม่เสียทีกับเกม Tale of Arise ที่ภาคนี้ได้มีการพัฒนาหลาย ๆ ด้านทั้งเกมการเล่นรวมถึงกราฟิก ที่แฟน ๆ ของซีรีส์หลายคนถึงกับบอกว่า ซีรีส์ของพวกเขาได้เข้าสู่ยุคใหม่แล้ว แม้ตัวอย่างในครั้งนี้จะมีความยาวเพียง 1 นาทีแต่ก็สร้างความประทับใจให้กับใครหลายคน https://www.youtube.com/watch?v=q0EYv5YCKcE  
18 Sep 2019
ประวัติ Tokyo Game Show กว่าจะมาเป็นงานเกมสุดยิ่งใหญ่จากโลกตะวันออก!
Tokyo Game Show งานเกมจากแดนปลาดิบสุดยิ่งใหญ่ที่โด่งดังไม่แพ้ E3 หรือ Gamescom ด้วยยอดผู้เข้าชมในปี 2018 ที่มีจำนวนสูงถึง 298,690 คน แต่ทว่าก่อนจะมาเป็นงานเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? เนื่องในโอกาสที่งาน Tokyo Game Show 2019 ที่จัดขึ้นในวันที่ 12-15 กันยายนนี้ ทางเรา GameFever จึงรวบรวม ประวัติ Tokyo Game Show มาแนะนำให้ทุกท่านได้อ่านกัน เป็นรวมไทม์ไลน์ของงานว่าเคยมีเกมอะไรเด็ดๆมาโชว์ในงานนี้กันบ้าง ตามไปดูกันเลย! [caption id="attachment_28515" align="aligncenter" width="1024"] Mascot ประจำงาน Tokyo Game Show 2019[/caption] Tokyo Game Show คืออะไร? ก่อนจะไปลุยประวัติ เรามาพูดถึงงานกันคร่าวๆก่อน Tokyo Game Show จัดขึ้นทุกปีที่ศูนย์ประชุมแสดงนิทรรศการ Makuhari Messe จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยศูนย์ประชุมนี้นั้นกว้างถึง 72,000 ตารางเมตร และมีผู้เข้าร่วมงานหลักแสนทุกปี ในงานจะมีหัวใจสำคัญเป็น General Exhibition คือส่วนที่เป็นเวที สำหรับเปิดตัวเกมหรือให้บุคลากรจากบริษัทเกมต่างๆมานำเสนอ ร่วมกับส่วนที่เป็นโซนทดลองเล่นเกมต่างๆมากมาย ควบคู่ไปกับการตกแต่งบูธที่อลังการ ไม่ได้มีเพียงเกมบนคอมพ์หรือคอนโซลเพียงอย่างเดียว เกมโทรศัพท์ก็มีการจัดแสดงด้วยในงานนี้ มีโซนเกม VR, โซนเกม Indie และอีกโซนหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเหมาะกับทุกเพศทุกวัยคือโซน Family Game Park เน้นขายเกมครอบครัว เล่นกับเพื่อนได้ นอกจากเกมก็ยังมีพวกขายของต่างๆ ทั้งของที่ระลึกจากเกม ไปจนถึงคอมพ์เครื่องใหม่ จอย หูฟัง หรือเหล่าเครื่องเกมพกพา และอื่นๆอีกมากมาย การแต่งคอเพลย์เองก็ขาดไม่ได้ในงานนี้ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Tokyo Game Show ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่เหล่าเกมเมอร์ไฝ่ฝันที่จะไปเยือนซักครั้ง [caption id="attachment_28516" align="aligncenter" width="1024"] ภาพบรรยากาศ Tokyo Game Show 2017 (ที่มา: facebook.com/tokyogameshow)[/caption] กว่าจะมาเป็นงาน Tokyo Game Show ที่ยิ่งใหญ่อย่างทุกวันนี้ [caption id="attachment_28519" align="alignleft" width="324"] โปสเตอร์งาน Tokyo Game Show 1996 (ที่มา: reddit.com/r/retrogaming โดย Gaijillionaire)[/caption] Tokyo Game Show (TGS) จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 22-24 สิงหาคม 1996 โดยมีสมาคมผู้ผลิตสื่อบันเทิงและคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่น หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Computer Entertainment Suppliers Association (CESA) และ Nikkei Business Publications เป็นผู้จัดงาน แม้เป็นการจัดขึ้นครั้งแรก แต่ในงานนี้ก็มีผู้เข้าร่วมถึง 109,000 คนเลยทีเดียว มีบริษัทเข้าร่วม 87 บริษัท และมีเกม 365 เกมได้โชว์ในงานนี้ บริษัทคุ้นหน้าคุ้นตาที่เข้าร่วมก็จะมี Sony, Capcom, Sega, Namco (ยังไม่ได้รวมกับบริษัท Bandai), Konami, Square (ยังไม่ได้รวมกับบริษัท Enix) เป็นต้น นอกจากนี้ เกม Resident Evil 2 จาก Capcom และเกม Metal Gear Solid ผลงานแจ้งเกิดของ Hideo Kojima ตอนอยู่กับ Konami ก็ได้เปิดตัวขึ้นครั้งแรกในงานนี้ด้วย ในปี 1997 เป็นครั้งแรกที่มีการจัดงาน Tokyo Game Show ขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นปีและปลายปี (ฤดูใบไม้ผลิและฤดูหนาว) มีเกมมากมายมาโชว์ในงาน และมีผู้เข้าร่วม 120,000 คนในงานช่วงต้นปี โดยในปี 1997-2001 ยังคงจัดงานขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นปีและปลายปี ก่อนจะเปลี่ยนมาจัดในช่วงปลายปีอย่างเดียวเป็นปีละครั้งตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นไปจนถึงปัจจุบัน Tokyo Game Show 2005 จุดเปลี่ยนสำคัญของงาน TGS คือปี 2005 เป็นปีที่อุตสาหกรรมเกมเริ่มเติบโตขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นไปอีกขั้น มีเครื่องเล่นเกมรุ่นใหม่เปิดด้วยขึ้นในงานนี้ นั่นคือ Wii จาก Nintendo นั่นเอง เพื่องัดมาสู้กับ PlayStation 3 ที่กำลังจะมาของ Sony (ซึ่ง Microsoft ก็ไม่น้อยหน้า งัด Xbox 360 มาสู้ด้วยในช่วงท้ายปี) เนื่องด้วยตัว PlayStation 3 ก็ใกล้จะเปิดตัว ทำให้มีเกมบางเกมได้พัฒนาขึ้นบนชุดพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้บน PS3 นั่นคือ Metal Gear Solid 4: Guns of the Patriots จาก Konami เป็นการเปิดตัวครั้งแรกในงานนี้พร้อมตัวอย่างเกมเพลย์ และมีการสาธิตการเล่นแบบ Demo โดย Hideo Kojima (ซึ่งเกมนี้ก็ได้รับรางวัล Japan Game Awards 2009 ด้วย) [embed]https://www.youtube.com/watch?v=pjYE7GkZg-A[/embed] ในปีถัดไปก็ล้วนมีผู้เข้าร่วมงานมากขึ้นทุกปี จากจำนวน 185,030 คนในปี 2009 ไปจนถึง 223,753 ในปี 2012 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ยอดผู้เข้าชมเกินสองแสนคน และพุ่งสูงขึ้นอย่างถล่มทลายในปี 2013 ด้วยยอดผู้เข้าร่วมงานที่สูงถึง 270,197 คน! เพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนถึง 35%! [caption id="attachment_28520" align="aligncenter" width="960"] ภาพบรรยากาศ Tokyo Game Show 2013 (ที่มา: facebook.com/tokyogameshow)[/caption] Tokyo Game Show 2013 เหตุผลอาจเป็นเพราะ สองพระเอกในงาน TGS 2013 นี้คือ การเปิดตัวเครื่อง Xbox One และ PlayStation 4 นั่นเอง พร้อมมี Demo เกมให้เล่นอย่าง Titafall, Forza 5, Metal Gear Solid 5 และ Battlefield 4 แต่อีกส่วนที่คึกคักไม่แพ้กันก็คือเหล่า Demo เกมจากค่ายประเทศตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Monster Hunter 4 จาก Capcom, Dark Souls 2 จาก Namco Bandai, Final Fantasy XIII จาก Square Enix และ Yakuza: Ishin จาก Sega เรียกได้ว่าอุ่นหนาฝาคั่ง ไม่แปลกใจจริงๆว่าทำไมในปีนี้ยอดผู้เข้าร่วมถึงดีดได้ถึง 270,197 คน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดอุตสาหกรรมเกมที่ญี่ปุ่นก็ไม่น้อยหน้าไปกว่าที่ใดบนโลกเลยทีเดียว ในปี 2014 มียอดผู้เข้าร่วมงานร่วงลงจากปีที่แล้วเป็น 251,832 คนแต่ก็นับว่ายังเป็นตัวเลขที่สูงอยู่ดี แม้จะดรอปลงมาบ้างแต่ก็ยังมีจำนวนที่สูงกว่า 250,000 คนอยู่เสมอ โดยตัวเลขนี้ก็เป็นจำนวนผู้เข้าชมขั้นต่ำหรือจำนวนที่คาดไว้ที่ผู้จัดงานหวังจะเห็นอีกด้วย [caption id="attachment_28521" align="aligncenter" width="900"] ภาพบูท PlayStation VR ที่ Tokyo Game Show 2015 (ที่มา: stripes.com)[/caption] Tokyo Game Show 2015 งาน TGS 2015 นี้ก็เป็นอีกครั้งที่คึกคัก มียอดผู้เข้าร่วมงาน 268,446 คน โดยในงานมีทั้งการเปิดตัว PlayStation VR โดย Sony ให้เล่นในงานนี้ เป็นการบ่งบอกว่าเทรนด์ VR กำลังมา และเกมใหญ่มากมายก็ขนกันมาให้ทดลองเล่น อย่างเช่น Call Of Duty: Black Ops III, Horizon: Zero Dawn, Star Wars: Battlefront, Metal Gear Solid V: The Phantom Pain เป็นต้น [caption id="attachment_28522" align="aligncenter" width="1000"] ภาพ Hideo Kojima ขึ้นเวทีเปิดตัวเกม Death Standing ครั้งแรกที่ Tokyo Game Show 2015 (ที่มา: thegamefanatics.com)[/caption] Tokyo Game Show 2016 ในปี 2016 ก็มียอดผู้เข้าร่วมสูงถึง 271,224 คน ทุบสถิติเก่า 270,197 คนที่ทำได้ในปี 2013 ส่วนเกมน่าสนใจที่ถูกนำมาเปิดตัวในงานนี้ก็ได้แก่ Horizon: Zero Dawn ที่กลับมาโชว์ตัวอีกครั้ง, การเปิดตัวเกม Death Stranding ครั้งแรก, NieR: Automata, Final Fantasy XV, Persona 5, Resident Evil 7: Biohazard, World of Final Fantasy, The Last Guardian, Nioh เป็นต้น ในปี 2017 มียอดผู้เข้าร่วมงานร่วงลงอีกครั้งเป็น 254,311 คน แต่แล้วในปี 2018 ที่ผ่านมาก็มีการทุบสถิติอีกครั้งด้วยยอดผู้เข้าร่วมงานสูงถึง 298,690 คน! มากที่สุดเป็นประวัติการณ์! Tokyo Game Show 2018 งาน TGS 2018 ที่ผ่านมาก็มีการเปิดตัวเกมและมี Demo ให้ทดลองเล่นก่อนเกมออกเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Sekiro: Shadows Die Twice, Devil May Cry 5, Kingdom Hearts III, Catherine Full Body, Days Gone, Resident Evil 2, Jump Force และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว PlayStation Classic จาก Sony ด้วย [caption id="attachment_28523" align="aligncenter" width="750"] ภาพบูทเกม Sekiro: Shadows Die Twice ของ From Software ที่ Tokyo Game Show 2018 (ที่มา: neotokyoproject.com)[/caption] เป็นยังไงกันบ้างกับ ประวัติ Tokyo Game Show ไล่เรียงไทม์ไลน์มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเติบโตของจำนวนผู้เข้าร่วมงานและเหล่าเกมดังที่ถูกขนมาจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นค่ายเกมจากประเทศตัวเองหรืออีกซีกโลก ตลาดอุตสาหกรรมเกมที่ญี่ปุ่นไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ด้วยตัวเลขผู้เข้าชมที่สูงขึ้นทุกปี น่าตื่นเต้นจริงๆว่าหลังจบงานครั้งนี้จะทุบสถิติเดิมหรือไม่กัน! ว่าแล้วก็อย่างลืมติดตามข่าวสารงาน Tokyo Game Show 2019 จะจัดขึ้นในวันที่ 12-15 กันยายนนี้นะ บอกเลยว่าน่าสนใจแน่นอน! ถ้าอยากรู้ว่าจะมีอะไรบ้าง สามารถรอติดตามได้ที่เพจเฟสบุ๊ค GameFever ได้เลย!
13 Sep 2019
ชมคลิปเกมเพลย์ตัวละคร Dante จาก Devil May Cry 5 พร้อมข้อมูลการเล่นของตัวละคร
ในงาน Tokyo Game Show 2018 ที่ผ่านมา ผู้พัฒนา Capcom ได้เปิดตัวเดโมใหม่จากเกม Devil May Cry 5 ซึ่งให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครเอกตัวดั้งเดิมอย่าง Dante เป็นครั้งแรก! https://www.youtube.com/watch?v=QpwfNwgR9-A นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลใหม่ๆ จากเกมเปิดเผยออกมาอีกเพียบเกี่ยวกับการเล่นของดันเต้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากตัวละครตัวแรกอย่างเนโรอยู่พอสมควร ดังนี้: ดันเต้จะสามารถเปลี่ยนสไตล์การต่อสู้และอาวุธได้อย่างอิสระตลอดเวลา ปืนคู่ Ivory & Ebony จะมีเสียงเอฟเฟกในการยิง ความรุนแรง และกระสุนไม่เหมือนกัน เสื้อคลุมและผมของดันเต้ถูกสร้างมาให้พริ้วไหวไปตามการเคลื่อนที่อย่างสมจริง การใช้อาวุธ Balrog Devil Arm โจมตีใส่ศัตรูซ้ำๆ จะทำให้อาวุธเรืองแสงสีแดง ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นสามารถเข้าสู่สภาวะ Ignition ได้ ดันเต้จะมีอาวุธหลายชนิดมากๆ ซึ่งยังไม่ถูกเปิดเผยทั้งหมด ผู้เล่นจะสามารถให้ดันเต้ถืออาวุธได้ทีละเยอะๆ หรือเพียงไม่กี่อย่างก็ได้ตามความต้องการ ดันเต้จะพูดคุยกับศัตรูด้วยเวลาต่อสู้ ซึ่งผู้พัฒนาบอกว่าแฟนๆ น่าจะชอบใจกับบทสนทนา ระหว่างการแปลงร่างเป็นปีศาจ (Devil Trigger) ดันเต้จะสามารถร่อนกลางอากาศได้ ข้อมูลที่น่าตื่นเต้นอีกอย่างคือการเปิดเผยว่าเกมจะสนับสนุนการเล่น 2-3 คนด้วย โดยข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยโดยหน้ารายละเอียดเกมใน PS Store (ใน Xbox Store และ Steam ก็มี) ซึ่งบอกว่าเกมจะสนับสนุนการเล่น Multiplayer Online ด้วย Devil May Cry 5 จะวางจำหน่ายในวันที่ 8 มีนาคม 2019 สำหรับ PS4, Xbox One, PC ติดตามข่าว Devil May Cry 5 เพิ่มเติมได้ ที่นี่  
23 Sep 2018
เกมเพลย์ใหม่ Days Gone จากงาน Tokyo Game Show 2018 โชว์ความแตกต่างระหว่างการบู๊และซุ่มเงียบ
ในงาน Tokyo Game Show 2018 ทางโซนี่ได้ทำการแสดงเดโมเกมเพลย์ใหม่จากเกม Days Gone เกมซอมบี้ PS4 Exclusive เกมใหม่ล่าสุดจากค่าย Sony Bend บนเวทีประจำบูธของค่าย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการบู๊กับเหล่าซอมบี้จำนวนมหาศาลโดยตรง และการค่อยๆ เก็บศัตรูแบบเงียบๆ ด้วยระบบ Stealth นั่นเอง https://www.youtube.com/watch?v=lUizh9drzmI แม้ว่าโดยรวมจะไม่ได้เป็นข้อมูลใหม่อะไร แต่ก็ยังน่าสนใจเสมอที่ได้เห็นถึงความแตกต่างของเกมเพลย์ทั้งสองแบบที่สามารถให้ประสบการณ์ที่ต่างกันแบบคนละขั้วเลยทีเดียว แถมเกมเพลย์ในเดโมล่าสุดยังดูลื่นไหลกว่าเกมเพลย์ที่เคยปล่อยออกมาตัวก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็น่าจะทำให้ผู้เล่นที่เฝ้ารอเกมนี้อยู่สามารถวางใจในคุณภาพของเกมได้ประมาณนึง Days Gone จะวางจำหน่ายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2019 สำหรับ PS4
22 Sep 2018
ชมเกมเพลย์ใหม่ Kingdom Hearts III โชว์การต่อสู้กับบอส Aqua ด้านมืด พร้อมข้อมูลใหม่จากผู้พัฒนา
วันนี้ในเวทีโชว์ประจำบูธของ Square Enix ที่ Tokyo Game Show 2018 ได้ทำการเปิดเผยคลิปเกมเพลย์ใหม่สั้นๆ ที่แสดงให้เห็นหน้าตาของบอส Aqua ด้านมืดเป็นครั้งแรก! https://www.youtube.com/watch?v=3nJxXhLUPg4 สำหรับคนที่ไม่ทราบ ตัวละคร Aqua เป็นตัวละครจากเกมภาคสปินออฟ Kingdom Hearts: Birth by Sleep ที่เคยวางจำหน่ายไปในปี 2010 สำหรับเครื่อง PSP โดย Aqua เป็นหนึ่งในศิษย์เอกของปรมจารย์ Keyblade แห่งแสง Master Erasqus (ร่วมกับ Terra และ Ventus) ซึ่งถูกขังอยู่ในแดนแห่งความมืด (Realm of Darkness) หลังจากที่พยายามช่วย Terra จากการโดน Master Xehanort ซึ่งเป็นปรมจารย์ Keyblade แห่งความมืดเข้าสิง โดยเธอเฝ้ารอการมาของผู้กล้าแห่งแสงคนใหม่หรือ Sora ซึ่งเป็นเพียงคนเดียวที่จะพาเธอออกไปจากดินแดนแห่งนั้นได้ นอกจากนี้ ในเวทียังมีการพูดถึงข้อมูลใหม่ๆ จากเกมโดยผู้พัฒนาอีกด้วย ดังนี้: Kingdom Hearts III ถือเป็นจุดจบของเนื้อเรื่องภาค Xehanort Saga แต่จะไม่ใช่จุดจบของ Kingdom Hearts แน่นอน โดยผู้สร้างเกมคุณ Tetsuya Nomura กล่าวบนเวทีว่าอยากจะเล่าเรื่องราวของ Sora ต่อไปในอนาคต มินิเกม Gummi Ship ถูกสร้างโดยทีมเฉพาะทางกว่า 20-30 คน และจะมีให้เล่นสองโหมดด้วยกันคือ Exploration และ Cardboard โดย Exploration จะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสำรวจจักรวาล Gummi ในแผนที่ Open-world ขนาดใหญ่ ในขณะที่ Cardboard จะเป็นโหมดที่ให้ผู้เล่นสามารถใช้ไอเทมต่างๆ ในการสร้างยาน Gummi Ship ของตัวเองได้ Kingdom Hearts III จะมีมินิเกมให้เล่นมากกว่า 20 ชนิด เกมจะมีฉากคัตซีนลับด้วย แต่ค่ายยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเผยคัตซีนดังกล่าวด้วยวิธีใดเพื่อหลีกเลี่ยงการสปอยให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เงื่อนไขในการปลดล๊อคยากขึ้น แต่อาจจะใช้วิธีปล่อยเป็น DLC ออกมาภายหลังแทน การเล่นในโหมดออนไลน์จะได้รับพิจารณาหลังจากที่พัฒนาโหมดเนื้อเรื่องของเกมให้เสร็จซะก่อน โดยทีมพัฒนากำลังอยู่ในขั้นตอนการเสนอไอเดียสำหรับโหมดออนไลน์ ผู้พัฒนาเผยอายุของตัวละครต่างๆ ออกมาดังนี้: Terra: 20 ปี Aqua: 18 ปี Ventus: 16 ปี Young Xehanort: 18-20 ปี Master Xehanort: 80 กว่าปี หนึ่งในผู้กำกับเกมคุณ Tai Yasue เผยว่าเกมจะมีโลกจากหนังดิสนี่ย์ต่างๆ มากกว่า 10 โลก Kingdom Hearts III จะวางจำหน่ายในวันที่ 29 มกราคม 2019 สำหรับ PS4, Xbox One (ขอบคุณ Gematsu สำหรับคลิปและคำแปลข้อมูล)
22 Sep 2018
Resident Evil 2 Remake: พรีวิวเกมเพลย์ Claire Redfield จากงาน Tokyo Game Show 2018
ตั้งแต่สมัยยังละอ่อน ผู้เขียนก็เป็นเกมเมอร์เด็กขี้กลัวที่ไม่ค่อยถนัดเกมแนว Survival Horror เลยเพราะกลัวเกินกว่าจะสนุกกับมันได้ ในขณะที่เพื่อนๆ ของผู้เขียนต่างก็สนุกสนานกับเกม Resident Evil 2 (สมัยนั้นยังเรียก Biohazard กันอยู่เลย) ผู้เขียนก็มักจะปลีกตัวไปเล่นเกมอื่นคนเดียวแทน ผ่านเวลามากว่า 20 ปี ในตอนนี้ผู้เขียนเองก็มีภูมิต้านทานต่อเกมน่ากลัวมากขึ้นพอสมควร พอได้มีโอกาสมาถึงงาน Tokyo Game Show 2018 ทั้งที จะไม่ลองเล่นเกมยอดนิยมอย่าง Resident Evil 2 Remake ก็กระไรอยู่ แถมยังได้ข่าวมาว่าในงานจะเปิดให้ลองเกมเพลย์ฝั่ง Claire Redfield เป็นครั้งแรกอีกด้วย ผู้เขียนก็เลยกัดฟันเดินตรงเข้าไปในบูธเดโมของ Capcom ที่สร้างขึ้นมาให้เหมือนกับสถานีตำรวจ R.P.D. ในเกมนั่นเอง ทันทีที่เดินผ่านประตูสถานีตำรวจที่เต็มไปด้วยถุงเก็บศพ ก็มีทีมงานประจำบูธแต่งตัวชุด Claire เดินมาต้อนรับ พร้อมกับอธิบายว่าผู้เขียนมีเวลาเล่นเกมเพียงห้านาทีเท่านั้น! และถ้าตายก่อนหมดเวลาจะถือว่าหมดสิทธิ์เล่นต่อทันที! (เข้าใจแหละเพราะผู้เขียนเองก็ต้องเข้าแถวเป็นชม.อยู่กว่าจะได้เข้าไปเล่น...) เดโมในงานเปิดให้ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะเล่นฝั่ง Claire หรือ Leon โดยเดโมของ Leon นั้นจะเป็นตัวเดียวกับที่เปิดให้เล่นในงาน PSX 2018 ที่เมืองไทย (อ่านพรีวิว ที่นี่) ในส่วนของเดโม Claire นั้น ผู้เขียนได้รับทราบก่อนจะเลือกว่าจะไม่มีศัตรูที่เป็นซอมบี้ธรรมดาให้สู้ แต่จะมีเพียงบอส William Birkin ให้สู้เพียงตัวเดียว ได้ยินแล้วก็แอบใจแป้วนิดๆ เพราะบอสตัวนี้คือตัวการที่ทำให้ผูัเขียนขยาดเกม Horror ไปเลยตอนเป็นเด็ก... อย่างที่เคยเห็นในภาพข่าวที่ผู้พัฒนาปล่อยออกมาก่อนหน้านี้ เดโมของฝั่ง Claire จะให้ผู้เล่นได้ต่อสู้กับบอส Birkin ในฉากทางระบายน้ำใต้ดิน ซึ่งต้องขอชมผู้พัฒนาที่แปลงฉากใต้ดินจากเกมดั้งเดิมออกมาได้น่ากลัวไม่แพ้สมัยผู้เขียนเป็นเด็กเลย หลังจากที่เดินสำรวจได้ซักพัก แอบมีสะดุ้งบ้างในจังหวะที่ท่อน้ำตามฉากพ่นไอน้ำออกมา ผู้เขียนก็พบกับคัตซีนสั้นๆ (ซึ่งทีมงานบูธบอกให้กดข้ามเพื่อรักษาเวลา) ก่อนที่จะถูกส่งเข้าไปเผชิญกับ Birkin ทันที ด่านของบอส Birkin ถูกออกแบบมาให้เป็นทางเดินแคบๆ ที่มีทางแยกออกไปประปรายตามทาง บางทีก็เป็นทางตัน แต่บางทีก็มีไอเทมอย่างกระสุนหรือยาเขียวให้เก็บบ้าง ซึ่งคนที่เคยเล่นเกมภาคดั้งเดิมอาจจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้เขียนที่เคยเห็นฉากนี้ผ่านๆ แค่ประปราย ถือว่าฉากช่วยขับอารมณ์ความสิ้นหวังและกดดันได้ดีมากๆ ประมาณว่าเราไม่มีที่ไหนให้หนีได้จริงๆ ผู้เขียนรีบชักปืนยิงระเบิด Grenade Launcher ออกมาก่อนเป็นอย่างแรก (ในเดโม Claire จะได้รับปืนระเบิด ปืนกลสั้น และปืนลูกโม่) และบรรจงอัดระเบิดใส่หน้า Birkin รัวๆ จนหมดตัวเลย ซึ่งดูเหมือนจะพอสร้างความเสียหายได้บ้าง แต่ก็ยังไม่พอจะล้มบอส ที่ยังคงค่อยๆ เดินเข้ามาหาผู้เขียนทีละนิดๆ หลังจากที่ชักปืนกลออกมายิงไปได้ซักพัก ลูกตาลูกใหญ่ตรงไหล่ของบอสก็เปิดขึ้น ผู้เขียนไม่รอช้ารีบชักปืนลูกโม่ออกมาเล็งลูกตสทันที ในส่วนของเกมเพลย์การยิงปืนไม่ได้ต่างจากของ Leon โดยผู้เล่นจะต้องกด L2 ค้างไว้ซักพักก่อนที่เป้าเล็งจะหดตัวลงมาแคบพอที่ผู้เขียนจะยิงปืนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เกมยังคงความกดดันจากภาคดั้งเดิมไว้ได้แม้จะเปลี่ยนมาเป็นระบบการยิงแบบ Third-person (มุมมองบุคคลที่ 3) หลังจากที่เล่นวิ่งไล่จับไปได้อีกแปบนึง (และอัดกระสุนลูกโม่เข้าตาบอสจนหมดตัว) ในที่สุดผู้เขียนก็สามารถพิชิตบอส Birkin ลงได้ทันกำหนดเวลา จนพนักงานบูธถึงกับเอ่ยปากชมฝีมือเลยทีเดียว (ไม่ได้โม้นะจะบอกให้) ก่อนจะนำผู้เขียนออกไปนอกบูธ โดยรวมแล้วประสบการณ์การสู้บอส Birkin ครั้งนี้ถือว่าดีกว่าครั้งแรกที่ผู้เขียนเจอเมื่อ 20 ปีที่แล้วแน่นอน ถ้าถามว่ายังน่ากลัวอยู่ไหมก็คงต้องตอบว่าน่ากลัวจริงๆ ด้วยองค์ประกอบตามฉากและระบบเกมเพลย์ที่เพิ่มความกดดันให้ผู้เล่นตลอดเวลา แม้ว่าสุดท้ายการสู้บอสจะค่อยข้างเรียบง่ายไปซักนิด อาจเพราะอาวุธครบมือ (ไม่รู้ว่าในเกมจริงจะมีปืนระเบิดให้ใช้แบบนี้ไหม) และการโจมตีของบอสที่ค่อนข้างช้า เมื่อรวมกับวิธีการควบคุมตัวละครแบบใหม่ ทำให้การวิ่งหนีออกมาตั้งหลักเพื่อยิงจุดอ่อนง่ายกว่าในภาคดั้งเดิมพอสมควร แต่ด้วยการออกแบบบอสที่มีความน่ากลัวน่าขยะแขยงก็ช่วยให้เรายังคงรู้สึกกดดันทุกครั้งที่ต้องมองบอสค่อยๆ คืบคลานเข้ามาหาช้าๆ ในระหว่างที่รอให้เป้าเล็งค่อยๆ หดลงมา ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจทีเดียวกับเดโมเกมเพลย์ครั้งนี้ ซึ่งกลบจุดอ่อนของบอสเกม Resident Evil ภาคหลังๆ (ยกเว้นภาค 7) ที่เอาความน่ากลัวแลกกับฉากแอคชั่นเท่ๆ ซะมากกว่า แถมยังเพิ่มความมั่นใจให้ผู้เขียนประมาณนึง จนตอนนี้พูดได้เต็มปากเลยว่า Day One แน่นอนเกมนี้! Resident Evil 2 Remake จะวางจำหน่ายวันที่ 25 มกราคม 2019 สำหรับ PS4, Xbox One, PC อ่านพรีวิวเกมอื่นๆ จาก Tokyo Game Show 2018 ได้ ที่นี่
22 Sep 2018
ผจญภัยในโลกกว้างไปกับเจ้าหนุ่มหมวกฟาง! - พรีวิว One Piece: World Seeker จากงาน TGS 2018
https://www.youtube.com/watch?v=sZR44R87E6U&feature=youtu.be อีกหนึ่งเกมที่พลาดไม่ได้สำหรับค่ายเกม Bandai Namco ก็คือ One Piece: World Seeker เกมแนวแอคชั่นผจญภัยแบบ Open World ที่ให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็น Monkey D. Luffy ออกตามล่าวันพีชพร้อมกับผองเพื่อน เมื่อมาเยือนถึง TGS 2018 แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะไปทดลองเล่นเกมเพื่อจะได้มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง โดยเดโมตัวที่เราเล่น เป็นตัวเดียวกับที่เคยเผยโฉมมาก่อนแล้วในงาน Gamescom 2018 ที่ผ่านมา จากที่ชมในเทรลเลอร์ต่างๆ ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษสำหรับการออกผจญภัยในฐานะ "ลูฟี่" ครั้งนี้ เพราะแทบจะเป็นครั้งแรกที่ One Piece มีเกมแบบ Open World ออกมาให้แฟนเกมได้สัมผัสบรรยากาศของการท่องไปในแกรนด์ไลน์ ทว่าพอได้ลองเล่นจริงๆ ตัวเกมกลับทำได้ไม่น่าประทับใจเท่ากับที่คาดหวังเอาไว้ สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังกับตัวเกมมากที่สุดน่าจะเป็นระบบ Open World ซึ่งถ้าเทียบกับ Marvels Spider-man ที่เป็นเกมแนวแบบเดียวกันแล้ว เรียกได้ว่า One Piece: World Seeker แทบจะไม่ติดฝุ่นไอแมงมุม ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้จะเปรียบเทียบด้านภาพ มุมกล้อง หรือเนื้อเรื่องของเกม แต่จะพูดถึงความอิสระในเกม จากที่เล่นในเดโม แทบไม่รู้สึกเลยเสียด้วยซ้ำว่าเกมเป็นระบบแบบเปิดที่เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ แน่นอนว่าลูฟี่ไม่ได้ใช้มือยางยืดตึ๋งหนืดในการเดินทางบ่อยเท่ากับสไปเดอร์แมนที่พ่นใยอยู่ตลอดเวลา แต่การเดินหรือวิ่งก็มีพื้นที่จำกัดจำเขี่ยมาก ตัวเกมมีกำแพงที่มองไม่เห็นคอยกันไม่ให้เราออกนอกพื้นที่ ชวนให้รู้สึกอึดอัด แทบไม่ต่างจากการเล่นเกมแบบเป็นด่าน ไม่เหมือน Marvels Spider-man ที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นในการชักใย ห้อยโหนและกระโจนไปไหนก็ได้ตามใจอยาก โดยไม่มีขอบเขต รวมถึงทุกสถานที่ที่ไปยังมีภารกิจยิบย่อยให้ทำ เสมือนกับว่าเราได้ไปเดินอยู่ในนิวยอร์กแล้วได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในเมืองจริงๆ ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่ One Piece: World Seeker ยังขาดไปอยู่ ส่วนการใช้มือยางยืดเพื่อการเคลื่อนที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ในการเล่นแบบ Open World ที่แผนที่ค่อนข้างกว้าง และตัวละครจำเป็นต้องมีท่าที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ทว่าในความเป็นจริงตัวเกมกลับทำระบบนี้ออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อมือที่ยืดออกไป ยืดได้ไม่ยาวพอ กะระยะยาก อีกทั้งยังใช้ได้กับวัตถุหรือสิ่งของแค่บางอย่าง เช่น ต้นไม้ หรือหอคอยเป็นต้น ไม่สามารถใช้จับขอบเนินดินแล้วปีนขึ้นได้ ต้องคอยเดินไปตามทางลาดที่เกมกำหนด ด้านการต่อสู้ "ลูฟี่" ตัวละครหลักของเราจะต้องเข้าไปสู้รบและประมือกับทหารเรือมากมาย ตัวเกมทำออกมารองรับรูปแบบการเล่นที่มีตั้งแต่การให้ Stealth ไปจนถึงการเปิดตัวด้วยการลุยดะแบบไม่แคร์ใคร สไตล์กัปตันผู้ไม่คิดมาก นอกจากนี้เกมยังถ่ายทอดความเป็นเจ้าหนุ่มหมวกฟางออกมาด้วยการใส่กิมมิคฮาๆ เข้าไปเล็กน้อย อย่างการเข้าไปแอบซ่อนให้ถังเหล้าแล้วค่อยๆ ย่องเข้าไปแบบ (ไม่) เนียน เป็นต้น ทว่าการต่อสู้ที่น่าจะเป็นจุดขายของเกมแนวแอคชั่นอย่าง One Piece: World Seeker กลับทำออกมาได้ขาดๆ เกินๆ แม้จะมีการอ้างอิงท่าต่อสู้ของลูฟี่มาจากอนิเมะหรือมังกะ อย่างฮาคิ หรือท่ายางยืดต่างๆ แต่กลับไม่ได้มีท่าที่หลากหลายมากพอในการจะสร้างคอมโบต่อสู้แบบมันส์ๆ นอกจากนี้ระบบการต่อสู้ก็ไม่ได้ไหลลื่นอย่างที่คิด ที่ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดที่สุดคือ One Piece: World Seeker ถือเป็นเกมที่เล็งเป้ายากเอาการ ทำให้การโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็พลาดเป้าได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีที่แสนจะเบสิค การโจมตีคอมโบ หรือท่าพิเศษก็ตาม นอกจากนี้ในการยืดมือออกไปจับศัตรูแล้วพุ่งไปหาก็ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่น่าสนุก ย่นระยะเวลาเดินทางไปได้เยอะ แต่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อพอพุ่งเข้าไปหาเหล่าทหารเรือแล้วกดใส่คอมโบหรือโจมตีกลับวืดไม่เป็นท่า จนกลายเป็นว่าแทบจะไม่สามารถ "ยืด จับ พุ่ง และโจมตี" ได้เลย แม้ตอนสู้กับ "อาคาอินุ" บอสในเดโม จะค่อนข้างทำให้เกมสนุกขึ้นบ้าง แต่เมื่อเทียบกับระบบการต่อสู้ของ Marvels Spider-man เกมไอแมงมุมกลับทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ ทั้งๆ ที่ Spider-man ไม่ได้มีท่าคอมโบหรือท่าที่ใช้โจมตีศัตรูมากเท่ากับท่าของลูฟี่เองเสียด้วยซ้ำ แต่กลับมีการโจมตีแบบคอมโบลื่นไหลกว่า และมันส์กว่า นอกจากนี้ตัวเกมยังขาดความตื่นเต้นและท้าทายอีก ทั้งภารกิจก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เราเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครอย่างลูฟี่ หรือเพิ่มความอินกับเนื้อเรื่องแต่อย่างใด โดยตลอดเวลาที่ตลอดเวลาที่ได้เล่นเกมประมาณ 20 นาทีก็แอบมีจังหวะที่เกิดความรู้สึกเบื่ออยู่บ่อยๆ ภารกิจที่ได้รับแทบจะไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ นอกจากเดินไปยังยอดเขาที่ตัวเกมกำหนด ค่อยๆ กำจัดทหารเรือไปทีละตัวสองตัว ตามเปิดกล่องที่กองอยู่บนพื้น แถมยังต้องค่อยๆ เดินไปตามทาง ทำให้นอกจากกำจัดทหารเรือไปเรื่อยๆ แล้วก็แทบไม่มีอะไรให้ทำอีก ที่สำคัญคือเกมขาดความสมจริง ในฐานะเกมที่มีพื้นฐานเนื้อเรื่องมาจากการ์ตูน โดยลูฟี่ที่เราเล่นใน One Piece: World Seeker สามารถถูกโจมตีด้วยกระสุนปืนธรรมดาของทหารเรือ หากจะบอกว่าทหารเรือทุกคน ทุกเมืองใช้กระสุนไคโรอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่ แม้จะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากยึดตามเรื่องจริงทั้งหมด ลูฟี่ของเราก็แทบจะเป็นอัมตะ เพราะนอกจากจะโจมตีแบบระยะไกลได้แล้ว ยังแทบไม่มีอะไรมาทำร้ายตัวละครของเราได้ แต่ตรงจุดนี้ก็ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จนไม่ค่อยอินกับตัวเกมอยู่เหมือนกัน หากจะให้รีบตัดสินว่า One Piece: World Seeker เป็นเกมที่ไม่คุ้มค่าในการเสียเวลาเล่นก็อาจจะเป็นการรีบด่วนสรุปไป ต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อเกมออกมาแบบเต็มรูปแบบแล้ว จะมีการปูเนื้อเรื่อง สร้างบรรยากาศให้เราอินกับตัวเกมได้ขนาดไหน หรือเมื่อมีเหล่าผองเพื่อนกลุ่มหมวกฟางเข้ามาร่วมจอยอาจทำให้เล่นสนุกขึ้นก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเตรียมใจเผื่อไว้หากเกมไม่ได้สนุกอย่างที่เพื่อนๆ คาดหวัง ทั้งนี้ One Piece: World Seeker จะจัดจำหน่ายให้เล่นผ่าน PlayStation 4, Xbox One และ PC ในปี 2019
22 Sep 2018
พรีวิว Jump Force จากงาน Tokyo Game Show 2018
https://www.youtube.com/watch?v=tm_-1DnNcXQ&feature=youtu.be ถ้าพูดเกมแนวต่อสู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแรงในอนาคตก็คงไม่หนีไม่พ้น Jump Force เกมแนวต่อสู้ที่รวบรวมตัวละครจากทั้งอนิเมะและมังกะของ Weekly Shonen Jump มาลงสังเวียน ต่อสู้เพื่อหาความเป็นหนึ่ง โดยเป็นเกมจากผู้พัฒนา Spike Chunsoft และผู้จัดจำหน่ายเกมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น Bandai Namco ทาง Game Fever ก็ได้เล่น Demo Jump Force ในงานTokyo Game Show 2018 มาเหมือนกัน เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง ต้องเกริ่นก่อนว่าเกมนี้มีรูปแบบเกมเป็นการต่อสู้แบบ 3 ต่อ 3 ซึ่งล่าสุดตัวเกมมีตัวละครให้เลือกกว่า 20 ตัว มาจาก 7 ซีรีส์ด้วยกัน ได้แก่ Bleach, Dragon Ball, Hunter x Hunter, Naruto, One Piece, Yu-Gi-Oh! และ Yu Yu Hakusho (มีตัวละครจาก Death Note ด้วย ทว่าจะปรากฎตัวในโหมดเนื้อเรื่องแทน) ด้านภาพ ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะได้ลองเล่น ก็เคยดู Trailer ของ Jump Force มาแล้วหลายตัว รวมถึงไปส่อง Screen Shot มาก็หลายครั้ง พอไปเล่นเองก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าทำภาพออกมาได้ค่อนข้างดี ทั้งรายละเอียดหน้าตารูปลักษณ์ตัวละคร ความสวยงามของฉาก ที่เด็ดที่สุดคือเอฟเฟ็กต์การใช้ท่าของตัวละคร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับเรากำลังได้ดูภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งพร้อมกับเล่นเกมต่อสู้อยู่ ทว่าเกมก็ยังมีปัญหาด้านการให้น้ำหนักกับภาพมากเกินไป อย่างเอฟเฟ็กต์ของตัวละครบางตัวก็ใหญ่เกินไป จนบดบังมุมมอง ทำให้เล่นเกมได้ไม่ค่อยลื่นและทำให้รู้สึกรำคาญในบางครั้งอยู่เหมือนกัน ระบบการต่อสู้ แต่เกมก็ไม่ได้ทำออกมาได้ดีขนาดนั้น แม้ภาพจะสวย แต่การต่อสู้กลับไม่ได้บู๊มันเท่าที่ควร เหมือนกับแค่กดปุ่มไปแล้วรอตัวละครระเบิดพลังออกมาใส่ศัตรูมากกว่า แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคการเล่นอะไรมากมายเหมือนกับต่อสู้แบบ Tekken ทำให้เกมถูกลดเสน่ห์ลงไปพอสมควร ถ้าให้นึกถึง Jump Force ในแง่ของการจัดแข่งขันเกมแนวต่อสู้แล้ว แทบจะนึกไม่ออกเลยว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ในภาพรวมแล้วเกมทำออกมาได้ในระดับโอเค หากเป็นเกมเมอร์ที่เป็นคอการ์ตูน อยากเล่นเกมไฟต์ติ้งสนุกๆ แบบไม่คิดอะไรมาก เกมนี้ก็อาจเหมาะ ทว่าหากเป็นแฟนเกมที่ชอบบู๊แบบจัดหนักจัดเต็ม เน้นการเล่นแบบใช้เทคนิคแล้วก็อาจจะต้องตัดสินใจดีๆ สิ่งที่เราอาจพอคาดหวังได้ก็คือ Jump Force คล้ายกับเกม J-Stars Victory VS ของ Bandai Namco ที่ออกมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีของนิตยสาร Weekly Shonen Jump เมื่อปี 2014 แล้ว จะเรียกว่าเป็นเวอร์ชันใหม่ของ J-Stars Victory VS ที่ผ่านการปรับปรุงภาพมาแล้วก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะเป็นการรวม All Star เหมือนกัน ระบบการเล่นส่วนใหญ่เท่าที่ดูคร่าวๆ ก็คล้ายกันมาก อาจคาดหวังได้ในอนาคตว่า Jump Force อาจเจริญรอยตาม J-Stars Victory VS ด้วยการนำตัวละครในเครือที่มีสเกลพลังต่างกัน หรือไม่น่ามีความสามารถในการต่อสู้ และเป็นตัวละครที่ไม่ได้มาจากอนิเมะต่อสู้ อย่าง Ryotsu คุณตำรวจป้อมยาม, Lucky Man หรือแม้กระทั่งไซคิ มางัดกับตัวละครพลังยิ่งใหญ่แบบโงกุน นารูโตะ หรือลูฟี่ ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจริงคงทำให้เกมมีมิติที่แปลกใหม่และแตกต่างจากเกมแนว Fighting อื่นๆ ของค่ายมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้ามีโหมด story เพิ่มเข้ามาอีกก็น่าลุ้นว่าตอนเกมออกมาจริงๆ จะสนุกสมกับที่แฟนๆ รอคอยกันหรือเปล่า ทั้งนี้ทาง Bandai Namco ยังประกาศเปิดตัว 4 ตัวละครใหม่ประจำ Jump Force ที่ดีไซน์โดยคุณ Akira Toriyama โดยตัวละครที่ชื่อ Glover และ Navigator จะเป็นฝ่ายพันธมิตร ส่วน Galena และ Kane จะอยู่ฝั่งศัตรู ทว่ายังไม่มีข้อมูลออกมาแน่ชัดว่าเราจะสามารถเล่นตัวละคร 4 ตัวนี้ได้หรือไม่ หากใครสนใจก็สามารถติดตามข่าวสารกันได้ โดย Jump Force จะจัดจำหน่ายผ่าน PS4, Xbox One และ PC ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019
21 Sep 2018
วิดีโอคอนเซ็ปต์ใหม่ Tales of Crestoria
ที่บูธของ Bandai Namco ในงาน Tokyo Game Show 2018 ได้มีส่วนที่จัดแสดงเกมภาคใหม่ในซีรีส์ Tales บนมือถือ ซึ่งมีชื่อภาคว่า Tales of Crestoria ทั้งนี้ส่วนที่จัดแสดงมีเพียงจุดถ่ายรูปและวิดีโอคอนเซ็ปต์ของเกมให้ดูเท่านั้น ยังไม่ได้มีรายละเอียดอื่นๆ หรือตัวเกมให้ได้ลองเล่นกัน โดยจะมีอีเวนต์ของเกมบนเวที Tokyo Game Show ในวันเสาร์ที่ 22 กันยายนนี้ ทั้งนี้บน Twitter ของ Bandai Namco ก็มีการโพสต์วิดีโอคอนเซ็ปต์ตัวนี้เช่นกัน https://twitter.com/i/status/1042356293686636544 ซึ่งรายละเอียดใน Tweet อื่นๆ ของ Bandai Namco ให้ข้อมูลว่าวิดีโอนี้เป็นความพยายามแสดงสังคมของโลกในเกม ในเนื้อเรื่องของเกม ผู้คนมีอุปกรณ์ส่วนตัวที่เรียกว่า "Vision Orbs" ซึ่งสามารถถ่ายวิดีโอและบิดเบือนการรับรู้ได้ เกมถ่ายทอดโลกที่วิดีโอจากมุมมองของใครคนหนึ่งสามารถส่งผลต่อมุมมองของคนอื่นอย่างมหาศาล และวิดีโอคอนเซ็ปต์ตัวนี้เป็นการแสดงสถานการณ์ซึ่งมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลหรือมีการย่อข้อมูล ธีมของเกมในภาคนี้คือ "บาป" และตัวละครหลักซึ่งมีบาปติดตัวนั้นมีชีวิตอยู่เพื่อปกป้องคนที่สำคัญกับตัวเอง คนที่เป็นคนรับผิดชอบภาพตัวละครหลักและวิดีโอทีเซอร์คือคุณ Yasutaka Nakata และ Kamikaze Douga ส่วนโปรดิวเซอร์ของเกมคือคุณ Tomomi Tagawa เกมจะเป็นแบบ Free-to-play แต่จะสามารถใช้เงินจริงซื้อไอเท็มบางชิ้นได้ ตอนนี้เกมเปิดให้ Pre-registration แล้ว ซึ่งหากมียอดถึงจำนวนที่กำหนดก็จะมีรางวัลให้ผู้เล่นทุกคนตามยอดด้วย https://www.youtube.com/watch?v=Joc8S2ScvUY ทีเซอร์คอนเซ็ปต์ https://www.youtube.com/watch?v=9mQZ7zBDA0Y ทีเซอร์คอนเซ็ปต์ (อีกเวอร์ชัน) แหล่งข้อมูล: animenewsnetwork.com
21 Sep 2018
พรีวิว Kill la Kill the Game
"ภาพลักษณ์น่าตื่นตาแต่มีอะไรให้ทำน้อยเกินไป" นั่นคือสิ่งที่ผมรู้สึกเมื่อได้ลองเล่นเกมครั้งแรกในงาน TGS 2018 ในฐานะแฟนอนิเมะ ผมทึ่งกับคุณภาพการดัดแปลงในครั้งนี้มาก ตัวละครและ Ragalias ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างแม่นยำและดูเจ๋งเหมือนตอนได้ดูอนิเมะครั้งแรก ภาพเวลาโจมตีและใช้สกิลทำได้เหมือนในอนิเมะ ตัวอักษรคันจิและสีสันบาดตาที่เป็นเอกลักษณ์ของอนิเมะทำออกมาได้อย่างไร้ที่ติ ต้องยกความดีให้สตูดิโอ Arc และ Trigger ที่จัดการงานศิลป์ออกมาได้ดีมาก แต่ความดีความชอบด้านงานศิลป์ก็ไม่สามารถชดเชยให้กับเกมเพลย์ที่ยังด้อยอยู่ได้ ในฐานะเกมต่อสู้จากอนิเมะแล้วนี่เป็นเกมที่เรียบง่ายมาก มีปุ่มโจมตีเพียงสองปุ่มเท่านั้น (โจมตีระยะไกล กับโจมตีระยะใกล้) กับอีกหนึ่งปุ่มโจมตีทำลายเกราะ (หรือจะเรียก Parry ก็ได้) เวลาส่วนใหญ่ของผมหมดไปกับการกดปุ่มโจมตีศัตรูเพียงหนึ่งหรือสองปุ่มเท่านั้น คอมโบจะอยู่กับการโจมตีระยะใกล้ แต่สามารถแทรกการโจมตีระยะไกลเข้าไปได้ ก็หวังว่าตัวละครที่มีให้เล่นมากขึ้นตอนเกมออกจะมีการโจมตีหรือท่าต่างๆ ที่หลากหลายกว่านี้ การต่อสู้ในสังเวียนของเกมนี้คล้ายเกมต่อสู้เกมอื่นๆ นั่นคือคุณตายเมื่อพลังชีวิตหมด เกมมีระบบแถบ Power Up ที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อต่อคอมโบได้ แต่สิ่งที่ต่างกันคือแต่ละตัวมีการเพิ่ม Power Up ที่ต่างกัน อย่างเช่น Gamagori จะมีแถบเพิ่มขึ้นมาอีกแถบหนึ่งที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเรา "ทำร้ายตัวเอง" เนื่องจากตัวละครตัวนี้เป็นพวกมาโซคิสม์ชอบความเจ็บปวด จึงได้รับ Power Up เพิ่มขึ้นเมื่อทำร้ายตัวเองจนเจ็บปวดเพียงพอ สิ่งนี้ทำออกมาในเกมได้ดีมาก ตัวละครนี้จะทำร้ายตัวเองในขณะที่สู้กับคุณอยู่เพื่อเพิ่มแถบ Power Up นั้น และใช้ประโยชน์จาก Power Up ที่ได้รับ ความแตกต่างกันระหว่างตัวละครแบบนี้น่าจะสร้างความหลากหลายได้ดีทีเดียว ระบบ Power Up ของเกมนี้สัมพันธ์กับระบบ "ท่าไม้ตาย" ตัวละครที่มีแถบ Power Up มากกว่า 50% จะสามารถใช้ท่าไม้ตายได้ ซึ่งเมื่อกดใช้แล้วผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมาเล่นเกม "เป่า ยิ้ง ฉุบ" กัน ถ้าชนะ 3 ครั้ง ผู้เล่นคนนั้นจะใช้ท่าไม้ตายได้ ซึ่งท่าไม้ตายทำภาพออกมาได้สุดยอดมาก แต่ระบบ "เป่า ยิ้ง ฉุบ" นี้ก็เข้ามารบกวนการต่อสู้ที่เรียบง่ายและรวดเร็ว สุดท้ายแล้วระบบนี้เข้ามาทำให้สิ่งที่สุดยอดมากอย่างท่าไม้ตายออกมาง่ายเกินไป โดยรวมแล้ว เราประทับใจกับงานศิลป์ของเกมนี้มาก แต่รู้สึกว่าระบบของเกมเป็นอะไรที่ตื้นเขินแต่สวยงามซึ่งเข้ามารบกวนเกมเพลย์มากเกินไป ก็หวังว่าตัวละครที่หลากหลายจะทำให้เกมมีความสมดุลมากขึ้น
20 Sep 2018
รวมรายละเอียดและเทรลเลอร์ใหม่ Devil May Cry 5 ในงาน TGS 2018
แพลตฟอร์ม​​: PS4, Xbox One, PC ผู้พัฒนา: Capcom วันวางจำหน่าย: 8 มีนาคม 2019 วันนี้ทาง Capcom ได้ปล่อยเทรลเลอร์ตัวใหม่ของ Devil May Cry 5 ออกมาในชื่อว่า Dante Trailer ซึ่งเผยเกมเพลย์และคัตซีนใหม่ของ Dante และ Nero รวมถึงเผยโฉม Trish และ Lady แบบเซอร์ไพรส์กันสุดๆ และยังมีตัวละครหน้าใหม่ชื่อว่า V เป็นตัวละครที่บังคับได้อีกตัวหนึ่ง และรายละเอียด Deluxe Edition ซึ่งมาพร้อมกับแขนกลสุดพิเศษ Rock Buster! https://www.youtube.com/watch?v=rKp1Hy0pjtw สำหรับชุด Deluxe Edition นั้นมาพร้อมกับ: Devil Breaker พิเศษ 4 แบบ Mega Buster, Gerbera GP01, Pasta Breaker, และ Sweet Surrender เปลี่ยนคัตซีนในเกมเป็นแบบใช้คนแสดงจริง Live Action Cutscene ได้ เพลงฉากต่อสู้จากภาค 1-4 จำนวน 12 เพลง เปลี่ยนเสียงพากย์ชื่อเกมในหน้าจอ Title และเสียงพากย์ Style Rank ได้ อาวุธของดันเต้ชื่อ Cavaliere R https://www.youtube.com/watch?v=t21LtTI0QHg
20 Sep 2018
คลิปเกมเพลย์เดโม Mega Man 11 ด่าน Fuse Man จาก TGS 2018
แพลตฟอร์ม​​: PS4, Xbox One, PC, Switch ผู้พัฒนา: Capcom วันวางจำหน่าย: 2 ตุลาคม 2018 ในงาน Tokyo Game Show 2018 รอบพิเศษสำหรับสื่อวันนี้ Capcom ได้เปิดให้เล่น Demo ของ Mega Man 11 ซึ่งมีด่านให้เล่นทั้งหมด 4 ด่าน ซึ่งมากกว่า Demo ที่มีให้โหลดกัน ซึ่งเล่นด่าน Block Man ได้เพียงด่านเดียว ด่านที่เพิ่มเข้ามาได้แก่ด่าน Blast Man, Fuse Man, และ Pile Man สามารถชมคลิปด่าน Fuse Man ซึ่งทีมงาน GameFever ได้ไปทดลองเล่นมาได้ด้านล่าง https://www.youtube.com/watch?v=7fF-C4jKYP4 คลิปด่าน Fuse Man https://www.youtube.com/watch?v=Ka1GVr-4I6Q คลิปสู้บอส Fuse Man ด่าน Fuse Man ค่อนข้างจะง่ายกว่าด่าน Block Man ที่มีให้เล่นกันมากทีเดียว ซึ่งเกิดจากด่านที่มีความเป็นพัซเซิลที่หากเราพลาดจะทำให้เราเสียพลังชีวิต ในขณะที่ด่าน Block Man การพลาดจะเป็นการตกเหวตายไปเลย ส่วนบอสของด่านก็ไม่ยากจนเกินไป  ผู้เล่นส่วนใหญ่น่าจะจำการโจมตีได้หลังจากสู้เพียง 1-2 ครั้ง คนที่เคยชินกับการเล่นเกมยากๆ มาในระดับหนึ่งน่าจะเอาชนะได้ไม่ยาก
20 Sep 2018
พรีวิว: Dragon Quest Builders 2 จากงาน Tokyo Game Show 2018
ถ้าพูดถึงเกมดังจากค่ายผู้พัฒนา Square Enix หนึ่งในเกมยอดฮิตในดวงใจของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นเกมแนว JRPG สุดมันส์อย่าง Dragon Quest ที่เพิ่งออกภาค DRAGON QUEST XI: Echoeds of an Elusive Age เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนที่เล่นจบไปแล้ว ต่อไปก็เป็นคิวของเกม Spin-off อย่าง DRAGON QUEST BUILDERS 2 ที่กำลังจะออกในเดือนธันวาคมปีนี้ ทาง GameFever ได้มีโอกาสทดลองเล่นเกมที่งาน Tokyo Game Show 2018 เลยอยากมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านเป็นออร์เดิร์ฟก่อนเกมออก DRAGON QUEST BUILDERS 2 เป็นเกมพิเศษที่แยกออกมาจากภาคหลัก ทว่าก็ยังคงเนื้อเรื่องหลักพร้อมภารกิจให้ทำ เรียกได้ว่าเป็นเกมลูกผสมระหว่าง JRPG และ Sand box เลยก็ว่าได้ มีหน้าตาทรงลูกบาศก์และระบบการเล่นคล้ายกับเกมดังอย่าง Minecraft ที่จะให้เราออกสำรวจโลก ฟาร์มของ เก็บทรัพยากร และสร้างสรรค์โลกขึ้นมาใหม่ในฐานะ "นักสร้าง" เนื้อเรื่องของ Dragon Quest Builders 2 จะเริ่มต่อจากฉากที่ Shidoh ตัวร้ายจาก Dragon Quest II: Luminaries of the Legendary Line (2530) พ่ายแพ้ให้แก่ผู้กล้า ในขณะที่โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความสงบสุขกลุ่ม "Hargon Order" อดีตลูกน้องของบอสตัวแรกๆ ของเกม Hargon ก็พยายามที่จะทำลายโลกอีกครั้ง พร้อมกำจัดเหล่าผู้สร้างที่สามารถกอบกู้อารยธรรมของโลกได้ [caption id="attachment_6017" align="alignnone" width="1280"] Shidoh บอสจาก Dragon Quest II[/caption] โดยเกมก็ละเอียดพอที่จะสร้างบรรยากาศเก่าๆ ให้เราหวนนึกถึง Dragon Quest II ทั้งเพลงตอนเลือกตัวละคร ลักษณะภาพในมินิแมพ รวมไปถึงบอสจากภาคเก่า เรียกได้ว่ารวบรวมความคลาสสิคที่แฟนเกม Dragon Quest จะชื่นชอบไว้อย่างครบครัน เริ่มเกมมาเราจะสามารถเลือกเพศของตัวละครได้ว่าจะเล่นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย แตกต่างจาก DRAGON QUEST BUILDERS 1 มีเพลง Love song (Only lonely boy) จากเกมหลักภาค 2 เปิดคลอให้ได้บรรยากาศและความคิดถึงเก่าๆ หลังจากนั้นก็ยังเลือกได้ว่า ตอนเริ่มเกมอยากเริ่มเล่นจากจุดไหนก่อน มีทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน [caption id="attachment_6018" align="alignnone" width="1280"] ผู้กล้าถูกจับโดยกลุ่ม Hargon Order[/caption] แบบแรกคือ การเริ่มเล่นจากตอนที่เราอยู่บนเรือโดยมีเนื้อเรื่องต่อจากตอนจบของ Dragon Quest II (2530) ถือเป็น Tutorial แรกของเกมที่จะสอนเราว่าระบบการเล่นเป็นอย่างไร ตั้งแต่การนอนและกินเพื่อเพิ่มเลือด การต่อสู้แบบมือเปล่า การคราฟท์ของ การเก็บทรัพยากร การต่อสู้กับมอนสเตอร์ รวมไปถึงการยกของ ซึ่งเราจะเรียนรู้ได้จาก Shidoh (Malroth) บอสภาค 2 ที่เป็น NPC อยู่บนเรือคอยป้อนภารกิจที่จะค่อยๆ ทำให้เราชินกับตัวเกม จนเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจบนเรือแล้ว จู่ๆ เรือก็อัปปางเราก็หมดสติไปและตื่นขึ้นมาอยู่บนเกาะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัย แบบที่สองคือ การเริ่มจากเราอยู่บนเกาะเลย โหมดนี้จะสอนให้เราเริ่มต้นเก็บทรัพยากร คราฟท์ของ และสร้างบ้าน ผ่าน NPC ต่างๆ ที่จะช่วยสอนระบบการเล่น ที่สำคัญที่สุดคือเพื่อนที่คอยติดตามเรามาคือบอสจากภาคสอง อย่าง Shidoh ที่มาในร่างเด็กหนุ่มผู้สูญเสียความทรงจำ และได้กลายมาเป็นคู่หูร่วมผจญภัยไปกับเราด้วย ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีฉากเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ที่ Shidoh จะกลายมาเป็นบอสในภารกิจสุดท้ายก่อนจบเกมหรือไม่ [caption id="attachment_6016" align="alignnone" width="1280"] ผู้สร้าง และคู่หูบอสเก่า Shidoh[/caption] ด้านกราฟิกทำออกมาได้น่าสนใจมาก ภาพระหว่างเกมสวย ดูสมัยใหม่ ในขณะที่ก็ให้ความรู้สึกคลาสสิคตามแบบฉบับเกมแนว Famicom ผ่านรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างหน้าตาของมินิแมพที่ดูย้อนยุค ลดทอนดีเทลของแผนที่ให้ออกมาในแนวเรโทร นอกจากนี้เมื่อกดปุ่ม touch pad แล้วยังเปลี่ยนมุมมองของมินิแมพให้เป็นมุม Bird eye view ซึ่งก็ใช้สไตล์ที่ย้อนยุค ถูกใจแฟนเกมคลาสสิคแน่นอน   สิ่งที่แตกต่างไปจากภาคก่อนๆ มีดังนี้ น้ำ: น้ำกลายเป็นส่วนสำคัญของเกม ในภาคนี้เราสามารถเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ สร้างภูมิประเทศได้หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโลกใต้น้ำให้เหล่านักสร้าง (Builder) ได้ลงไปสำรวจอีกด้วย EXP:การตีมอนสเตอร์ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น เมื่อในภาคนี้ตัวละครของเราสามารถเก็บ Exp ได้จากการฟาร์มมอนสเตอร์ หลอดเลเวลไม่ได้เป็นเลเวลของบ้านเหมือนภาคแรก ทั้งนี้เนื่องจากเราได้ลองเล่นไปแค่ 20 นาทีและยังไม่ได้ไปจนถึงจุดที่สามารถอัพเลเวลได้เยอะๆ เลยยังไม่แน่ใจว่าหลอดเลเวลนี้ส่งผลอย่างไรต่อตัวเกมกันแน่ Builder Point: ภาคนี้มีเกจ Builder Point เพิ่มขึ้นมา โดยทุกครั้งที่เราทำภารกิจเกี่ยวกับการสร้างบ้านสำเร็จ NPC จะแจกหัวใจให้ ซึ่งเราก็ยังไม่แน่ใจอีกเหมือนกันว่าหากเลเวลอัพแล้วจะสามารถทำอะไรได้ แต่ที่แน่ๆ คือไม่เหมือนกับทั้งเลเวลบ้านและของตอบแทนจากภาคก่อนอย่าง Seed of life แน่นอน ถุงมือยกของ: ภาคนี้เราจะได้เครื่องไม้เครื่องมือมาเพิ่มคือถุงมือวิเศษที่จะช่วยให้เราเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ ฟังดูเผินๆ ก็เหมือนจะคล้ายกับภาคแรกที่สามารถยกของได้เลยด้วยมือเปล่า แต่ที่พิเศษกว่าก็คือเราสามารถใช้ถุงมือที่ว่านี่เคลื่อนย้ายดินหรือก้อนหินได้โดยไม่ต้องเสียเวลาทุบแล้วค่อยขนย้ายให้เสียเวลาเหมือนภาคเก่า ถือว่าเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ดีจริงๆ การวิ่ง: ภาคนี้เราสามารถวิ่งได้โดยกด R1 โดยท่าวิ่งจะคล้ายกับท่าวิ่งของอาราเล่ ช่วยลดเวลาในการเคลื่อนย้ายได้มาก ทว่าก็ไม่สามารถใช้ได้ตลอดเพราะเมื่อกดวิ่งจะลดค่า Stamina การนอน: ในภาคก่อนหากเราเลือดลดแล้วต้องการจะฟื้นเลือด เราสามารถนอนได้ซึ่งจะเป็นการผลัดเปลี่ยนวันโดยอัตโนมัติ แต่ภาคนี้การนอนไม่ได้ทำให้เราสามารถข้ามเวลาได้อีกต่อไป เป็นแค่การค่อยๆ เพิ่มเลือดทีละ 2 หน่วยต่อวินาที หากเลือดเต็มแล้ว ตัวละครก็สามารถใช้ชีวิตต่อได้อย่างปกติ จุดนี้น่าจะเป็นเปลี่ยนการดำเนินเรื่องของเกมอยู่พอสมควร เพราะทำให้เราไม่สามารถข้ามตอนกลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาอันตรายไปได้ การคราฟท์: การคราฟท์ของถือเป็นส่วนที่สำคัญมากของเกมแนว Sand box โดยในภาคใหม่นี้ ตัวเกมได้ช่วยลดภาระทำให้การคราฟท์ของง่ายขึ้นอีกเยอะ เพราะเราไม่จำเป็นต้องแปรรูปทรัพยากรมากเท่าภาคเก่า เช่น หากเราต้องการเชือก เราสามารถฟาร์มจากเถาวัลย์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเก็บใบไม้ไปคราฟท์เป็นเชือกอีกทอด เท่าที่ผู้เขียนได้ลองเล่นเกมมาประมาณ 20 นาที ถือว่า Dragon Quest Builders 2 ทำออกมาได้ค่อนข้างน่าประทับใจ เหมาะกับแฟนเกมซีรีส์ Dragon Quest ทั้งภาคเก่าและ Builders ที่เคยออกมาแล้ว เพลงและกราฟิกภาพสามารถดึงภาพเก่าๆ ของ Dragon Quest II ออกมาได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงระบบการเล่นที่ปรับปรุงใหม่ ก็ช่วยลดเวลาและความยุ่งยากไปได้เยอะเลยทีเดียว  
20 Sep 2018
เตรียมพบกับ Stage Event จากเกม Death Stranding ที่งาน Tokyo Game Show 2018
เมื่อวานนี้ทางทวิตเตอร์ค่ายพัฒนา Kojima Productions ได้เปิดเผยว่าเกมสุดลึกลับของค่ายอย่าง Death Stranding จะจัดงานแถลงข่าวพิเศษขึ้นในเวทีงาน Tokyo Game Show 2018 วันที่ 23 กันยายนนี้ โดยในบทความยังมีคลิปเทรลเลอร์ภาษาญี่ปุ่นตัวใหม่อีกด้วย 2年振りに帰ってきます! 「東京ゲームショウ2018」9月23日(日)に「デス・ストランディング」のステージを開催します! 小島監督はもちろん、豪華声優陣が登壇。時間やゲストの詳細は追って発表します!グッズの物販「コジマプロダクションストア」としても出展します。 #TGS2018 pic.twitter.com/Uyd92iyZKs — Kojima Productions (@KojiPro2015) September 5, 2018 สำหรับงานแถลงข่าวครั้งนี้ ผู้พัฒนาบอกว่าจะมีแขกรับเชิญเป็นคุณ Hideo Kojima เอง ซึ่งจะมาพร้อมกับนักพากย์เสียงเกมภาคภาษาญี่ปุ่นอีกกลุ่มนึงด้วย ผู้พัฒนาไม่ได้เปิดเผยว่าบนเวทีจะทำการพูดถึงตัวเกมแค่ไหน หรือจะเปิดเผยข้อมูลใหม่อะไรหรือเปล่า คงต้องรอดูกันในวันงานจริงๆ ทีเดียวเลยจ้า! Death Stranding ยังไม่มีกำหนดวันวางจำหน่าย (Exclusive PS4) (ขอบคุณข้อมูลจาก Gematsu)
06 Sep 2018
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "Tokyo Game Show"
SNK vs. Capcom: The Match of the Millennium เกมต่อสู้ Crossover สุดคลาสสิก วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการบน PC แล้ว!
SNK ได้ทำการเปิดตัว SNK vs. Capcom: The Match of the Millennium เกมต่อสู้ Crossover สุดคลาสสิก เวอร์ชัน PC แล้ว ผ่านหน้า Steam ในราคา $7.99 หรือประมาณ 270.86 บาท พร้อมทำการปล่อยวิดีโอตัวอย่างใหม่ความยาวเกือบสองนาทีออกมา แสดงให้เราเห็นตัวละครที่จะปรากฏภายในเกม อีกทั้งยังเผยซีนการต่อสู้ออกมาอีกมากมายอีกด้วยอันที่จริงแล้ว SNK vs. Capcom: The Match of the Millennium นั้นเป็นเกมที่วางจำหน่ายครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 1999 ก่อนจะนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้งบนเครื่อง Nintendo Switch ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยภายในเกมจะมีตัวละครให้เราได้เลือกเล่นทั้งหมด 26 คน ซึ่งจะมาจากแฟรนไชส์ของทั้ง SNK กับ Capcom ผสมกัน ยกตัวอย่างเช่น Iori, Kyo, Terry กับ Mai (จากเกม The King of Fighters) Ryu, Ken, Chun-Li กับ M. Bison (จากเกม Street Fighter) B.B. Hood กับ Morrigan (จากเกม Darkstalkers) Arthur (จากเกม Ghosts n’ Goblins) Akari (จากเกม The Last Blade)โดยภายในตัวเกมนั้นจะมีโหมดต่างๆ มากมายให้ผู้เล่นได้เลือกเล่น ตั้งแต่โหมด Single Player, โหมด Tag&Team, โหมด Survival, โหมด Time Attack ไปจนถึง Mini Games ต่างๆ นอกจากนั้นพวกเขาก็ยังแอบซ่อนตัวละครลับอยู่อีกมากมาย เพื่อรอคอยให้ผู้เล่นได้เข้าไปทำการปลดล็อก ซึ่งเราจะสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ ได้ ในช่วงงาน Tokyo Game Show 2021 ที่จะถึงนี้นั่นเองค่ะ<iframe width='560' height='315' src='https://www.youtube.com/embed/cTz3aaDEh5A' title='YouTube video player' frameborder='0' allow='accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture' allowfullscreen></iframe>Credit: GamingBolt
30 Sep 2021
Square Enix ยืนยัน! Forspoken และ Stranger of Paradise Final Fantasy Origin จะมางาน TGS 2021 นี้แน่นอน!!
อีกไม่กี่วันอีกหนึ่งอีเวนท์ที่ใครหลายๆ คนตั้งหน้าตั้งตารอคอยอย่าง Tokyo Game Show ก็จะมาถึง และแน่นอนว่าบรรดาผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ ก็ได้เริ่มออกมายืนยันข่าวสาร รวมถึงกระจายอัปเดตต่างๆ เกี่ยวกับเกมของพวกเขากันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นก็จะขาด Square Enix ไปไม่ได้เลย โดยสองเกมใหญ่ที่สุดที่ได้รับการยืนยันว่าจะได้เห็นในงาน TGS 2021 นี้เลยก็คือ Forspoken ที่จะมาในวันที่ 1 ตุลาคมและ Stranger of Paradise Final Fantasy Origin ที่จะมาในวันที่ 2 ตุลาคม โดยทั้งสองเกมนั้น จะทำการลงให้ PS5 โดยเฉพาะ! นอกจากนั้นในวันที่ 3 ตุลาคม เราก็จะมีโอกาสได้เห็นเกมที่เพิ่งจะเปิดตัวใหม่อย่าง เกมที่ลงให้เครื่อง Switch โดยเพาะอย่าง Chocobo GP และ เกมที่นำโดย Yoko Taro อย่าง Voice of Cards: The Isle Dragon Roars อีกด้วยแน่นอนว่านอกจากเกมที่ได้รับการยืนยันแล้ว เราก็อาจมีโอกาสจะได้เห็น Marvel's Guardians of the Galaxy เพิ่มเติมในวันที่ 2 ตุลาคม และได้เห็นเกม Fantasy 7: The First Soldier ในวันที่ 3 ตุลาคมเพิ่มเติมอีกด้วย ในขณะที่ Final Fantasy 16 และ Triangle Strategy นั้นไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลยแม้แต่นิดเดียวอย่างไรก็ดีอีกไม่กี่วันงาน TGS 2021 ก็จะมาถึงแล้ว ทางเราก็ได้แต่มานั่งเกาะจอรอลุ้น หรือสุ่มเดากันต่อไปนะคะ ว่าภายในงานจะมีโอกาสได้เห็นเกมอะไรจากค่ายเกมไหนกันบ้างนะCredit: GamingBolt
29 Sep 2021
ตารางวัน Tokyo Game Show 2021 มาแล้ว
Tokyo Game Show 2021 กำลังจะมาแล้วในปลายเดือนนี้ โดยจะยาวถึง 4 วันพร้อมกับการประกาศอัปเดตและเรื่องสำคัญจากค่ายเกมต่างๆ สามารถเช็คตารางได้ที่ TGS 2021ในวันที่ 30 กันยายนจะมีงานของ Xbox และ Capcom ยาวถึง 50 นาที จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคมก็จะเป็นงานของ Square Enix ที่จะนำเสนอข้อมูลเกมใหม่ที่กำลังจะมา มีโอกาสที่เกมใหม่จะเป็น Forspoken หรือ Final Fantasy 16 ก็ได้ทำให้หลายๆ คนรอดูงานนี้กัน นอกจากนี้ก็มีงานของบริษัทอื่นมากมายเช่น D3 Publisher, Konami, Koei Tecmo, 505 Games, Ubisoft, Arc System Works, miHoYo, NCSoft และอื่นๆ อีกมากมายในขณะนี้ตารางงานยังไม่แน่นอนฉะนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาภายในงานได้Credit: Gamingbolt
02 Sep 2021
SEGA ATLUS ยืนยันแล้ว!! เข้าร่วมงาน Tokyo Game Show 2021 แน่นอน
อีกไม่นานจะถึงเวลาของงาน Tokyo Game Show 2021 แล้ว โดยทาง SEGA ได้ออกมายืนยันด้วยการเปิดเว็บไซต์ Teaser ของงาน Tokyo Game Show ก่อนเลยว่าจะเป็นเจ้าภาพการไลฟ์สตรีมสดโดยใช้ชื่อว่า “Sega Atlus Channel” ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมจนถึงวันที่ 3 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันหลังจากงาน Tokyo Game Show Kicks Off นั่นเอง ในตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะได้เห็นในงาน แต่เราสามารถคาดเดาได้ว่าอาจจะได้เห็นเกมเพลย์เพิ่มเติมของ Shim Megami Tensei V ที่กำลังจะวางขายให้กับเครื่อง Nintendo Switch ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้อาจจะมีข่าวเกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ Persona ด้วย เพราะตอนนี้ ATLUS กำลังฉลองครบรอบ 25 ปี Persona พอดี งาน Tokyo Game Show 2021 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 กันยายน ไปจนถึงวันที่ 3 ตุลาคม จะมีสตูดิโอใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นอะไรเข้าร่วมในงานปีนี้บ้าง เราต้องรอติดตามกันอีกทีครับCredit : GamingBolt
30 Aug 2021
โปรดิวเซอร์ประกาศ Final Fantasy 16 อาจจะไม่ได้ขึ้นโชว์ในงาน Tokyo Game Show 2021
หลังเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีอัปเดตเกี่ยวกับ Final Fantasy 16 ออกมามากนัก แต่เหล่าแฟนๆ ก็ได้แต่ตั้งตารอข่าวอัปเดตของเกมนี้กันมาตลอด เพราะ Naoki Yoshida โปรดิวเซอร์ของ Final Fantasy 14 ได้กล่าวไว้เมื่อปลายปีที่แล้วว่า Square Enix มีแผนที่จะเปิดตัวเกมหลายเกมในปี 2021 แค่นี้ก็ทำให้แฟนๆ พร้อมที่จะรอฟังข่าวดีกันแล้ว แต่งาน E3 กับ State of Play ผ่านไปแล้ว ก็ยังไม่มีข่าวอะไรเกี่ยวกับ Final Fantasy 16 ออกมาเลย ทำให้แฟนๆ คาดการณ์ไปว่าจะมีการพูดถึงเกมนี้ในงาน TGS (Tokyo Game Show) แต่แฟนๆ ก็ต้องผิดหวังกันไปอีกเพราะล่าสุด Naoki Yoshida ได้ประกาศไว้ในไลฟ์สตรีม Final Fantasy 14 ว่า Final Fantasy 16 อาจไม่มีการนำขึ้นมาโชว์ที่งาน Tokyo Game Show ซึ่งมีกำหนดไลฟ์สตรีมในช่วงปลายเดือนกันยายนYoshida ก็ยังกล่าวอีกว่า ตอนนี้การพัฒนาเกมยังราบรื่นดี การทำงานในส่วนต่างๆ ก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว การอัดเสียงภาษาอังกฤษก็ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว จากนั้น Yoshida ก็บอกอีกว่า ที่ตอนนี้ยังไม่เอาขึ้นโชว์เพราะต้องการที่จะให้ตัวเกมเสร็จจนพร้อมวางขายก่อนประกาศขึ้นโชว์เพื่อให้แฟนๆ สามารถซื้อได้ในทันทีYoshida ยังบอกอีกว่า เขาไม่ต้องการที่จะให้แฟนๆ รอนาน เพื่ออัปเดตข้อมูลเพียงเล็กน้อย เขาต้องการให้แฟนๆ ได้รู้ข่าวสารรวดเดียวจนพร้อมซื้อเกมในทันที ถึงจะยังไม่รู้วันวางขายที่แน่นอน แต่ที่แน่นอนคือ Final Fantasy 16 จะวางขายให้เล่นใน PS5 FINAL FANTASY 16 UPDATES FROM YOSHI-P-Voice recording for the ENGLISH version is almost complete-All scenarios set in stone-Development going well, but they might not be able to show it at TGS-He wants to show it at utmost quality so people can watch and think "INSTANT BUY!" pic.twitter.com/YrL5ktKeDp— ☆オードリーAudrey☆ (@aitaikimochi) July 10, 2021 Credit : GamingBolt
12 Jul 2021
Tokyo Game Show 2021 เปลี่ยนไปจัด Online เซ่น COVID-19 ปีนี้จะมีภาษาอังกฤษด้วย!
เมื่อวานนี้เพิ่งจะมีข่าวออกมาว่างาน PAX East จำเป็นต้องยกเลิกเพื่อเซ่นพิษ COVID-19 ไป วันนี้อีกหนึ่งงานเกมใหญ่ประจำปี Tokyo Game Show 2021 เองก็ประกาศเปลี่ยนไปจัดแบบ Online แทนเช่นกัน โดยตัวงานจะยาว 4 วัน ตั้งแต่ 30 / 9 / 2021 ไปจนถึง 3 / 10 / 2021การถ่ายทอดสดจะถูกทำผ่าน Youtube โดยพิเศษกว่าปีที่แล้วตรงงาน Online ในครั้งนี้จะเป็นแบบภาษาอังกฤษ หรือมีคำบรรยายภาษาอังกฤษด้วย แม้ยังไม่รู้ว่าจะมีเกมอะไรถูกเอามาโชว์บ้าง แต่คิดว่าน่าจะมี Fianal Fantasy จากทาง Square Enix ด้วยอย่างแน่นอนถือเป็นครั้งแรกสำหรับชาวต่างชาติอย่างเราเลย ที่จะสามารถเที่ยวงาน Tokyo Game Show ได้โดยเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้โดยง่าย นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้น และอดใจรอไม่ไหวที่จะถึงวันงานครับCredit: https://gamingbolt.com/tokyo-game-show-2021-confirmed-to-be-an-online-event
31 Mar 2021
Ghostrunner ประกาศจะวางจำหน่ายเวอร์ชั่น Nintendo Switch ในวันที่ 27 ตุลาคม!!
Ghostrunner เกมแอ็คชั่นมุมมองบุคคลที่หนึ่งในธีมโลก Cyberpunk ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง All In! Games กับ 505 Games ได้มีการประกาศออกมาว่าเกมดังกล่าวจะลงให้กับเครื่อง Nintendo Switch ด้วย! แต่เดิม All In! Games กับ 505 Games ได้ยืนยันว่า Ghostrunner จะวางจำหน่ายให้กับเครื่อง PC, PlayStation 4 และ Xbox One ในวันที่ 27 ตุลาคม ไม่เคยกล่าวถึงแพลตฟอร์ม Switch มาก่อน ซึ่งปกติแล้วการประกาศในลักษณะนี้จะจบลงที่เวอร์ชั่น Nintendo Switch จะวางจำหน่ายช้ากว่าเวอร์ชั่นอื่นๆ และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือเกม Doom Eternal นั่นเอง แต่สำหรับเกมนี้มันจะไม่เป็นแบบนั้น เพราะผู้จัดจำหน่ายได้ประกาศในงาน Tokyo Game Show เมื่อคืนว่า Ghostrunner จะวางจำหน่ายเวอร์ชั่น Nintendo Switch พร้อมกับเวอร์ชั่นอื่นๆ อีกทั้ง Twitter ของเกม Ghostrunner ยังมีการโพสต์วิดีโอตัวอย่างเกมนี้แบบเวอร์ชั่น Nintendo Switch มาให้ผู้ที่พลาดงาน Tokyo Game Show เมื่อคืนได้ดูกันด้วย สามารถดูวิดีโอดังกล่าวได้ด้านล่างครับ Y̲o̲u̲r̲ N̲i̲n̲t̲e̲n̲d̲o̲ S̲w̲i̲t̲c̲h̲ collection is about to get a lot more ...dangerous. See for yourself in the new Ghostrunner trailer and get it in the N̅i̅n̅t̅e̅n̅d̅o̅ G̅a̅m̅e̅ S̅t̅o̅r̅e̅ o̅n̅ O̅c̅t̅o̅b̅e̅r̅ 2̅7̅!̅#BeGhostrunner pic.twitter.com/xqK6xCbDtv — Ghostrunner (@GhostrunnerGame) September 23, 2020 Credit: GAMERANT
24 Sep 2020
ยืนยัน!! Resident Evil Village จะมาโชว์ในงาน TGS 2020 นี้ด้วย
Capcom ได้ยืนยันแล้วว่า Resident Evil Village จะมาในงาน Tokyo Game Show 2020 ที่จะจัดในวันที่ 23 - 27 กันยายน นี้ด้วย ซึ่งมันก็ไม่น่าแปลกใจมากนักเพราะซีรีส์ Resident Evil ก็มีมาโชว์ในงาน TGS อยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ทาง Square Enix ก็ได้ยืนยันว่าจะเข้าร่วมงานนี้พร้อมประกาศรายชื่อเกมที่จะมาในงานด้วย ในขณะเดียวกัน Resident Evil Village ก็มีการรั่วไหลของข้อมูลออกมาอยู่บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น Boss หรือศัตรูภายในเกมที่เราจะต้องเผชิญไปจนถึงเรื่องราวในช่วงต้นเกมและตัวละครที่เราสามารถเล่นได้ เรียกได้ว่ารู้ไปเสียเยอะทั้งๆ ที่เกมยังไม่ทันวางจำหน่ายเลยด้วยซ้ำ มันจึงน่าสนใจว่าในงานนี้พวกเขาจะเอาอะไรมาโชว์ให้เราดูครับ Resident Evil Village มีกำหนดวางจำหน่ายในปี 2021 สำหรับเครื่อง PlayStation 5, Xbox Series X และ PC Resident Evil Village will be part of Tokyo Game Show 2020 Online and Capcoms own TGS LIVE 2020!https://t.co/jXTSrLQqkI We know that gamers were excited to learn more in August so we apologize for the delay. Stay tuned.#REVillage #ResidentEvil — Capcom Dev 1 (@dev1_official) September 1, 2020 Credit: Gamingbolt
02 Sep 2020
ของดีมีเพียบ! Square Enix เปิดเผยรายชื่อเกมที่จะมาในงาน TGS 2020
Tokyo Game Show 2020 จะเป็นอีเวนต์ออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ทาง Square Enix ก็ได้ยืนยันแล้วว่าจะเข้าร่วมงานนี้และได้มีการเปิดเผยรายชื่อเกมที่เราน่าจะได้เห็นกันในงานดังกล่าวออกมาด้วยครับ บางชื่อนั้นไม่เคยมีการประกาศที่ไหนมาก่อนเช่น Collection of SaGa: Final Fantasy Legend สำหรับแพลตฟอร์ม Nintendo Switch และ Balan Wonderworld เกมจากหนึ่งในผู้สร้าง Sonic the Headgehog คุณ Yuji Naka นอกจากนี้ดูเหมือนว่า Babylons Fall จากทีม PlatinumGames ก็เป็นส่วนหนึ่งของรายชื่อที่ได้ถูกเปิดเผยออกมา เกมดังกล่าวคือเกมแนวเดินหน้าฟัน (Hack and Slash) ที่มีการเปิดตัวเมื่อปี 2018 นั่นเอง เกมอื่นๆ ที่เราน่าจะได้ชมในงานนี้ได้แก่ Dragon Quest 11: Echoes of an Elusive Age S - Definitive Edition ของเครื่อง PlayStation 4, Xbox One และ PC นอกจากนั้นยังมี Kingdom Hearts: Melody of Memory ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ยังมีเกมน่าสนใจอื่นๆ อีกมากที่จะมาโชว์ในงาน Tokyo Game Show 2020 ซึ่งจะจัดในวันที่ 23 ถึง 27 กันยายน นี้ สามารถดูรายชื่อเกมได้ด้านล่างครับ Babylon’s Fall (PS4, PC) Balan Wonderworld (PS5, Xbox Series X, PS4, Xbox One, Switch, PC) Collection of SaGa: Final Fantasy Legend (Switch) Dragon Quest 10 Online (PS4, Switch, PC, Wii U, 3DS) Dragon Quest 11: Echoes of an Elusive Age S – Definitive Edition (PS4, Xbox One, PC) Dragon Quest: The Adventure of Dai Game Project (Arcade, iOS, Android) Dragon Quest Monsters 2: Iru and Luca’s Marvelous Mysterious Key (iOS, Android) Dragon Quest Rivals Ace (Switch, PC, iOS, Android) Dragon Quest Tact (iOS, Android) Dragon Quest Walk (iOS, Android) Final Fantasy XIV (PS4, PC, Mac) Final Fantasy: Brave Exvius (iOS, Android, PC) Final Fantasy Trading Card Game Kingdom Hearts: Melody of Memory (PS4, Xbox One, Switch) Manga UP! Marvel’s Avengers (PS4, Xbox One, PC) Romancing SaGa Re: Universe (iOS, Android) Square Enix Music Toji no Miko: Kizamishi Issen no Tomoshibi (iOS, Android) War of the Visions: Final Fantasy Brave Exvius (iOS, Android) Credit: Gamingbolt
02 Sep 2020
Resident Evil Village เตรียมขายเสื้อยืด และแจ็คเก็ตลายโลโก้เกมในงาน TGS 2020
งาน Tokyo Game Show 2020 กำลังจะจัดในช่วงปลายเดือนหน้า ซึ่งจากข่าวก่อนหน้านี้ ทำให้เรารู้ว่า ไลฟ์สตรีมที่จะมีขึ้นทดแทนตัวงานที่ต้องยกเลิกในวันที่ 23 - 27 กันยายน นี้จะเป็นแบบไหน อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าความพิเศษของงานในครั้งนี้จะยนังไม่หมดแค่นั้นครั้ง เมื่อล่าสุดได้มีการประกาศจาก Capcom ว่าในงานดังกล่าวจะมีการขายเสื้อลาย Resident Evil Village และ Street Fighting V ด้วยครับ! หน้าเว็บไซต์ของ Capcom ได้มีการเปิดให้พรีออเดอร์เสื้อยืด และแจ็คเก็ต ลายโลโก้เกม Resident Evil Village กับ Strret Fighter V ในราคา 3,800 เยน และ 8,000 เยนตามลำดับ โดยสามารถเข้าไปดูไเ้ผ่านลิงก์นี้ ต้องบอกก่อนเลยว่าสิ้นค้าเหล่านี้เป็นของที่มีจำนวนจำกัด ดังนั้นใครที่เข้าไปดูแล้วเกิดอยากได้ขึ้นมา อย่าลังเลที่จะกดพรีออเดอร์ครับ! [gallery columns="2" ids="64867,64868,64869,64870"] Credit: Siliconera  
20 Aug 2020
นิตยสาร Famitsu เผยข้อมูลสิ่งที่เราจะได้เห็นในงาน Tokyo Game Show แล้ว!
2020 นับเป็นปีที่น่าเศร้าครับ เพราะแค่การระบาดของ COVID-19 เพียงอย่างเดียว ก็เล่นทำเอาเกมเลื่อนวันวาจำหน่ายไปเยอะแยะแล้ว ทางด้านงานอีเวนต์เกมเองก็ถูกยกเลิกไปมากมายเช่นกัน Tokyo Game Show 2020 เองก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ยังดีที่เหมือนว่าเราจะได้งานอีเวนต์แบบออนไลน์มาทดแทน ซึ่งล่าสุดดูเหมือนเราจะรู้แล้วครับ ว่าจะได้เห็นอะไรบ้างในงานครั้งนี้! นิตยสาร Famitsu ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงานอีเวนต์ที่กำลังจะมา ว่าเราจะได้เห็นอะไรบ้าง โดยทางเราได้สรุปข้อมูลดังกล่าวมาให้แล้ว สามารถดูได้ข้างล่างนี้เลยครับ เนื้อหาหลักที่จะถูกไลฟ์สตรีม จะเป็นการโชว์เกี่ยวกับข่าวสารล่าสุดจากทางผู้พัฒนาต่างๆ โดยรูปแบบกิจกรรม หรือการโชว์ Footage ภายในเกม ที่มักจะมีในบูธต่างๆ จะถูกทำออกมาในลักษณะของวิดีโอ และเล่นต่อกันไปเรื่อยๆ จะมีการปรับเปลี่ยน และเว้นช่องว่างเล็กน้อยเพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมวิดีโอต่างๆ ได้แบบครบถ่วน เราวางแผนที่จะมีไลฟ์สตรีมพร้อมกัน 3 ช่อง โดย 1 จะเป็นการโชว์เกมอินดี้, 1 จะเป็นการโชว์รางวัล Japan Game Awards และอีกหนึ่งจะโชว์ eSports บริษัทต่างๆ สามารถโพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ก่อนที่ไลฟ์สตรีมจะเริ่ม เพื่อบอกให้ผู้ชมรู้ได้ว่าพวกเขาจะได้เห็นอะไรในไลฟ์สตรีมที่กำลังจะมาถึง หวังว่าพวกเราจะสามารถจัดอีเวต์จริงๆ ได้ที่ Makuhari Messe ในปีหน้า น่าเสียดายที่ไม่มีประกาศออกมาด้วยว่า เราจะได้เห็นเกมอะไรบ้างในงานครั้งนี้ แต่ต้องยอมรับว่าช่วงนี้ข่าวจากทางฝั่งผู้พัฒนาญี่ปุ่นค่อนข้างเงียบเหงา ดังนั้นคิดว่าในงานปีนี้ก็ไม่น่ามีอะไรให้เราดูมากมายครับ อย่างไรก็คามต้องรอดูวันที่ 23 - 27 กันยายน อีกครั้งหนึ่ง ว่าจะมีอะไรให้เราดูในงานบ้างครับ Credit: Siliconera
20 Aug 2020
Tokyo Game Show 2020 Online จะจัดขึ้นในวันที่ 23 - 27 กันยายน 2020 นี้!
ปีนี้เรียกได้ว่า เป็นปีที่โหดร้ายสำหรับผู้จัดงานเกี่ยวกับเกมมาก เพราะในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีงานเกมมากมาย ประกาศยกเลิกไปเพราะพิษจาก COVID-19 ซึ่ง Tokyo Game Show 2020 ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง เนื่องจากผู้จัดงานบอกว่าจะมีอีเว้นท์ออนไลน์ทดแทน ล่าสุดก็ได้มีการประกาศวันที่อีเว้นท์ดังกล่าวจะถูกจัดแล้วครับ! หน้าเว็บไซต์ Official ของ Tokyo Game Show 2020 ได้ประกาศว่า งานอีเว้นท์ออนไลน์ทดแทนจะมีขึ้นในวันที่ 23 - 27 กันยายน 2020 ทั้งยังบอกด้วยอีกว่าในงานดังกล่าวจะมีการเปิดตัวเกมใหม่ๆ ทั้งจากผู้พัฒนาชื่อดัง และผู้พัฒนาเกท Indie อีกมากมาย แน่นอนว่าจะมีการไลฟ์สตรีมสดโชว์การแข่งขัน Esport ด้วยเช่นกันครับ Tokyo Game Show 2020 Online จะจัดขึ้นในวันที่ 23 - 27 กันยายน 2020 นี้ Credit: Gematsu
25 Jun 2020
Tokyo Game Show ประกาศยกเลิก และเปลี่ยนเป็นออนไลน์แทน
เซ่นโควิดไปอีกหนึ่ง สำหรับงานแสดงเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นอย่าง Tokyo Game Show ที่ล่าสุดทางผู้จัดได้ทำการประกาศยกเลิกการจัดงานในปี 2020 นี้แล้ว !! แต่ถึงอย่างนั้นงานโชว์ครั้งนี้จะถูกจัดเป็นแบบออนไลน์แทน !! คำแถลงจากผู้จัด "เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในระดับโลกและสถานการณ์ยังไม่แน่นอนในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ทางผู้จัดงานและผู้ร่วมจัดงานได้ตัดสินใจ โดยคำนึงถึงความสำคัญสูงสุดคือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้เข้าชมงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เราขอความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกท่าน" โดยรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานออนไลน์จะมีการเปิดเผยในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า Credit: kotaku ติดตามข่าวสารเกมที่น่าสนใจ คลิ๊ก!  
08 May 2020
ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ กับ งานเทศกาลใหญ่ ในแวดวงวิดีโอเกม?
คุณผู้อ่านทุกท่านเคยไป ‘งานนิทรรศการ’ กันบ้างไหม? มันออกจะเป็นคำถามที่เรียบง่ายจนเกือบจะไร้สาระ เพราะนิทรรศการ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์และศิลป์อันเป็นที่เราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี ไม่ว่าจะนิทรรศการศิลปะ นิทรรศการสินค้า นิทรรศการภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย หลากหลายทั้งในส่วนของขนาด และในส่วนของเนื้อหา ถ้าเช่นนั้น ผู้เขียนขอเปลี่ยนคำถามใหม่ … คุณ ‘รู้สึก’ อย่างไรเมื่อได้เข้าไป ‘ร่วม’ นิทรรศการเหล่านั้น? ผู้เขียนตีวงคำถามให้แคบลง แต่ก็เชื่อเหลือเกินว่าคำตอบก็น่าจะหลากหลายไม่แพ้กัน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะมีร่วมกัน คือความรู้สึก ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของการจัดแสดง ไม่ว่าจะในฐานะผู้รับชม หรือผู้ออกร้านเองก็ตาม การได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้สนใจ การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยเสรี การบรรลุข้อตกลงในทางธุรกิจการค้า นี่ต่างหาก ที่เป็นคุณค่าที่สำคัญของงานนิทรรศการ อันเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญไม่แพ้การโฆษณาในแบบปกติ [caption id="attachment_46659" align="aligncenter" width="1024"] งานนิทรรศการ E3 ที่คุ้นเคย ที่อาจจะต้องผ่านเลยไปสำหรับปี 2020 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่การมีอยู่ของมันเมื่อ 25 ปีที่แล้ว[/caption] และแวดวงวิดีโอเกมก็ไม่ต่างกัน มันเป็นงานพาณิชย์ศิลป์ที่ต้องการ ‘ความสนใจ’ และ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ไม่ว่าจะในรูปแบบของ Business to Business (B2B) หรือ Business to Customer (B2C) ก็ตาม นั่นทำให้งานนิทรรศการจัดแสดงเกมใหญ่ๆ อย่าง Tokyo Game Show, Game Developer Conference, EGX Rezzed, PAX East ไปจนถึงมหกรรม ‘ศักดิ์สิทธิ์’ ของนักเล่นเกมอย่าง Electronic Entertainment Expo หรือ E3 ยังคงดำเนินต่อไปมาจนถึงปัจจุบัน แต่มาในปีนี้ ดูเหมือนว่าบรรดางานนิทรรศการเกม กำลังเจอบททดสอบและมาถึงทางแยกที่สำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ ว่าวิกฤติการของ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ได้กระเทือนถึงการคงอยู่ของนิทรรศการวิดีโอเกมอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะด้วยการยกเลิก E3 2020, การเลื่อนกำหนดของ GDC 2020, การเลื่อนกำหนดของ EGX Rezzed 2020 และ Taipei Game Show 2020 และอีกหลายสิบงานที่ได้รับผลกระทบจากการมาถึงของเชื้อร้ายที่กำลังสร้างความตื่นตระหนกเสียขวัญให้กับผู้คนทั่วโลก และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ในเร็ววัน ลำพังแค่การยกเลิก E3 2020 ก็เรียกได้ว่าสะเทือนขวัญอย่างใหญ่หลวง เพราะนับตั้งแต่ปี 1995 นั้น ไม่เคยมีปีใดที่ Los Angeles Convention Center ในช่วงกลางปี จะขาดซึ่งสีสันของมหกรรมยักษ์ใหญ่ ที่เหล่าผู้รักในวิดีโอเกมและผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม จะได้มารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง แลกเปลี่ยน พูดคุย และได้เปิดตัวพร้อมทดสอบชิ้นงานวิดีโอเกมใหม่ ทั้งที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา และที่พร้อมจะมา Premiere เป็นครั้งแรกในงานนี้ แน่นอนว่าการยกเลิกและการเลื่อนกำหนดของบรรดานิทรรศการวิดีโอเกมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (ภายใต้สถานการณ์ที่สุดวิสัย…) แต่มันก็ก่อให้เกิดคำถามที่เกิดขึ้นในใจของผู้เขียนขึ้นมาประการหนึ่ง นั่นคือ… มันยัง ‘จำเป็น’ อยู่หรือไม่ ที่แวดวงวิดีโอเกมจะต้องมี ‘นิทรรศการ’ ใหญ่ๆ เหล่านี้? ออกจะเป็นคำถามที่สับสนและขัดแย้งกับข้อกล่าวในช่วงข้างต้นของบทความ แต่เราอาจต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งที่ว่า เสน่ห์ของงานนิทรรศการนั้น แม้จะยังคงทรงพลัง และมีคุณค่าในสายตาของพวกเราผู้บริโภค แต่สำหรับค่ายเกมยักษ์ใหญ่นั้น มันคือเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ต้องถูกใช้เพื่อจับจอง เตรียมความพร้อม เพื่อช่วงเวลาสามถึงสี่วัน ที่สูงถึงหลักร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการได้มีพื้นที่ในฮอลล์หลัก ไม่นับรวมบรรดาค่ายเล็กๆ และทีมสร้างเกมอินดี้ ที่ค่าใช้จ่ายสำหรับการออกบูธเล็กๆ นั้น แม้จะไม่สูงเท่ากับการออกบูธของค่ายใหญ่ แต่เมื่อถัวเฉลี่ยค่าตกแต่ง ค่าเช่าที่ ค่าบุคลากร ค่าอุปกรณ์ อาจจะหมายถึงเงินเก็บสะสมทั้งหมด ที่ต้องเอาออกมาใช้แทงจนหมดหน้าตัก และเฝ้าภาวนาว่าผลงานของพวกเขา/เธอ จะไปเข้าตากรรมการหรือผู้ประกอบการให้ทะยานติดปีก (ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้ ก็ต้องไปวัดดวงกันหน้างาน) เหล่านี้ เมื่อบวกรวมกับวัฒนธรรมการ Streaming ถ่ายทอดสดผ่านแพลทฟอร์มอย่าง Youtube หรือ Twitch ที่ผู้ชมสามารถเลือกรับชมได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องไปถึงสถานที่จริง มันก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นของการจัดนิทรรศการเกมนั้นถูกท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ ว่าในปีนี้ ที่ทุกอย่างต้องยกเลิก เลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ มันจะยังมีพลังและทำหน้าที่ที่งานนิทรรศการทั่วไปสามารถทำได้อยู่หรือไม่ อันที่จริง ค่ายเกมใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพเองก็ส่งสัญญาณการ ‘ตีจาก’ ให้เห็นเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็น EA ที่แยกมาจัดงานเฉพาะของตัวเอง, Nintendo ที่ถ่ายทอดสดผ่านงาน Nintendo Direct หรือแม้แต่งานอย่าง GDC และ E3 เอง ก็มีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Streaming ที่มีจำนวนผู้ชมมากขึ้นๆ ในแต่ละปี กระนั้นแล้ว ในทัศนะของผู้เขียน แม้จะมีปัจจัยแวดล้อมที่จะหนุนส่งให้บรรดางานนิทรรศการต้องล้มหายตายจาก มันก็ยังมีอีกมุมหนึ่ง ที่เป็นหลักฐานว่างานนิทรรศการอาจจะ ‘ไม่ตาย’ ไปตามกระแส เพราะดังที่กล่าวไป เป้าประสงค์ของงานนิทรรศการก็คือการ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างกัน ไม่ว่าจะระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค หรือบริษัทกับคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝั่งผู้บริโภค ที่เป็นปลายน้ำสุดท้ายที่ชิ้นงานเกมจะต้องเดินทางไปถึง และงานนิทรรศการ ก็คือตัวจักรสำคัญที่จะช่วยผลักการตัดสินใจของผู้บริโภคในขั้นสุดท้ายก่อนที่ชิ้นงานจะวางจำหน่ายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการมีอยู่ของนิทรรศการเกมนั้น ไม่ได้มีส่งผลต่อค่ายพัฒนาและผู้จัดจำหน่าย แต่หมายรวมถึงกิจการต่างๆ ของพื้นที่ในการจัดงานเหล่านั้น ไม่ว่าจะบริการด้านสถานที่พัก สถานประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการหมุนเวียนของเม็ดเงินและเศรษฐกิจให้สะพัดมากยิ่งขึ้น การขาดไร้ซึ่งงานนิทรรศการ ย่อมส่งผลกระทบต่อการมีอยู่ของกิจการต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอาจจะไม่พร้อมเสี่ยงที่จะยกเลิกงานเหล่านี้ในเร็ววัน มาถึงวรรคนี้ ย้อนกลับไปที่คำถามเรื่องความจำเป็นของงานนิทรรศการแวดวงวิดีโอเกม มันอาจจเร็วเกินไปที่จะสรุป แต่สิ่งที่เคยเป็นเพียงแค่คำถาม ก็จะได้โอกาสที่จะทำการทดสอบอย่างจริงจัง เมื่อโลกแห่งแวดวงวิดีโอเกมจะไม่มีนิทรรศการ หรือมี แต่ถูกเลื่อนออกไปสู่ทางเลือกใหม่ มันจะได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นใด [caption id="attachment_46674" align="alignnone" width="1000"] ก็ได้แต่หวังว่า Tokyo Game Show 2020 สถานการณ์วิกฤติ COVID-19 จะทุเลาเบาบางจนสามารถจัดงานได้ตามปกติ...[/caption] แต่ก็ดังที่กล่าวไปข้างต้น ผู้เขียนยังคงเชื่อในพลังของงานนิทรรศการ ตราบเท่าที่มันยังคงฟังก์ชันหลักของมัน มันก็ยากที่อุปกรณ์สำคัญชิ้นนี้ จะร้างลาห่างหายไป เพราะ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างผู้คน และการลองดูกับมือเห็นกับตา โดยเฉพาะแวดวงวิดีโอเกม ก็ยังทรงคุณค่า และมีพลังมากกว่าเพียงแค่การถ่ายทอดสด อยู่หลายร้อยหลายพันเท่า
22 Mar 2020
[TGS2019] พูดคุยกับคุณ Shuhei Yoshida ผู้อยู่เบื้องหลังเกม Exclusive ทั้งหมดของ Sony!
ในงานมหกรรมเกมสุดยิ่งใหญ่ Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา ทีมงาน GameFever TH ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์คุณ Shuhei Yoshida (ชูเฮย์ โยชิดะ) ประธานบริษัท Sony Interactive Entertainment Worldwide Studios (SIE WWS) ผู้รับผิดชอบเหล่าเกม First-Party อันยอดเยี่ยมทั้งหมดของค่ายในยุค PS4 นี้ โดยทีมงานได้ร่วมพูดคุยกับคุณ Shuhei ในประเด็นน่าสนใจต่างๆ ทั้งแนวคิดที่บริษัทใช้ในการสร้างเกมระดับท๊อปออกมาติดๆ กัน การเล่นเกมเถื่อน การสร้างเกม Remake/Remaster การเซนเซอร์เนื้อหาเกม และการเปลี่ยนแปลงไปของตลาดเกมญี่ปุ่นอันเป็นบ้านเกิดของ Sony นั่นเอง จะเข้มข้นแค่ไหน ไปอ่านกันได้เลย!  ถาม: ในขณะนี้ SIE ยังคงเสาะแสวงหาค่ายผู้พัฒนาเก่งๆ มาช้วยสร้างเกม Exclusive อยู่หรือไม่ ก็ยังคงมองอยู่เรื่อยๆ นะ แต่อาจจะไม่ได้จริงจังขนาดนั้นในตอนนี้ ถ้าคุณลองสังเกตประวัติการรับบริษัท 3rd Party (ค่ายพัฒนาอิสระที่ไม่ได้สังกัดกับผู้จัดจำหน่ายใด) อาจจะจำได้ว่าบริษัท 3rd Party ค่ายสุดท้ายที่เรารับเข้ามาก็คือ Media Molecule (ผู้สร้างเกม LittleBigPlanet) ก่อนหน้านั้นก็มี Guerilla Games, Naughty Dog, Sucker Punch, และล่าสุดก็คือ Insomniac ซึ่งทุกค่ายล้วนเป็นค่ายที่บริษัท SIE เคยมีผลงานที่ประสบความสำเร็จร่วมกันมาก่อนจะถูกรับเข้ามาเป็นค่าย 1st Party ทั้งสิ้น โดยบริษัท SIE มั่นใจแล้วว่าค่ายเหล่านี้มีศักยภาพมากพอ และมีความสัมพันธ์อันดีในฐานะคู่ค้ากันอยู่แล้วด้วย Insomniac (ผู้สร้าง Marvel’s Spider-man) เองก็เป็นแบบนี้เช่นกัน เราและค่ายเคยร่วมสร้างเกมกันมานานตั้งแต่เกม Spiro the Dragon ในปี 1998 เพราะฉะนั้นเราจึงมีความสัมพันธ์ในฐานะผู้พัฒนาและผู้จัดจำหน่ายกันยาวนานกว่า 20 ปีแล้ว ยิ่งพอเห็นความสำเร็จของเกมยุคหลังๆ มาอย่าง Ratchet & Clank และ Marvel’s Spider-man เราเลยรู้สึกว่าควรจะยกระดับความสัมพันธ์ให้เค็มรูปแบบมากขึ้น ถาม: เกม Exclusive ของค่าย SIE ที่วางจำหน่ายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหลายเกมที่ถูกจัดให้เป็นเกมยอดเยี่ยมอันดับต้นๆ ของยุค ไม่ว่าจะเป็น God of War, Marvel’s Spider-man, Uncharted, ฯลฯ คุณมีวิธีการใดในการคงคุณภาพของเกม First Party ของค่ายให้อยู่ในระดับสูงขนาดนี้ และจะทำอย่างไรให้ค่ายรักษามาตรฐานของเกม 1st Party ต่อไปได้ในอนาคต   แน่นอนว่าค่ายมีเกมที่ประสบความสำเร็จอยู่หลายเกม และก็มีเกมที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จขนาดนั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา ในความเป็นจริงแล้วค่ายมีเกมที่เริ่มพัฒนาไปแล้วและถูกยกเลิกกลางคันหลายเกมมากๆ ในกระบวนการเริ่มพัฒนาเกมนั้น เมื่อทีมสร้างคอนเซปต์หรือแนวคิดที่น่าสนใจขึ้นมา พวกเขาก็จะต้องลองสร้างโครงต้นแบบขึ้นมาเพื่อพิสูจน์ว่าสามารถสร้างคอนเซปต์นั้นได้จริง โดยเฉพาะสำหรับเกมที่เป็น IP ใหม่ โดย SIE มีแนวคิดว่าถ้าผู้พัฒนารู้แน่นอนว่าจะสามารถทำได้ นั่นหมายความว่าพวกเขายังตั้งเป้าไว้ไม่สูงพอ เราต้องการให้ IP ใหม่ๆ ทั้งหมดของค่ายทำในสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เราจึงจำเป็นต้องรอให้เกมพัฒนาไปถึงจุดๆ หนึ่งก่อนที่เราจะบอกได้ว่าคอนเซปต์ที่ทีมคิดขึ้นจะทำได้จริงหรือไม่ ทำให้ในความเป็นจริงมีเกมหลายเกมของค่าย SIE ที่พัฒนาไปแล้วไกลมากๆ แต่แค่ไม่เคยมีใครรู้เพราะถูกยกเลิกไปเท่านั้นเอง นอกจากนี้ ค่าย SIE ยังมีความเชื่อว่าช่วง 6 เดือนสุดท้ายของการพัฒนาเกมเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เกมๆ หนึ่งอาจจะดูเหมือนพัฒนาเสร็จแล้วตั้งแต่ 6 เดือนก่อนวางจำหน่าย ที่เราเรียกกันว่าช่วง Alpha หรือ Beta แต่ในความเป็นจริงแล้วเกมเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงการเติบโตเท่านั้น เกมส่วนใหญ่จะเริ่มมีพัฒนาการในส่วนของประสบการณ์ผู้เล่นอย่างก้าวกระโดดในช่วงมไม่กี่เดือนสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงที่ค่ายให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ ยิ่งเกมใหญ่หรือมีเวลาเล่นยาวก็ยิ่งต้องใช้เวลา ซึ่งผมไม่ได้พูดถึงแค่การแก้บั๊กเท่านั้น แต่พูดถึงการขัดเกลาและเจียระไนองค์ประกอบต่างๆ ของเกมให้สมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะสำหรับเกมแนวโลกเปิด (Open-World) ซึ่งท้าทายมากๆ เพราะฉะนั้นเกมๆ หนึ่งอาจจะมีสภาพที่ดูเหมือนเสร็จแล้วก่อนวันวางจำหน่ายเป็นปีเลยก็ได้ ค่ายจึงกำชับให้ผู้พัฒนาต้องวางแผนและจัดตารางเวลาการพัฒนาเผื่อช่วงการขัดเกลานี้ด้วย ที่ผ่านมานั้น ค่ายเคยทำพลาดตรงการประกาศวันวางจำหน่ายเกมเร็วเกินไป ซึ่งส่งผลให้เราต้องเลื่อนวันวางจำหน่ายเกมในภายหลังบ่อยๆ เช่นกัน แต่ในช่วงเร็วๆ นี้เราก็เริ่มประกาศเลื่อนวันวางจำหน่ายน้อยลง เราเข้าใจว่าการประกาศวันวางจำหน่ายเกมอาจจะช่วยในการสร้างความตื่นเต้นสนใจในหมู่ผู้เล่น แต่ถ้าประกาศเร็วเกินไปก็อาจจะส่งผลต่อขั้นตอนการขัดเกลาเกมที่พูดถึงข้างต้นได้ หลังๆ มาเราจึงเลี่ยงการประกาศวันวางจำหน่ายเกมจนกว่าผู้พัฒนาจะมั่นใจเต็มที่ว่าจะสามารถสร้างเกมให้สมบูรณ์ทันเวลาได้ เราอาจจะมีการตั้งระยะเวลาที่ต้องการจะวางจำหน่ายเกมไว้หยาบๆ แต่ถ้าผู้พํฒนาบอกว่าต้องการเวลาเพิ่มเราก็ยินดีจะเลื่อนได้เพื่อแลกกับคุณภาพที่เพิ่มขึ้นของเกม ซึ่งตรงจุดนี้ก็ต้องเอ่ยชมคณะบริหารของ SIE ด้วยที่มีความเข้าใจกระบวนการพัฒนาเกม เกมที่ได้รับความนิยมมากๆ ในทุกวันนี่มักจะเป็นเกมที่มีลักษณะเป็นเกม Multiplayer (เล่นหลายคน) ที่เข้าถึงง่าย เล่นแปบเดียวจบเป็นตาๆ ไปอย่าง Fortnite หรือ PUBG คุณคิดว่านี่คือการสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของเกมเมอร์ยุคปัจจุบันไหม SIE มีแผนจะเปลี่ยนแปลงแนวเกม Exclusive ของค่ายเพื่อรองรับความนิยมของผู้เล่นหรือไม่ ผมและบุคคลในวงการเกมหลายๆ คนมีความเชื่อมั่นในแนวคิดที่ว่าอุตสาหกรรมเกมต้องการแนวเกมที่หลากหลายสำหรับผู้เล่นที่หลากหลาย ผู้เล่นที่นิยมเกม Singleplayer ที่เน้นการติดตามเนื้อเรื่องก็มีไม่ต่างจากผู้เล่นที่ชอบเกม Multiplayer สั้นๆ  ในส่วนของการสร้างเกม Exclusive นั้น การสร้างเกมซักเกมให้เสร็จเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว และการสร้างเกมที่ยอดเยี่ยมก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะต้องใช้เวลา ความพยายาม และเคมีภายในทีมพัฒนา กว่าจะสามารถร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ผู้พัฒนาแต่ละทีมก็มีความชำนาญไม่เหมือนกัน คุณอาจจะมองว่า Naughty Dog สามารถสร้างเกมแอคชั่นผจญภัยบุคคลที่สามได้เก่งมาก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าค่ายจะสามารถสร้างเกมต่อสู้ (Fighting) ที่ยอดเยี่ยมได้ เพราะมันต้องใช้ความสามารถและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เราจึงหลีกเลี่ยงการให้ทีมพัฒนาทำในสิ่งที่ไม่ถนัด แต่ถ้าทีมพัฒนามีไอเดียที่น่าสนใจเราก็อยากให้เขาได้ลองทำนะ เรามีความเชื่อว่าผู้เล่นทุกวันนี้ต้องการเกมที่จะใช้เวลากับมันได้เยอะๆ เห็นได้จากการที่เกมหลายๆ เกมทุกวันนี้มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อก่อน แถมทุกวันนี้ผู้เล่นก็คาดหวังให้เกมต้องมีเนื้อหาเพิ่มขึ้นตลอดเวลาผ่านการอัพเดท กระทั่งในเกมเล่นคนเดียวก็ตาม ซึ่งตรงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงในความคาดหวังของผู้เล่นที่เรายอมรับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องทำตามเทรนด์ เพราะมุมมองของบริษัทคือถ้าคุณเริ่มตามเทรนด์ นั่นหมายความว่าคุณก็สายไปซะแล้ว คุณเคยมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกม Legend of Dragoon เมื่อหลายปีมาแล้ว คุณรู้สึกอย่างไรบ้างเมื่อได้ยินข่าวลือว่าเกมอาจจะได้รับการ remake อีกครั้งในเร็วๆ นี้? เอ๊ะ มีข่าวลือแบบนี้ด้วยเหรอ (หัวเราะ) เอาจริงๆ ว่าการจะสร้างเกมแบบ Remaster หรือ Remake เป็นงานหนักมาก การ Remaster เกมอาจจะง่ายกว่า เพราะเราสามารถใช้กราฟฟิคเดิมๆ แต่พัฒนาความคมชัดและความลื่นไหลขึ้นเฉยๆ ในขณะที่การ Remake เกมนั้นเรียกว่าเป็นงานช้างเลยก็ได้ เพราะต้องสร้างทุกอย่างใหม่ทั้งหมด ดูอย่างเกม Final Fantasy VII Remake ซึ่งเป็นผลงานที่น่าทึ่งมาก หรือเกม RE2 Remake ซึ่งเป็นผลงานใหญ่ของ Capcom เลยทีเดียว ผมเองกอบเกม Remake นะ แต่ต้องยอมรับตรงๆ ว่ามันไม่ได้ง่ายอย่างที่หลายคนคิด  แม้ว่าผมจะเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับเกม Legends of Dragoon มาก่อน แต่ด้วยความที่เกมมีขนาดใหญ่ไม่แพ้เกม Final Fantasy VII ภาคดั้งเดิมที่ต้องใช้แผ่นซีดีถึง 4 แผ่นในการเล่น การจะสร้างเกมฉบับ Remake อย่างที่เกมสมควรได้รับจึงถือเป็นงานที่ใหญ่และท้าทายมาก และไม่ใช่อะไรที่นึกจะทำก็ทำได้ง่ายๆ แน่นอน แถมเกมเมอร์สมัยนี้ก็ดูออกเวลาที่ผู้พัฒนาทำงานลวกๆ และมักจะผิดหวังกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ SIE ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเด็ดขาด ประเด็นการเซ็นเซอร์เกมเป็นหนึ่งในประเด็นที่ PlayStation มักจะถูกตำหนิในปีที่ผ่านมา โดยมีการแสดงความเห็นโดยผู้สื่อข่าวเกมและการเผยแพร่ภาพเกมที่ถูกเซ็นเซอร์ออกมาบ่อยๆ จึงอยากถามว่า PlayStation กำลังพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เหมาะกับเด็กเล็กหรือครอบครัวมากขึ้นหรือไม่ ก่อนอื่นเลย บริษัท SIE และแพลตฟอร์ม PlayStation มีความเคารพในวิสัยทัศน์ของผู้พัฒนามากๆ แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็มีการกำหนดเรตติ้งเกมของตัวเองที่เราต้องปรับตัวตามด้วย โดยเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นขึ้นมาส่วนหนึ่งเพราะความนิยมของ Youtube และการไลฟ์สตรีม ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถเห็นเนื้อหาของเกมที่วางจำหน่ายในประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในสมัยก่อน เราจึงต้องระมัดระวังมากขึ้นในการเผยแพร่เนื้อหาเกมที่อาจจะถูกรับชมโดยผู้เล่นจากประเทศอื่นๆ ที่มีกฏห้ามด้วย พูดง่ายๆ ก็คือแม้ว่าเราจะยึดระบบเรตติ้งของประเทศนั้นๆ เป็นมาตรวัด แต่เราก็ต้องปรับเนื้อหาของเกมเผื่อในกรณีที่เกมนั้นๆ อาจจะถูกผู้เล่นในประเทศอื่นเห็น ซึ่งประเทศนั้นๆ อาจจะมีกฏห้ามที่ประเทศอื่นไม่มีนั่นเอง คุณชอบเกม Exclusive ของ SIE เกมไหนมากที่สุด  เป็นคำถามที่ผมมักจะถูกถามบ่อยๆ นะ ซึ่งทุกครั้งผมก็จะตอบว่าเป็นเกม Journey เพราะผมประทับใจมากที่เกมที่มีทีมสร้างไม่ถึง 20 คนอย่าง ThatGameCompany สามารถสร้างเกมที่เล่นให้จบได้ใน 2-3 ชั่วโมง แต่กลับสามารถสร้างความรู้สึกต่างๆ นาๆ ให้ผู้เล่นได้มากขนาดนั้น แถมเกมยังได้รับรางวัล Best Game of the Year (เกมยอดเยี่ยมประจำปี) จากเวทีต่างๆ มากมาย คิดดูว่าเกมความยาว 3 ชั่วโมงสามารถเอาชนะเกมระดับ AAA ทุกเกมในปีนั้นเลยนะ! เกม Exclusive ที่เด่นที่สุดของ SIE หลายๆ เกมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาล้วนเป็นผลงานของผู้พัฒนาฝั่งตะวันตกแทบทั้งสิ้น อยากถามว่าเกมเหล่านี้ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นเหมือนกันไหม? SIE มีวิธีสร้างความสนใจให้เกมเมอร์ญี่ปุ่นอย่างไรบ้าง? รสนิยมของเกมเมอร์ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน? คำตอบของคำถามสุดท้ายคือใช่ เมื่อก่อนนี้เกมฝั่งตะวันตกมักจะทำยอดขายได้ไม่ดีนักในญี่ปุ่น แต่เกมเมอร์รุ่นใหม่ทุกวันนี้ไม่มีปัญหานี้อีกต่อไป พวกเขาสามารถสนุกกับเกมอย่าง Call of Duty, PUBG, หรือ Dead by Daylight ได้โดยที่ไม่สนใจอีกต่อไปว่าเกมเหล่านี้พัฒนาโดยชาวตะวันตก ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องความแตกต่างของยุคสมัยนะ เพราะเหล่าเกมเมอร์รุ่นเดียวกับผมก็ยังคงเฝ้ารอการมาของ Final Fantasy หรือ Dragon Quest ภาคใหม่อยู่ตลอด ในส่วนของเกม SIE นั้น เกมของค่ายมักจะขายไม่ค่อยดีในญี่ปุ่นมานานเหมือนกัน แม้ว่าเกมเมอร์ทั่วโลกจะยอมรับว่าเกมเหล่านั้นยอดเยี่ยมแค่ไหนก็ตาม แต่หลังๆ มานี้แม้แต่เกม Exclusive ฝั่งตะวันตกอย่าง Detroit: Become Human, Marvel’s Spider-man, หรือ Horizon: Zero Dawn ต่างก็ทำยอดขายในญี่ปุ่นได้ในระดับที่น่าพอใจ ส่วนหนึ่งต้องชมทีมแปลเกมที่รักษามาตรฐานงานได้สม่ำเสมอ แต่เหตุผลจริงๆ ก็คือการเปลี่ยนแปลงไปของเกมเมอร์ชาวญี่ปุ่นเองที่เปิดใจยอมรับเกมจากตะวันตกมากขึ้นด้วย  เกม Exclusive ของ SIE ในช่วงปีหลังๆ ดูจะมีเกม Remake และ/หรือ Remaster อยู่หลายเกม ถ้าคุณสามารถเลือกเกมมา Remake/Remaster ได้เกมหนึ่ง คุณจะเลือกเกมอะไร ผมมักจะได้ยินข้อเรียกร้องจากแฟนๆ ให้นำเกมมาสร้างใหม่บ่อยมากๆ อย่าง Legends of Dragoon ก็เป็นเกมหนึ่งที่มีคนขอเข้ามาบ่อย SOCOM ก็อีกเกม PlayStation All-Stars ก็มีเยอะ มีคนส่วนน้อยๆ ที่เรียกหาเกม Ape Escape ซึ่งผมเคยเป็นโปรดิวเซอร์ด้วย จริงๆ เกม Ape Escape เป็นเกมแรกๆ ที่ผมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย ฉะนั้นถ้าต้องเลือกซักเกมผมก็คงเลือก Ape Escape นี่แหละ คงไม่ได้ทำจริงๆ หรอก แต่ถ้าเกมได้รับการสร้างใหม่ในระดับเดียวกับ Crash Bandicoot ก็น่าสนใจเหมือนกัน คุณคิดว่าคุณภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ของเกมยุคปัจจุบันมีผลให้ผู้เล่นเห็นคุณค่าของเกมมากขึ้น และเล่นเกมเถื่อนน้อยลงหรือไม่ ผมก็หวังว่าจะเป็นแบบนั้นนะ (หัวเราะ) เมื่อก่อนนี้คนมักจะทำการดูดเพลงจากแผ่นซีดีมาใส่เครื่อง MP3 กันเป็นกิจจะลักษณะ หรืออาจจะใช้โปรแกรมแชร์ไฟล์อย่าง Napster ในการโหลดเพลง ซึ่งก็ทำให้เหมือนว่าได้เพลงเหล่านั้นมาฟรีๆ แต่ถึงอย่างนั้นทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ก็เลือกจะใช้งาน Spotify มากกว่า เพราะฉะนั้นผมมองว่าความสะดวกสามารถทำให้ผู้เล่นหันมาเล่นเกมแท้ได้เหมือนกัน นอกจากนี้ เหล่าเกมเมอร์ที่เคยเล่นเกมเถื่อนส่วนใหญ่ก็โตเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว ทำให้รู้มากขึ้นว่าอะไรควรไม่ควรทำ แน่นอนว่าอุตสาหกรรมเกมเองก็พยายามหาวิธีที่จะทำให้การเล่นเกมเถื่อนทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ากลับไปสู่วงการเพลง ก็จะเห็นว่ามีค่ายเพลงใส่มาตรการป้องกันการก๊อปเพลงน้อยลงเรื่อยๆ เพราะการจ่ายค่ารายเดือนมันง่ายกว่ามาก ผมจึงเชื่อว่าความสะดวกน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้คนหันมาใช้ของแท้มากขึ้นด้วย ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
23 Sep 2019
5 สิ่งน่าสนใจจากงาน Tokyo Game Show 2019
Tokyo Game Show ถือว่าเป็นหนึ่งในงานเกมระดับโลกจากทางฝั่งเอเชีย ที่เน้นการนำเสนอเกมจากทีมพัฒนาเกมในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอย่างที่เรารู้กันว่าในปัจจุบันทีมพัฒนาเกมระดับโลกนั้นเป็นทีมพัฒนาสัญชาติญี่ปุ่นก็มีอยู่ไม่น้อย ทั้ง Capcom , Square Enix , Nintendo , Sony , Konami รวมถึงทีมพัฒนาเกมอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เมื่องานนี้เริ่มต้นขึ้นเกมเมอร์ทั้งโลกก็จับตามอง เหมือนกับงาน E3 จากทางฝั่งตะวันตก ซึ่งงาน Tokyo Game Show จัดต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยปีในปี 2019 นี้งานได้จัดขึ้นในวันที่ 14 - 15 กันยายนที่ผ่านมาใน Makuhari Messe เมืองชิบะประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าจะผ่านไปแล้วแต่ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะวันนี้เราได้นำเอาสิ่งที่น่าสนใจของานนี้มาให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบกันแล้ว โดยคัดที่เด็ด ๆ มาให้ได้ดูกัน FINAL FANTASY VII Remake ตัวอย่างเกมใหม่ และ Demo สำหรับแฟน ๆ ของเกม FF7 แล้ว นอกจาก TIFA ที่เป็นขวัญใจของใครหลาย ๆ คนแล้ว Aerith ก็ไม่ต่างกัน เพราะว่าตัวละครนี้มีความสำคัญกับตัวเกมมาก ในเวอร์ชัน Remake นั้นจากเดิมที่เป็นเพียงตัวละคร Polygon ก็สวยแล้ว(ยุคนั้น) พอเป็นเวอร์ชันนี้เรียกได้ว่าสวยขึ้นอย่างมากทั้งหน้าตาและรูปร่าง ! อีกทั้งในงาน Tokyo Game Show ปีนี้ทาง Square Enix ก็จัด Aerith แบบเต็มตัว พร้อมกับระบบการเล่นบางส่วน นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยถึงฉากสำคัญต่าง ๆ ในเกม รวมถึง Mini Game อีกด้วยแบบนี้ไม่ซื้อไม่ได้แล้ว หากอยากอ่านรายละเอียดของเกมนี้เพิ่มเติมก็สามารถอ่านได้รีวิวของ บ.ก. Gamefever ที่ได้ไปลองเล่นเกมนี้ในงานมาแล้วที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=RtnfYYlvCVA https://www.youtube.com/watch?v=0x1AGz8DwtY Demo Gameplay ของ Death Stranding หนึ่งในเกมที่สร้างความมึนงงตั้งแต่เกมการเล่นไปจนถึงเนื้อเรื่องของเกม ในช่วงนี้คงไม่มีเกมไหนจะสร้างความสับสนไปมากกว่าเกม Death Stranding จาก Kojima Production ที่รอบนี้ได้นำเสนอตัวอย่างเกมการเล่นที่แฟนๆ เกมนี้จะต้องชอบ โดยรอบนี้เฮีย Kojiama นำเสนอเกมการเล่นหลาย ๆ อย่างตั้งแต่ภารกิจส่งของ ,ระบบ Inventory, การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ,  Safe House และระบบอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าจุดใจเหล่าเกมเมอร์อย่างแน่นอน https://www.youtube.com/watch?v=HGx-kEFcznI เปิดตัว Nioh 2 หนึ่งในเกมยากปาจอยแตกที่ใครเล่นจบแล้วก็ไม่อยากจะกลับไปเล่นอีกอย่าง Nioh ที่ในตอนนี้ได้ประกาศเปิดตัวภาคใหม่อย่างเป็นทางการ ที่ยังคงแนวทางการเล่นแบบเดิมคือ น่ากลัว โหดร้ายและท้าทาย  ที่เกมเมอร์สายฮาร์ดคอน่าจะชอบเกมนี้ เพราะทางทีมพัฒนากล่าวว่าตัวเกมจะไม่มีการเพิ่มหรือลดความยากในเกม แต่จะเป็นความยากเดียวกันทั้งเกม ดังนั้นเล่นเกมนี้ไม่ผ่านก็อย่าปาข้าวของล่ะ https://www.youtube.com/watch?v=fFDnUkiZQZ0 Project Resistance - Gameplay Trailer หลังจากที่ปล่อยตัวอย่างออกมายั่วแฟน ๆ รอบนี้ทาง Capcom ได้จัดเอาเกมการเล่นมาให้ดูกันแบบเต็ม ๆ โดยเป็นไปตามที่หลาย ๆ คนคาดคือเป็นเกม 4vs1 ที่ผู้เล่นจะต้องช่วยกับในการผ่านฉากต่าง ๆ ให้ได้ ในขณะที่อีกฝั่งหนึ่งจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้เล่นอีก 4 คนทำภารกิจไม่สำเร็จ ซึ่งในรอบนี้ทาง Capcom ได้เพิ่มความเป็น Survival Horror ให้กับตัวเกมไปอีกขั้นด้วยการเพิ่มในส่วนของเวลามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่หากผู้เล่นถูกโจมตีเวลาก็จะลดลงด้วย แต่ก็สามารถเพิ่มได้ด้วยการสังหารซอมบี้และทำ Objective ในฉาก ซึ่งเมื่อมองภาพรวมแล้วเรียกได้ว่าน่าสนใจมาก ๆ https://www.youtube.com/watch?v=ASax53Pk6Mg ตัวอย่างเกม Tale of Arise เรียกได้ว่าสร้างเสียงฮือฮาให้กับแฟนเกมซีรีส์ Tale เป็นอย่างมากหลังจากที่หายไปนานเกือบ ๆ 4 ปี ในที่สุดก็ได้เปิดตัวภาคใหม่เสียทีกับเกม Tale of Arise ที่ภาคนี้ได้มีการพัฒนาหลาย ๆ ด้านทั้งเกมการเล่นรวมถึงกราฟิก ที่แฟน ๆ ของซีรีส์หลายคนถึงกับบอกว่า ซีรีส์ของพวกเขาได้เข้าสู่ยุคใหม่แล้ว แม้ตัวอย่างในครั้งนี้จะมีความยาวเพียง 1 นาทีแต่ก็สร้างความประทับใจให้กับใครหลายคน https://www.youtube.com/watch?v=q0EYv5YCKcE  
18 Sep 2019
ประวัติ Tokyo Game Show กว่าจะมาเป็นงานเกมสุดยิ่งใหญ่จากโลกตะวันออก!
Tokyo Game Show งานเกมจากแดนปลาดิบสุดยิ่งใหญ่ที่โด่งดังไม่แพ้ E3 หรือ Gamescom ด้วยยอดผู้เข้าชมในปี 2018 ที่มีจำนวนสูงถึง 298,690 คน แต่ทว่าก่อนจะมาเป็นงานเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? เนื่องในโอกาสที่งาน Tokyo Game Show 2019 ที่จัดขึ้นในวันที่ 12-15 กันยายนนี้ ทางเรา GameFever จึงรวบรวม ประวัติ Tokyo Game Show มาแนะนำให้ทุกท่านได้อ่านกัน เป็นรวมไทม์ไลน์ของงานว่าเคยมีเกมอะไรเด็ดๆมาโชว์ในงานนี้กันบ้าง ตามไปดูกันเลย! [caption id="attachment_28515" align="aligncenter" width="1024"] Mascot ประจำงาน Tokyo Game Show 2019[/caption] Tokyo Game Show คืออะไร? ก่อนจะไปลุยประวัติ เรามาพูดถึงงานกันคร่าวๆก่อน Tokyo Game Show จัดขึ้นทุกปีที่ศูนย์ประชุมแสดงนิทรรศการ Makuhari Messe จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยศูนย์ประชุมนี้นั้นกว้างถึง 72,000 ตารางเมตร และมีผู้เข้าร่วมงานหลักแสนทุกปี ในงานจะมีหัวใจสำคัญเป็น General Exhibition คือส่วนที่เป็นเวที สำหรับเปิดตัวเกมหรือให้บุคลากรจากบริษัทเกมต่างๆมานำเสนอ ร่วมกับส่วนที่เป็นโซนทดลองเล่นเกมต่างๆมากมาย ควบคู่ไปกับการตกแต่งบูธที่อลังการ ไม่ได้มีเพียงเกมบนคอมพ์หรือคอนโซลเพียงอย่างเดียว เกมโทรศัพท์ก็มีการจัดแสดงด้วยในงานนี้ มีโซนเกม VR, โซนเกม Indie และอีกโซนหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเหมาะกับทุกเพศทุกวัยคือโซน Family Game Park เน้นขายเกมครอบครัว เล่นกับเพื่อนได้ นอกจากเกมก็ยังมีพวกขายของต่างๆ ทั้งของที่ระลึกจากเกม ไปจนถึงคอมพ์เครื่องใหม่ จอย หูฟัง หรือเหล่าเครื่องเกมพกพา และอื่นๆอีกมากมาย การแต่งคอเพลย์เองก็ขาดไม่ได้ในงานนี้ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Tokyo Game Show ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่เหล่าเกมเมอร์ไฝ่ฝันที่จะไปเยือนซักครั้ง [caption id="attachment_28516" align="aligncenter" width="1024"] ภาพบรรยากาศ Tokyo Game Show 2017 (ที่มา: facebook.com/tokyogameshow)[/caption] กว่าจะมาเป็นงาน Tokyo Game Show ที่ยิ่งใหญ่อย่างทุกวันนี้ [caption id="attachment_28519" align="alignleft" width="324"] โปสเตอร์งาน Tokyo Game Show 1996 (ที่มา: reddit.com/r/retrogaming โดย Gaijillionaire)[/caption] Tokyo Game Show (TGS) จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 22-24 สิงหาคม 1996 โดยมีสมาคมผู้ผลิตสื่อบันเทิงและคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่น หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Computer Entertainment Suppliers Association (CESA) และ Nikkei Business Publications เป็นผู้จัดงาน แม้เป็นการจัดขึ้นครั้งแรก แต่ในงานนี้ก็มีผู้เข้าร่วมถึง 109,000 คนเลยทีเดียว มีบริษัทเข้าร่วม 87 บริษัท และมีเกม 365 เกมได้โชว์ในงานนี้ บริษัทคุ้นหน้าคุ้นตาที่เข้าร่วมก็จะมี Sony, Capcom, Sega, Namco (ยังไม่ได้รวมกับบริษัท Bandai), Konami, Square (ยังไม่ได้รวมกับบริษัท Enix) เป็นต้น นอกจากนี้ เกม Resident Evil 2 จาก Capcom และเกม Metal Gear Solid ผลงานแจ้งเกิดของ Hideo Kojima ตอนอยู่กับ Konami ก็ได้เปิดตัวขึ้นครั้งแรกในงานนี้ด้วย ในปี 1997 เป็นครั้งแรกที่มีการจัดงาน Tokyo Game Show ขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นปีและปลายปี (ฤดูใบไม้ผลิและฤดูหนาว) มีเกมมากมายมาโชว์ในงาน และมีผู้เข้าร่วม 120,000 คนในงานช่วงต้นปี โดยในปี 1997-2001 ยังคงจัดงานขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นปีและปลายปี ก่อนจะเปลี่ยนมาจัดในช่วงปลายปีอย่างเดียวเป็นปีละครั้งตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นไปจนถึงปัจจุบัน Tokyo Game Show 2005 จุดเปลี่ยนสำคัญของงาน TGS คือปี 2005 เป็นปีที่อุตสาหกรรมเกมเริ่มเติบโตขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นไปอีกขั้น มีเครื่องเล่นเกมรุ่นใหม่เปิดด้วยขึ้นในงานนี้ นั่นคือ Wii จาก Nintendo นั่นเอง เพื่องัดมาสู้กับ PlayStation 3 ที่กำลังจะมาของ Sony (ซึ่ง Microsoft ก็ไม่น้อยหน้า งัด Xbox 360 มาสู้ด้วยในช่วงท้ายปี) เนื่องด้วยตัว PlayStation 3 ก็ใกล้จะเปิดตัว ทำให้มีเกมบางเกมได้พัฒนาขึ้นบนชุดพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้บน PS3 นั่นคือ Metal Gear Solid 4: Guns of the Patriots จาก Konami เป็นการเปิดตัวครั้งแรกในงานนี้พร้อมตัวอย่างเกมเพลย์ และมีการสาธิตการเล่นแบบ Demo โดย Hideo Kojima (ซึ่งเกมนี้ก็ได้รับรางวัล Japan Game Awards 2009 ด้วย) [embed]https://www.youtube.com/watch?v=pjYE7GkZg-A[/embed] ในปีถัดไปก็ล้วนมีผู้เข้าร่วมงานมากขึ้นทุกปี จากจำนวน 185,030 คนในปี 2009 ไปจนถึง 223,753 ในปี 2012 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ยอดผู้เข้าชมเกินสองแสนคน และพุ่งสูงขึ้นอย่างถล่มทลายในปี 2013 ด้วยยอดผู้เข้าร่วมงานที่สูงถึง 270,197 คน! เพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนถึง 35%! [caption id="attachment_28520" align="aligncenter" width="960"] ภาพบรรยากาศ Tokyo Game Show 2013 (ที่มา: facebook.com/tokyogameshow)[/caption] Tokyo Game Show 2013 เหตุผลอาจเป็นเพราะ สองพระเอกในงาน TGS 2013 นี้คือ การเปิดตัวเครื่อง Xbox One และ PlayStation 4 นั่นเอง พร้อมมี Demo เกมให้เล่นอย่าง Titafall, Forza 5, Metal Gear Solid 5 และ Battlefield 4 แต่อีกส่วนที่คึกคักไม่แพ้กันก็คือเหล่า Demo เกมจากค่ายประเทศตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Monster Hunter 4 จาก Capcom, Dark Souls 2 จาก Namco Bandai, Final Fantasy XIII จาก Square Enix และ Yakuza: Ishin จาก Sega เรียกได้ว่าอุ่นหนาฝาคั่ง ไม่แปลกใจจริงๆว่าทำไมในปีนี้ยอดผู้เข้าร่วมถึงดีดได้ถึง 270,197 คน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดอุตสาหกรรมเกมที่ญี่ปุ่นก็ไม่น้อยหน้าไปกว่าที่ใดบนโลกเลยทีเดียว ในปี 2014 มียอดผู้เข้าร่วมงานร่วงลงจากปีที่แล้วเป็น 251,832 คนแต่ก็นับว่ายังเป็นตัวเลขที่สูงอยู่ดี แม้จะดรอปลงมาบ้างแต่ก็ยังมีจำนวนที่สูงกว่า 250,000 คนอยู่เสมอ โดยตัวเลขนี้ก็เป็นจำนวนผู้เข้าชมขั้นต่ำหรือจำนวนที่คาดไว้ที่ผู้จัดงานหวังจะเห็นอีกด้วย [caption id="attachment_28521" align="aligncenter" width="900"] ภาพบูท PlayStation VR ที่ Tokyo Game Show 2015 (ที่มา: stripes.com)[/caption] Tokyo Game Show 2015 งาน TGS 2015 นี้ก็เป็นอีกครั้งที่คึกคัก มียอดผู้เข้าร่วมงาน 268,446 คน โดยในงานมีทั้งการเปิดตัว PlayStation VR โดย Sony ให้เล่นในงานนี้ เป็นการบ่งบอกว่าเทรนด์ VR กำลังมา และเกมใหญ่มากมายก็ขนกันมาให้ทดลองเล่น อย่างเช่น Call Of Duty: Black Ops III, Horizon: Zero Dawn, Star Wars: Battlefront, Metal Gear Solid V: The Phantom Pain เป็นต้น [caption id="attachment_28522" align="aligncenter" width="1000"] ภาพ Hideo Kojima ขึ้นเวทีเปิดตัวเกม Death Standing ครั้งแรกที่ Tokyo Game Show 2015 (ที่มา: thegamefanatics.com)[/caption] Tokyo Game Show 2016 ในปี 2016 ก็มียอดผู้เข้าร่วมสูงถึง 271,224 คน ทุบสถิติเก่า 270,197 คนที่ทำได้ในปี 2013 ส่วนเกมน่าสนใจที่ถูกนำมาเปิดตัวในงานนี้ก็ได้แก่ Horizon: Zero Dawn ที่กลับมาโชว์ตัวอีกครั้ง, การเปิดตัวเกม Death Stranding ครั้งแรก, NieR: Automata, Final Fantasy XV, Persona 5, Resident Evil 7: Biohazard, World of Final Fantasy, The Last Guardian, Nioh เป็นต้น ในปี 2017 มียอดผู้เข้าร่วมงานร่วงลงอีกครั้งเป็น 254,311 คน แต่แล้วในปี 2018 ที่ผ่านมาก็มีการทุบสถิติอีกครั้งด้วยยอดผู้เข้าร่วมงานสูงถึง 298,690 คน! มากที่สุดเป็นประวัติการณ์! Tokyo Game Show 2018 งาน TGS 2018 ที่ผ่านมาก็มีการเปิดตัวเกมและมี Demo ให้ทดลองเล่นก่อนเกมออกเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Sekiro: Shadows Die Twice, Devil May Cry 5, Kingdom Hearts III, Catherine Full Body, Days Gone, Resident Evil 2, Jump Force และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว PlayStation Classic จาก Sony ด้วย [caption id="attachment_28523" align="aligncenter" width="750"] ภาพบูทเกม Sekiro: Shadows Die Twice ของ From Software ที่ Tokyo Game Show 2018 (ที่มา: neotokyoproject.com)[/caption] เป็นยังไงกันบ้างกับ ประวัติ Tokyo Game Show ไล่เรียงไทม์ไลน์มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเติบโตของจำนวนผู้เข้าร่วมงานและเหล่าเกมดังที่ถูกขนมาจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นค่ายเกมจากประเทศตัวเองหรืออีกซีกโลก ตลาดอุตสาหกรรมเกมที่ญี่ปุ่นไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ด้วยตัวเลขผู้เข้าชมที่สูงขึ้นทุกปี น่าตื่นเต้นจริงๆว่าหลังจบงานครั้งนี้จะทุบสถิติเดิมหรือไม่กัน! ว่าแล้วก็อย่างลืมติดตามข่าวสารงาน Tokyo Game Show 2019 จะจัดขึ้นในวันที่ 12-15 กันยายนนี้นะ บอกเลยว่าน่าสนใจแน่นอน! ถ้าอยากรู้ว่าจะมีอะไรบ้าง สามารถรอติดตามได้ที่เพจเฟสบุ๊ค GameFever ได้เลย!
13 Sep 2019
ชมคลิปเกมเพลย์ตัวละคร Dante จาก Devil May Cry 5 พร้อมข้อมูลการเล่นของตัวละคร
ในงาน Tokyo Game Show 2018 ที่ผ่านมา ผู้พัฒนา Capcom ได้เปิดตัวเดโมใหม่จากเกม Devil May Cry 5 ซึ่งให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครเอกตัวดั้งเดิมอย่าง Dante เป็นครั้งแรก! https://www.youtube.com/watch?v=QpwfNwgR9-A นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลใหม่ๆ จากเกมเปิดเผยออกมาอีกเพียบเกี่ยวกับการเล่นของดันเต้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากตัวละครตัวแรกอย่างเนโรอยู่พอสมควร ดังนี้: ดันเต้จะสามารถเปลี่ยนสไตล์การต่อสู้และอาวุธได้อย่างอิสระตลอดเวลา ปืนคู่ Ivory & Ebony จะมีเสียงเอฟเฟกในการยิง ความรุนแรง และกระสุนไม่เหมือนกัน เสื้อคลุมและผมของดันเต้ถูกสร้างมาให้พริ้วไหวไปตามการเคลื่อนที่อย่างสมจริง การใช้อาวุธ Balrog Devil Arm โจมตีใส่ศัตรูซ้ำๆ จะทำให้อาวุธเรืองแสงสีแดง ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นสามารถเข้าสู่สภาวะ Ignition ได้ ดันเต้จะมีอาวุธหลายชนิดมากๆ ซึ่งยังไม่ถูกเปิดเผยทั้งหมด ผู้เล่นจะสามารถให้ดันเต้ถืออาวุธได้ทีละเยอะๆ หรือเพียงไม่กี่อย่างก็ได้ตามความต้องการ ดันเต้จะพูดคุยกับศัตรูด้วยเวลาต่อสู้ ซึ่งผู้พัฒนาบอกว่าแฟนๆ น่าจะชอบใจกับบทสนทนา ระหว่างการแปลงร่างเป็นปีศาจ (Devil Trigger) ดันเต้จะสามารถร่อนกลางอากาศได้ ข้อมูลที่น่าตื่นเต้นอีกอย่างคือการเปิดเผยว่าเกมจะสนับสนุนการเล่น 2-3 คนด้วย โดยข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยโดยหน้ารายละเอียดเกมใน PS Store (ใน Xbox Store และ Steam ก็มี) ซึ่งบอกว่าเกมจะสนับสนุนการเล่น Multiplayer Online ด้วย Devil May Cry 5 จะวางจำหน่ายในวันที่ 8 มีนาคม 2019 สำหรับ PS4, Xbox One, PC ติดตามข่าว Devil May Cry 5 เพิ่มเติมได้ ที่นี่  
23 Sep 2018
เกมเพลย์ใหม่ Days Gone จากงาน Tokyo Game Show 2018 โชว์ความแตกต่างระหว่างการบู๊และซุ่มเงียบ
ในงาน Tokyo Game Show 2018 ทางโซนี่ได้ทำการแสดงเดโมเกมเพลย์ใหม่จากเกม Days Gone เกมซอมบี้ PS4 Exclusive เกมใหม่ล่าสุดจากค่าย Sony Bend บนเวทีประจำบูธของค่าย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการบู๊กับเหล่าซอมบี้จำนวนมหาศาลโดยตรง และการค่อยๆ เก็บศัตรูแบบเงียบๆ ด้วยระบบ Stealth นั่นเอง https://www.youtube.com/watch?v=lUizh9drzmI แม้ว่าโดยรวมจะไม่ได้เป็นข้อมูลใหม่อะไร แต่ก็ยังน่าสนใจเสมอที่ได้เห็นถึงความแตกต่างของเกมเพลย์ทั้งสองแบบที่สามารถให้ประสบการณ์ที่ต่างกันแบบคนละขั้วเลยทีเดียว แถมเกมเพลย์ในเดโมล่าสุดยังดูลื่นไหลกว่าเกมเพลย์ที่เคยปล่อยออกมาตัวก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็น่าจะทำให้ผู้เล่นที่เฝ้ารอเกมนี้อยู่สามารถวางใจในคุณภาพของเกมได้ประมาณนึง Days Gone จะวางจำหน่ายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2019 สำหรับ PS4
22 Sep 2018
ชมเกมเพลย์ใหม่ Kingdom Hearts III โชว์การต่อสู้กับบอส Aqua ด้านมืด พร้อมข้อมูลใหม่จากผู้พัฒนา
วันนี้ในเวทีโชว์ประจำบูธของ Square Enix ที่ Tokyo Game Show 2018 ได้ทำการเปิดเผยคลิปเกมเพลย์ใหม่สั้นๆ ที่แสดงให้เห็นหน้าตาของบอส Aqua ด้านมืดเป็นครั้งแรก! https://www.youtube.com/watch?v=3nJxXhLUPg4 สำหรับคนที่ไม่ทราบ ตัวละคร Aqua เป็นตัวละครจากเกมภาคสปินออฟ Kingdom Hearts: Birth by Sleep ที่เคยวางจำหน่ายไปในปี 2010 สำหรับเครื่อง PSP โดย Aqua เป็นหนึ่งในศิษย์เอกของปรมจารย์ Keyblade แห่งแสง Master Erasqus (ร่วมกับ Terra และ Ventus) ซึ่งถูกขังอยู่ในแดนแห่งความมืด (Realm of Darkness) หลังจากที่พยายามช่วย Terra จากการโดน Master Xehanort ซึ่งเป็นปรมจารย์ Keyblade แห่งความมืดเข้าสิง โดยเธอเฝ้ารอการมาของผู้กล้าแห่งแสงคนใหม่หรือ Sora ซึ่งเป็นเพียงคนเดียวที่จะพาเธอออกไปจากดินแดนแห่งนั้นได้ นอกจากนี้ ในเวทียังมีการพูดถึงข้อมูลใหม่ๆ จากเกมโดยผู้พัฒนาอีกด้วย ดังนี้: Kingdom Hearts III ถือเป็นจุดจบของเนื้อเรื่องภาค Xehanort Saga แต่จะไม่ใช่จุดจบของ Kingdom Hearts แน่นอน โดยผู้สร้างเกมคุณ Tetsuya Nomura กล่าวบนเวทีว่าอยากจะเล่าเรื่องราวของ Sora ต่อไปในอนาคต มินิเกม Gummi Ship ถูกสร้างโดยทีมเฉพาะทางกว่า 20-30 คน และจะมีให้เล่นสองโหมดด้วยกันคือ Exploration และ Cardboard โดย Exploration จะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสำรวจจักรวาล Gummi ในแผนที่ Open-world ขนาดใหญ่ ในขณะที่ Cardboard จะเป็นโหมดที่ให้ผู้เล่นสามารถใช้ไอเทมต่างๆ ในการสร้างยาน Gummi Ship ของตัวเองได้ Kingdom Hearts III จะมีมินิเกมให้เล่นมากกว่า 20 ชนิด เกมจะมีฉากคัตซีนลับด้วย แต่ค่ายยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเผยคัตซีนดังกล่าวด้วยวิธีใดเพื่อหลีกเลี่ยงการสปอยให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เงื่อนไขในการปลดล๊อคยากขึ้น แต่อาจจะใช้วิธีปล่อยเป็น DLC ออกมาภายหลังแทน การเล่นในโหมดออนไลน์จะได้รับพิจารณาหลังจากที่พัฒนาโหมดเนื้อเรื่องของเกมให้เสร็จซะก่อน โดยทีมพัฒนากำลังอยู่ในขั้นตอนการเสนอไอเดียสำหรับโหมดออนไลน์ ผู้พัฒนาเผยอายุของตัวละครต่างๆ ออกมาดังนี้: Terra: 20 ปี Aqua: 18 ปี Ventus: 16 ปี Young Xehanort: 18-20 ปี Master Xehanort: 80 กว่าปี หนึ่งในผู้กำกับเกมคุณ Tai Yasue เผยว่าเกมจะมีโลกจากหนังดิสนี่ย์ต่างๆ มากกว่า 10 โลก Kingdom Hearts III จะวางจำหน่ายในวันที่ 29 มกราคม 2019 สำหรับ PS4, Xbox One (ขอบคุณ Gematsu สำหรับคลิปและคำแปลข้อมูล)
22 Sep 2018
Resident Evil 2 Remake: พรีวิวเกมเพลย์ Claire Redfield จากงาน Tokyo Game Show 2018
ตั้งแต่สมัยยังละอ่อน ผู้เขียนก็เป็นเกมเมอร์เด็กขี้กลัวที่ไม่ค่อยถนัดเกมแนว Survival Horror เลยเพราะกลัวเกินกว่าจะสนุกกับมันได้ ในขณะที่เพื่อนๆ ของผู้เขียนต่างก็สนุกสนานกับเกม Resident Evil 2 (สมัยนั้นยังเรียก Biohazard กันอยู่เลย) ผู้เขียนก็มักจะปลีกตัวไปเล่นเกมอื่นคนเดียวแทน ผ่านเวลามากว่า 20 ปี ในตอนนี้ผู้เขียนเองก็มีภูมิต้านทานต่อเกมน่ากลัวมากขึ้นพอสมควร พอได้มีโอกาสมาถึงงาน Tokyo Game Show 2018 ทั้งที จะไม่ลองเล่นเกมยอดนิยมอย่าง Resident Evil 2 Remake ก็กระไรอยู่ แถมยังได้ข่าวมาว่าในงานจะเปิดให้ลองเกมเพลย์ฝั่ง Claire Redfield เป็นครั้งแรกอีกด้วย ผู้เขียนก็เลยกัดฟันเดินตรงเข้าไปในบูธเดโมของ Capcom ที่สร้างขึ้นมาให้เหมือนกับสถานีตำรวจ R.P.D. ในเกมนั่นเอง ทันทีที่เดินผ่านประตูสถานีตำรวจที่เต็มไปด้วยถุงเก็บศพ ก็มีทีมงานประจำบูธแต่งตัวชุด Claire เดินมาต้อนรับ พร้อมกับอธิบายว่าผู้เขียนมีเวลาเล่นเกมเพียงห้านาทีเท่านั้น! และถ้าตายก่อนหมดเวลาจะถือว่าหมดสิทธิ์เล่นต่อทันที! (เข้าใจแหละเพราะผู้เขียนเองก็ต้องเข้าแถวเป็นชม.อยู่กว่าจะได้เข้าไปเล่น...) เดโมในงานเปิดให้ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะเล่นฝั่ง Claire หรือ Leon โดยเดโมของ Leon นั้นจะเป็นตัวเดียวกับที่เปิดให้เล่นในงาน PSX 2018 ที่เมืองไทย (อ่านพรีวิว ที่นี่) ในส่วนของเดโม Claire นั้น ผู้เขียนได้รับทราบก่อนจะเลือกว่าจะไม่มีศัตรูที่เป็นซอมบี้ธรรมดาให้สู้ แต่จะมีเพียงบอส William Birkin ให้สู้เพียงตัวเดียว ได้ยินแล้วก็แอบใจแป้วนิดๆ เพราะบอสตัวนี้คือตัวการที่ทำให้ผูัเขียนขยาดเกม Horror ไปเลยตอนเป็นเด็ก... อย่างที่เคยเห็นในภาพข่าวที่ผู้พัฒนาปล่อยออกมาก่อนหน้านี้ เดโมของฝั่ง Claire จะให้ผู้เล่นได้ต่อสู้กับบอส Birkin ในฉากทางระบายน้ำใต้ดิน ซึ่งต้องขอชมผู้พัฒนาที่แปลงฉากใต้ดินจากเกมดั้งเดิมออกมาได้น่ากลัวไม่แพ้สมัยผู้เขียนเป็นเด็กเลย หลังจากที่เดินสำรวจได้ซักพัก แอบมีสะดุ้งบ้างในจังหวะที่ท่อน้ำตามฉากพ่นไอน้ำออกมา ผู้เขียนก็พบกับคัตซีนสั้นๆ (ซึ่งทีมงานบูธบอกให้กดข้ามเพื่อรักษาเวลา) ก่อนที่จะถูกส่งเข้าไปเผชิญกับ Birkin ทันที ด่านของบอส Birkin ถูกออกแบบมาให้เป็นทางเดินแคบๆ ที่มีทางแยกออกไปประปรายตามทาง บางทีก็เป็นทางตัน แต่บางทีก็มีไอเทมอย่างกระสุนหรือยาเขียวให้เก็บบ้าง ซึ่งคนที่เคยเล่นเกมภาคดั้งเดิมอาจจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้เขียนที่เคยเห็นฉากนี้ผ่านๆ แค่ประปราย ถือว่าฉากช่วยขับอารมณ์ความสิ้นหวังและกดดันได้ดีมากๆ ประมาณว่าเราไม่มีที่ไหนให้หนีได้จริงๆ ผู้เขียนรีบชักปืนยิงระเบิด Grenade Launcher ออกมาก่อนเป็นอย่างแรก (ในเดโม Claire จะได้รับปืนระเบิด ปืนกลสั้น และปืนลูกโม่) และบรรจงอัดระเบิดใส่หน้า Birkin รัวๆ จนหมดตัวเลย ซึ่งดูเหมือนจะพอสร้างความเสียหายได้บ้าง แต่ก็ยังไม่พอจะล้มบอส ที่ยังคงค่อยๆ เดินเข้ามาหาผู้เขียนทีละนิดๆ หลังจากที่ชักปืนกลออกมายิงไปได้ซักพัก ลูกตาลูกใหญ่ตรงไหล่ของบอสก็เปิดขึ้น ผู้เขียนไม่รอช้ารีบชักปืนลูกโม่ออกมาเล็งลูกตสทันที ในส่วนของเกมเพลย์การยิงปืนไม่ได้ต่างจากของ Leon โดยผู้เล่นจะต้องกด L2 ค้างไว้ซักพักก่อนที่เป้าเล็งจะหดตัวลงมาแคบพอที่ผู้เขียนจะยิงปืนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เกมยังคงความกดดันจากภาคดั้งเดิมไว้ได้แม้จะเปลี่ยนมาเป็นระบบการยิงแบบ Third-person (มุมมองบุคคลที่ 3) หลังจากที่เล่นวิ่งไล่จับไปได้อีกแปบนึง (และอัดกระสุนลูกโม่เข้าตาบอสจนหมดตัว) ในที่สุดผู้เขียนก็สามารถพิชิตบอส Birkin ลงได้ทันกำหนดเวลา จนพนักงานบูธถึงกับเอ่ยปากชมฝีมือเลยทีเดียว (ไม่ได้โม้นะจะบอกให้) ก่อนจะนำผู้เขียนออกไปนอกบูธ โดยรวมแล้วประสบการณ์การสู้บอส Birkin ครั้งนี้ถือว่าดีกว่าครั้งแรกที่ผู้เขียนเจอเมื่อ 20 ปีที่แล้วแน่นอน ถ้าถามว่ายังน่ากลัวอยู่ไหมก็คงต้องตอบว่าน่ากลัวจริงๆ ด้วยองค์ประกอบตามฉากและระบบเกมเพลย์ที่เพิ่มความกดดันให้ผู้เล่นตลอดเวลา แม้ว่าสุดท้ายการสู้บอสจะค่อยข้างเรียบง่ายไปซักนิด อาจเพราะอาวุธครบมือ (ไม่รู้ว่าในเกมจริงจะมีปืนระเบิดให้ใช้แบบนี้ไหม) และการโจมตีของบอสที่ค่อนข้างช้า เมื่อรวมกับวิธีการควบคุมตัวละครแบบใหม่ ทำให้การวิ่งหนีออกมาตั้งหลักเพื่อยิงจุดอ่อนง่ายกว่าในภาคดั้งเดิมพอสมควร แต่ด้วยการออกแบบบอสที่มีความน่ากลัวน่าขยะแขยงก็ช่วยให้เรายังคงรู้สึกกดดันทุกครั้งที่ต้องมองบอสค่อยๆ คืบคลานเข้ามาหาช้าๆ ในระหว่างที่รอให้เป้าเล็งค่อยๆ หดลงมา ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจทีเดียวกับเดโมเกมเพลย์ครั้งนี้ ซึ่งกลบจุดอ่อนของบอสเกม Resident Evil ภาคหลังๆ (ยกเว้นภาค 7) ที่เอาความน่ากลัวแลกกับฉากแอคชั่นเท่ๆ ซะมากกว่า แถมยังเพิ่มความมั่นใจให้ผู้เขียนประมาณนึง จนตอนนี้พูดได้เต็มปากเลยว่า Day One แน่นอนเกมนี้! Resident Evil 2 Remake จะวางจำหน่ายวันที่ 25 มกราคม 2019 สำหรับ PS4, Xbox One, PC อ่านพรีวิวเกมอื่นๆ จาก Tokyo Game Show 2018 ได้ ที่นี่
22 Sep 2018
ผจญภัยในโลกกว้างไปกับเจ้าหนุ่มหมวกฟาง! - พรีวิว One Piece: World Seeker จากงาน TGS 2018
https://www.youtube.com/watch?v=sZR44R87E6U&feature=youtu.be อีกหนึ่งเกมที่พลาดไม่ได้สำหรับค่ายเกม Bandai Namco ก็คือ One Piece: World Seeker เกมแนวแอคชั่นผจญภัยแบบ Open World ที่ให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็น Monkey D. Luffy ออกตามล่าวันพีชพร้อมกับผองเพื่อน เมื่อมาเยือนถึง TGS 2018 แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะไปทดลองเล่นเกมเพื่อจะได้มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง โดยเดโมตัวที่เราเล่น เป็นตัวเดียวกับที่เคยเผยโฉมมาก่อนแล้วในงาน Gamescom 2018 ที่ผ่านมา จากที่ชมในเทรลเลอร์ต่างๆ ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษสำหรับการออกผจญภัยในฐานะ "ลูฟี่" ครั้งนี้ เพราะแทบจะเป็นครั้งแรกที่ One Piece มีเกมแบบ Open World ออกมาให้แฟนเกมได้สัมผัสบรรยากาศของการท่องไปในแกรนด์ไลน์ ทว่าพอได้ลองเล่นจริงๆ ตัวเกมกลับทำได้ไม่น่าประทับใจเท่ากับที่คาดหวังเอาไว้ สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังกับตัวเกมมากที่สุดน่าจะเป็นระบบ Open World ซึ่งถ้าเทียบกับ Marvels Spider-man ที่เป็นเกมแนวแบบเดียวกันแล้ว เรียกได้ว่า One Piece: World Seeker แทบจะไม่ติดฝุ่นไอแมงมุม ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้จะเปรียบเทียบด้านภาพ มุมกล้อง หรือเนื้อเรื่องของเกม แต่จะพูดถึงความอิสระในเกม จากที่เล่นในเดโม แทบไม่รู้สึกเลยเสียด้วยซ้ำว่าเกมเป็นระบบแบบเปิดที่เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ แน่นอนว่าลูฟี่ไม่ได้ใช้มือยางยืดตึ๋งหนืดในการเดินทางบ่อยเท่ากับสไปเดอร์แมนที่พ่นใยอยู่ตลอดเวลา แต่การเดินหรือวิ่งก็มีพื้นที่จำกัดจำเขี่ยมาก ตัวเกมมีกำแพงที่มองไม่เห็นคอยกันไม่ให้เราออกนอกพื้นที่ ชวนให้รู้สึกอึดอัด แทบไม่ต่างจากการเล่นเกมแบบเป็นด่าน ไม่เหมือน Marvels Spider-man ที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นในการชักใย ห้อยโหนและกระโจนไปไหนก็ได้ตามใจอยาก โดยไม่มีขอบเขต รวมถึงทุกสถานที่ที่ไปยังมีภารกิจยิบย่อยให้ทำ เสมือนกับว่าเราได้ไปเดินอยู่ในนิวยอร์กแล้วได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในเมืองจริงๆ ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่ One Piece: World Seeker ยังขาดไปอยู่ ส่วนการใช้มือยางยืดเพื่อการเคลื่อนที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ในการเล่นแบบ Open World ที่แผนที่ค่อนข้างกว้าง และตัวละครจำเป็นต้องมีท่าที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ทว่าในความเป็นจริงตัวเกมกลับทำระบบนี้ออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อมือที่ยืดออกไป ยืดได้ไม่ยาวพอ กะระยะยาก อีกทั้งยังใช้ได้กับวัตถุหรือสิ่งของแค่บางอย่าง เช่น ต้นไม้ หรือหอคอยเป็นต้น ไม่สามารถใช้จับขอบเนินดินแล้วปีนขึ้นได้ ต้องคอยเดินไปตามทางลาดที่เกมกำหนด ด้านการต่อสู้ "ลูฟี่" ตัวละครหลักของเราจะต้องเข้าไปสู้รบและประมือกับทหารเรือมากมาย ตัวเกมทำออกมารองรับรูปแบบการเล่นที่มีตั้งแต่การให้ Stealth ไปจนถึงการเปิดตัวด้วยการลุยดะแบบไม่แคร์ใคร สไตล์กัปตันผู้ไม่คิดมาก นอกจากนี้เกมยังถ่ายทอดความเป็นเจ้าหนุ่มหมวกฟางออกมาด้วยการใส่กิมมิคฮาๆ เข้าไปเล็กน้อย อย่างการเข้าไปแอบซ่อนให้ถังเหล้าแล้วค่อยๆ ย่องเข้าไปแบบ (ไม่) เนียน เป็นต้น ทว่าการต่อสู้ที่น่าจะเป็นจุดขายของเกมแนวแอคชั่นอย่าง One Piece: World Seeker กลับทำออกมาได้ขาดๆ เกินๆ แม้จะมีการอ้างอิงท่าต่อสู้ของลูฟี่มาจากอนิเมะหรือมังกะ อย่างฮาคิ หรือท่ายางยืดต่างๆ แต่กลับไม่ได้มีท่าที่หลากหลายมากพอในการจะสร้างคอมโบต่อสู้แบบมันส์ๆ นอกจากนี้ระบบการต่อสู้ก็ไม่ได้ไหลลื่นอย่างที่คิด ที่ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดที่สุดคือ One Piece: World Seeker ถือเป็นเกมที่เล็งเป้ายากเอาการ ทำให้การโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็พลาดเป้าได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีที่แสนจะเบสิค การโจมตีคอมโบ หรือท่าพิเศษก็ตาม นอกจากนี้ในการยืดมือออกไปจับศัตรูแล้วพุ่งไปหาก็ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่น่าสนุก ย่นระยะเวลาเดินทางไปได้เยอะ แต่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อพอพุ่งเข้าไปหาเหล่าทหารเรือแล้วกดใส่คอมโบหรือโจมตีกลับวืดไม่เป็นท่า จนกลายเป็นว่าแทบจะไม่สามารถ "ยืด จับ พุ่ง และโจมตี" ได้เลย แม้ตอนสู้กับ "อาคาอินุ" บอสในเดโม จะค่อนข้างทำให้เกมสนุกขึ้นบ้าง แต่เมื่อเทียบกับระบบการต่อสู้ของ Marvels Spider-man เกมไอแมงมุมกลับทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ ทั้งๆ ที่ Spider-man ไม่ได้มีท่าคอมโบหรือท่าที่ใช้โจมตีศัตรูมากเท่ากับท่าของลูฟี่เองเสียด้วยซ้ำ แต่กลับมีการโจมตีแบบคอมโบลื่นไหลกว่า และมันส์กว่า นอกจากนี้ตัวเกมยังขาดความตื่นเต้นและท้าทายอีก ทั้งภารกิจก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เราเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครอย่างลูฟี่ หรือเพิ่มความอินกับเนื้อเรื่องแต่อย่างใด โดยตลอดเวลาที่ตลอดเวลาที่ได้เล่นเกมประมาณ 20 นาทีก็แอบมีจังหวะที่เกิดความรู้สึกเบื่ออยู่บ่อยๆ ภารกิจที่ได้รับแทบจะไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ นอกจากเดินไปยังยอดเขาที่ตัวเกมกำหนด ค่อยๆ กำจัดทหารเรือไปทีละตัวสองตัว ตามเปิดกล่องที่กองอยู่บนพื้น แถมยังต้องค่อยๆ เดินไปตามทาง ทำให้นอกจากกำจัดทหารเรือไปเรื่อยๆ แล้วก็แทบไม่มีอะไรให้ทำอีก ที่สำคัญคือเกมขาดความสมจริง ในฐานะเกมที่มีพื้นฐานเนื้อเรื่องมาจากการ์ตูน โดยลูฟี่ที่เราเล่นใน One Piece: World Seeker สามารถถูกโจมตีด้วยกระสุนปืนธรรมดาของทหารเรือ หากจะบอกว่าทหารเรือทุกคน ทุกเมืองใช้กระสุนไคโรอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่ แม้จะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากยึดตามเรื่องจริงทั้งหมด ลูฟี่ของเราก็แทบจะเป็นอัมตะ เพราะนอกจากจะโจมตีแบบระยะไกลได้แล้ว ยังแทบไม่มีอะไรมาทำร้ายตัวละครของเราได้ แต่ตรงจุดนี้ก็ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จนไม่ค่อยอินกับตัวเกมอยู่เหมือนกัน หากจะให้รีบตัดสินว่า One Piece: World Seeker เป็นเกมที่ไม่คุ้มค่าในการเสียเวลาเล่นก็อาจจะเป็นการรีบด่วนสรุปไป ต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อเกมออกมาแบบเต็มรูปแบบแล้ว จะมีการปูเนื้อเรื่อง สร้างบรรยากาศให้เราอินกับตัวเกมได้ขนาดไหน หรือเมื่อมีเหล่าผองเพื่อนกลุ่มหมวกฟางเข้ามาร่วมจอยอาจทำให้เล่นสนุกขึ้นก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเตรียมใจเผื่อไว้หากเกมไม่ได้สนุกอย่างที่เพื่อนๆ คาดหวัง ทั้งนี้ One Piece: World Seeker จะจัดจำหน่ายให้เล่นผ่าน PlayStation 4, Xbox One และ PC ในปี 2019
22 Sep 2018
พรีวิว Jump Force จากงาน Tokyo Game Show 2018
https://www.youtube.com/watch?v=tm_-1DnNcXQ&feature=youtu.be ถ้าพูดเกมแนวต่อสู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแรงในอนาคตก็คงไม่หนีไม่พ้น Jump Force เกมแนวต่อสู้ที่รวบรวมตัวละครจากทั้งอนิเมะและมังกะของ Weekly Shonen Jump มาลงสังเวียน ต่อสู้เพื่อหาความเป็นหนึ่ง โดยเป็นเกมจากผู้พัฒนา Spike Chunsoft และผู้จัดจำหน่ายเกมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น Bandai Namco ทาง Game Fever ก็ได้เล่น Demo Jump Force ในงานTokyo Game Show 2018 มาเหมือนกัน เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง ต้องเกริ่นก่อนว่าเกมนี้มีรูปแบบเกมเป็นการต่อสู้แบบ 3 ต่อ 3 ซึ่งล่าสุดตัวเกมมีตัวละครให้เลือกกว่า 20 ตัว มาจาก 7 ซีรีส์ด้วยกัน ได้แก่ Bleach, Dragon Ball, Hunter x Hunter, Naruto, One Piece, Yu-Gi-Oh! และ Yu Yu Hakusho (มีตัวละครจาก Death Note ด้วย ทว่าจะปรากฎตัวในโหมดเนื้อเรื่องแทน) ด้านภาพ ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะได้ลองเล่น ก็เคยดู Trailer ของ Jump Force มาแล้วหลายตัว รวมถึงไปส่อง Screen Shot มาก็หลายครั้ง พอไปเล่นเองก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าทำภาพออกมาได้ค่อนข้างดี ทั้งรายละเอียดหน้าตารูปลักษณ์ตัวละคร ความสวยงามของฉาก ที่เด็ดที่สุดคือเอฟเฟ็กต์การใช้ท่าของตัวละคร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับเรากำลังได้ดูภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งพร้อมกับเล่นเกมต่อสู้อยู่ ทว่าเกมก็ยังมีปัญหาด้านการให้น้ำหนักกับภาพมากเกินไป อย่างเอฟเฟ็กต์ของตัวละครบางตัวก็ใหญ่เกินไป จนบดบังมุมมอง ทำให้เล่นเกมได้ไม่ค่อยลื่นและทำให้รู้สึกรำคาญในบางครั้งอยู่เหมือนกัน ระบบการต่อสู้ แต่เกมก็ไม่ได้ทำออกมาได้ดีขนาดนั้น แม้ภาพจะสวย แต่การต่อสู้กลับไม่ได้บู๊มันเท่าที่ควร เหมือนกับแค่กดปุ่มไปแล้วรอตัวละครระเบิดพลังออกมาใส่ศัตรูมากกว่า แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคการเล่นอะไรมากมายเหมือนกับต่อสู้แบบ Tekken ทำให้เกมถูกลดเสน่ห์ลงไปพอสมควร ถ้าให้นึกถึง Jump Force ในแง่ของการจัดแข่งขันเกมแนวต่อสู้แล้ว แทบจะนึกไม่ออกเลยว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ในภาพรวมแล้วเกมทำออกมาได้ในระดับโอเค หากเป็นเกมเมอร์ที่เป็นคอการ์ตูน อยากเล่นเกมไฟต์ติ้งสนุกๆ แบบไม่คิดอะไรมาก เกมนี้ก็อาจเหมาะ ทว่าหากเป็นแฟนเกมที่ชอบบู๊แบบจัดหนักจัดเต็ม เน้นการเล่นแบบใช้เทคนิคแล้วก็อาจจะต้องตัดสินใจดีๆ สิ่งที่เราอาจพอคาดหวังได้ก็คือ Jump Force คล้ายกับเกม J-Stars Victory VS ของ Bandai Namco ที่ออกมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีของนิตยสาร Weekly Shonen Jump เมื่อปี 2014 แล้ว จะเรียกว่าเป็นเวอร์ชันใหม่ของ J-Stars Victory VS ที่ผ่านการปรับปรุงภาพมาแล้วก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะเป็นการรวม All Star เหมือนกัน ระบบการเล่นส่วนใหญ่เท่าที่ดูคร่าวๆ ก็คล้ายกันมาก อาจคาดหวังได้ในอนาคตว่า Jump Force อาจเจริญรอยตาม J-Stars Victory VS ด้วยการนำตัวละครในเครือที่มีสเกลพลังต่างกัน หรือไม่น่ามีความสามารถในการต่อสู้ และเป็นตัวละครที่ไม่ได้มาจากอนิเมะต่อสู้ อย่าง Ryotsu คุณตำรวจป้อมยาม, Lucky Man หรือแม้กระทั่งไซคิ มางัดกับตัวละครพลังยิ่งใหญ่แบบโงกุน นารูโตะ หรือลูฟี่ ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจริงคงทำให้เกมมีมิติที่แปลกใหม่และแตกต่างจากเกมแนว Fighting อื่นๆ ของค่ายมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้ามีโหมด story เพิ่มเข้ามาอีกก็น่าลุ้นว่าตอนเกมออกมาจริงๆ จะสนุกสมกับที่แฟนๆ รอคอยกันหรือเปล่า ทั้งนี้ทาง Bandai Namco ยังประกาศเปิดตัว 4 ตัวละครใหม่ประจำ Jump Force ที่ดีไซน์โดยคุณ Akira Toriyama โดยตัวละครที่ชื่อ Glover และ Navigator จะเป็นฝ่ายพันธมิตร ส่วน Galena และ Kane จะอยู่ฝั่งศัตรู ทว่ายังไม่มีข้อมูลออกมาแน่ชัดว่าเราจะสามารถเล่นตัวละคร 4 ตัวนี้ได้หรือไม่ หากใครสนใจก็สามารถติดตามข่าวสารกันได้ โดย Jump Force จะจัดจำหน่ายผ่าน PS4, Xbox One และ PC ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019
21 Sep 2018
วิดีโอคอนเซ็ปต์ใหม่ Tales of Crestoria
ที่บูธของ Bandai Namco ในงาน Tokyo Game Show 2018 ได้มีส่วนที่จัดแสดงเกมภาคใหม่ในซีรีส์ Tales บนมือถือ ซึ่งมีชื่อภาคว่า Tales of Crestoria ทั้งนี้ส่วนที่จัดแสดงมีเพียงจุดถ่ายรูปและวิดีโอคอนเซ็ปต์ของเกมให้ดูเท่านั้น ยังไม่ได้มีรายละเอียดอื่นๆ หรือตัวเกมให้ได้ลองเล่นกัน โดยจะมีอีเวนต์ของเกมบนเวที Tokyo Game Show ในวันเสาร์ที่ 22 กันยายนนี้ ทั้งนี้บน Twitter ของ Bandai Namco ก็มีการโพสต์วิดีโอคอนเซ็ปต์ตัวนี้เช่นกัน https://twitter.com/i/status/1042356293686636544 ซึ่งรายละเอียดใน Tweet อื่นๆ ของ Bandai Namco ให้ข้อมูลว่าวิดีโอนี้เป็นความพยายามแสดงสังคมของโลกในเกม ในเนื้อเรื่องของเกม ผู้คนมีอุปกรณ์ส่วนตัวที่เรียกว่า "Vision Orbs" ซึ่งสามารถถ่ายวิดีโอและบิดเบือนการรับรู้ได้ เกมถ่ายทอดโลกที่วิดีโอจากมุมมองของใครคนหนึ่งสามารถส่งผลต่อมุมมองของคนอื่นอย่างมหาศาล และวิดีโอคอนเซ็ปต์ตัวนี้เป็นการแสดงสถานการณ์ซึ่งมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลหรือมีการย่อข้อมูล ธีมของเกมในภาคนี้คือ "บาป" และตัวละครหลักซึ่งมีบาปติดตัวนั้นมีชีวิตอยู่เพื่อปกป้องคนที่สำคัญกับตัวเอง คนที่เป็นคนรับผิดชอบภาพตัวละครหลักและวิดีโอทีเซอร์คือคุณ Yasutaka Nakata และ Kamikaze Douga ส่วนโปรดิวเซอร์ของเกมคือคุณ Tomomi Tagawa เกมจะเป็นแบบ Free-to-play แต่จะสามารถใช้เงินจริงซื้อไอเท็มบางชิ้นได้ ตอนนี้เกมเปิดให้ Pre-registration แล้ว ซึ่งหากมียอดถึงจำนวนที่กำหนดก็จะมีรางวัลให้ผู้เล่นทุกคนตามยอดด้วย https://www.youtube.com/watch?v=Joc8S2ScvUY ทีเซอร์คอนเซ็ปต์ https://www.youtube.com/watch?v=9mQZ7zBDA0Y ทีเซอร์คอนเซ็ปต์ (อีกเวอร์ชัน) แหล่งข้อมูล: animenewsnetwork.com
21 Sep 2018
พรีวิว Kill la Kill the Game
"ภาพลักษณ์น่าตื่นตาแต่มีอะไรให้ทำน้อยเกินไป" นั่นคือสิ่งที่ผมรู้สึกเมื่อได้ลองเล่นเกมครั้งแรกในงาน TGS 2018 ในฐานะแฟนอนิเมะ ผมทึ่งกับคุณภาพการดัดแปลงในครั้งนี้มาก ตัวละครและ Ragalias ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างแม่นยำและดูเจ๋งเหมือนตอนได้ดูอนิเมะครั้งแรก ภาพเวลาโจมตีและใช้สกิลทำได้เหมือนในอนิเมะ ตัวอักษรคันจิและสีสันบาดตาที่เป็นเอกลักษณ์ของอนิเมะทำออกมาได้อย่างไร้ที่ติ ต้องยกความดีให้สตูดิโอ Arc และ Trigger ที่จัดการงานศิลป์ออกมาได้ดีมาก แต่ความดีความชอบด้านงานศิลป์ก็ไม่สามารถชดเชยให้กับเกมเพลย์ที่ยังด้อยอยู่ได้ ในฐานะเกมต่อสู้จากอนิเมะแล้วนี่เป็นเกมที่เรียบง่ายมาก มีปุ่มโจมตีเพียงสองปุ่มเท่านั้น (โจมตีระยะไกล กับโจมตีระยะใกล้) กับอีกหนึ่งปุ่มโจมตีทำลายเกราะ (หรือจะเรียก Parry ก็ได้) เวลาส่วนใหญ่ของผมหมดไปกับการกดปุ่มโจมตีศัตรูเพียงหนึ่งหรือสองปุ่มเท่านั้น คอมโบจะอยู่กับการโจมตีระยะใกล้ แต่สามารถแทรกการโจมตีระยะไกลเข้าไปได้ ก็หวังว่าตัวละครที่มีให้เล่นมากขึ้นตอนเกมออกจะมีการโจมตีหรือท่าต่างๆ ที่หลากหลายกว่านี้ การต่อสู้ในสังเวียนของเกมนี้คล้ายเกมต่อสู้เกมอื่นๆ นั่นคือคุณตายเมื่อพลังชีวิตหมด เกมมีระบบแถบ Power Up ที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อต่อคอมโบได้ แต่สิ่งที่ต่างกันคือแต่ละตัวมีการเพิ่ม Power Up ที่ต่างกัน อย่างเช่น Gamagori จะมีแถบเพิ่มขึ้นมาอีกแถบหนึ่งที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเรา "ทำร้ายตัวเอง" เนื่องจากตัวละครตัวนี้เป็นพวกมาโซคิสม์ชอบความเจ็บปวด จึงได้รับ Power Up เพิ่มขึ้นเมื่อทำร้ายตัวเองจนเจ็บปวดเพียงพอ สิ่งนี้ทำออกมาในเกมได้ดีมาก ตัวละครนี้จะทำร้ายตัวเองในขณะที่สู้กับคุณอยู่เพื่อเพิ่มแถบ Power Up นั้น และใช้ประโยชน์จาก Power Up ที่ได้รับ ความแตกต่างกันระหว่างตัวละครแบบนี้น่าจะสร้างความหลากหลายได้ดีทีเดียว ระบบ Power Up ของเกมนี้สัมพันธ์กับระบบ "ท่าไม้ตาย" ตัวละครที่มีแถบ Power Up มากกว่า 50% จะสามารถใช้ท่าไม้ตายได้ ซึ่งเมื่อกดใช้แล้วผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมาเล่นเกม "เป่า ยิ้ง ฉุบ" กัน ถ้าชนะ 3 ครั้ง ผู้เล่นคนนั้นจะใช้ท่าไม้ตายได้ ซึ่งท่าไม้ตายทำภาพออกมาได้สุดยอดมาก แต่ระบบ "เป่า ยิ้ง ฉุบ" นี้ก็เข้ามารบกวนการต่อสู้ที่เรียบง่ายและรวดเร็ว สุดท้ายแล้วระบบนี้เข้ามาทำให้สิ่งที่สุดยอดมากอย่างท่าไม้ตายออกมาง่ายเกินไป โดยรวมแล้ว เราประทับใจกับงานศิลป์ของเกมนี้มาก แต่รู้สึกว่าระบบของเกมเป็นอะไรที่ตื้นเขินแต่สวยงามซึ่งเข้ามารบกวนเกมเพลย์มากเกินไป ก็หวังว่าตัวละครที่หลากหลายจะทำให้เกมมีความสมดุลมากขึ้น
20 Sep 2018
รวมรายละเอียดและเทรลเลอร์ใหม่ Devil May Cry 5 ในงาน TGS 2018
แพลตฟอร์ม​​: PS4, Xbox One, PC ผู้พัฒนา: Capcom วันวางจำหน่าย: 8 มีนาคม 2019 วันนี้ทาง Capcom ได้ปล่อยเทรลเลอร์ตัวใหม่ของ Devil May Cry 5 ออกมาในชื่อว่า Dante Trailer ซึ่งเผยเกมเพลย์และคัตซีนใหม่ของ Dante และ Nero รวมถึงเผยโฉม Trish และ Lady แบบเซอร์ไพรส์กันสุดๆ และยังมีตัวละครหน้าใหม่ชื่อว่า V เป็นตัวละครที่บังคับได้อีกตัวหนึ่ง และรายละเอียด Deluxe Edition ซึ่งมาพร้อมกับแขนกลสุดพิเศษ Rock Buster! https://www.youtube.com/watch?v=rKp1Hy0pjtw สำหรับชุด Deluxe Edition นั้นมาพร้อมกับ: Devil Breaker พิเศษ 4 แบบ Mega Buster, Gerbera GP01, Pasta Breaker, และ Sweet Surrender เปลี่ยนคัตซีนในเกมเป็นแบบใช้คนแสดงจริง Live Action Cutscene ได้ เพลงฉากต่อสู้จากภาค 1-4 จำนวน 12 เพลง เปลี่ยนเสียงพากย์ชื่อเกมในหน้าจอ Title และเสียงพากย์ Style Rank ได้ อาวุธของดันเต้ชื่อ Cavaliere R https://www.youtube.com/watch?v=t21LtTI0QHg
20 Sep 2018
คลิปเกมเพลย์เดโม Mega Man 11 ด่าน Fuse Man จาก TGS 2018
แพลตฟอร์ม​​: PS4, Xbox One, PC, Switch ผู้พัฒนา: Capcom วันวางจำหน่าย: 2 ตุลาคม 2018 ในงาน Tokyo Game Show 2018 รอบพิเศษสำหรับสื่อวันนี้ Capcom ได้เปิดให้เล่น Demo ของ Mega Man 11 ซึ่งมีด่านให้เล่นทั้งหมด 4 ด่าน ซึ่งมากกว่า Demo ที่มีให้โหลดกัน ซึ่งเล่นด่าน Block Man ได้เพียงด่านเดียว ด่านที่เพิ่มเข้ามาได้แก่ด่าน Blast Man, Fuse Man, และ Pile Man สามารถชมคลิปด่าน Fuse Man ซึ่งทีมงาน GameFever ได้ไปทดลองเล่นมาได้ด้านล่าง https://www.youtube.com/watch?v=7fF-C4jKYP4 คลิปด่าน Fuse Man https://www.youtube.com/watch?v=Ka1GVr-4I6Q คลิปสู้บอส Fuse Man ด่าน Fuse Man ค่อนข้างจะง่ายกว่าด่าน Block Man ที่มีให้เล่นกันมากทีเดียว ซึ่งเกิดจากด่านที่มีความเป็นพัซเซิลที่หากเราพลาดจะทำให้เราเสียพลังชีวิต ในขณะที่ด่าน Block Man การพลาดจะเป็นการตกเหวตายไปเลย ส่วนบอสของด่านก็ไม่ยากจนเกินไป  ผู้เล่นส่วนใหญ่น่าจะจำการโจมตีได้หลังจากสู้เพียง 1-2 ครั้ง คนที่เคยชินกับการเล่นเกมยากๆ มาในระดับหนึ่งน่าจะเอาชนะได้ไม่ยาก
20 Sep 2018
พรีวิว: Dragon Quest Builders 2 จากงาน Tokyo Game Show 2018
ถ้าพูดถึงเกมดังจากค่ายผู้พัฒนา Square Enix หนึ่งในเกมยอดฮิตในดวงใจของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นเกมแนว JRPG สุดมันส์อย่าง Dragon Quest ที่เพิ่งออกภาค DRAGON QUEST XI: Echoeds of an Elusive Age เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนที่เล่นจบไปแล้ว ต่อไปก็เป็นคิวของเกม Spin-off อย่าง DRAGON QUEST BUILDERS 2 ที่กำลังจะออกในเดือนธันวาคมปีนี้ ทาง GameFever ได้มีโอกาสทดลองเล่นเกมที่งาน Tokyo Game Show 2018 เลยอยากมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านเป็นออร์เดิร์ฟก่อนเกมออก DRAGON QUEST BUILDERS 2 เป็นเกมพิเศษที่แยกออกมาจากภาคหลัก ทว่าก็ยังคงเนื้อเรื่องหลักพร้อมภารกิจให้ทำ เรียกได้ว่าเป็นเกมลูกผสมระหว่าง JRPG และ Sand box เลยก็ว่าได้ มีหน้าตาทรงลูกบาศก์และระบบการเล่นคล้ายกับเกมดังอย่าง Minecraft ที่จะให้เราออกสำรวจโลก ฟาร์มของ เก็บทรัพยากร และสร้างสรรค์โลกขึ้นมาใหม่ในฐานะ "นักสร้าง" เนื้อเรื่องของ Dragon Quest Builders 2 จะเริ่มต่อจากฉากที่ Shidoh ตัวร้ายจาก Dragon Quest II: Luminaries of the Legendary Line (2530) พ่ายแพ้ให้แก่ผู้กล้า ในขณะที่โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความสงบสุขกลุ่ม "Hargon Order" อดีตลูกน้องของบอสตัวแรกๆ ของเกม Hargon ก็พยายามที่จะทำลายโลกอีกครั้ง พร้อมกำจัดเหล่าผู้สร้างที่สามารถกอบกู้อารยธรรมของโลกได้ [caption id="attachment_6017" align="alignnone" width="1280"] Shidoh บอสจาก Dragon Quest II[/caption] โดยเกมก็ละเอียดพอที่จะสร้างบรรยากาศเก่าๆ ให้เราหวนนึกถึง Dragon Quest II ทั้งเพลงตอนเลือกตัวละคร ลักษณะภาพในมินิแมพ รวมไปถึงบอสจากภาคเก่า เรียกได้ว่ารวบรวมความคลาสสิคที่แฟนเกม Dragon Quest จะชื่นชอบไว้อย่างครบครัน เริ่มเกมมาเราจะสามารถเลือกเพศของตัวละครได้ว่าจะเล่นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย แตกต่างจาก DRAGON QUEST BUILDERS 1 มีเพลง Love song (Only lonely boy) จากเกมหลักภาค 2 เปิดคลอให้ได้บรรยากาศและความคิดถึงเก่าๆ หลังจากนั้นก็ยังเลือกได้ว่า ตอนเริ่มเกมอยากเริ่มเล่นจากจุดไหนก่อน มีทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน [caption id="attachment_6018" align="alignnone" width="1280"] ผู้กล้าถูกจับโดยกลุ่ม Hargon Order[/caption] แบบแรกคือ การเริ่มเล่นจากตอนที่เราอยู่บนเรือโดยมีเนื้อเรื่องต่อจากตอนจบของ Dragon Quest II (2530) ถือเป็น Tutorial แรกของเกมที่จะสอนเราว่าระบบการเล่นเป็นอย่างไร ตั้งแต่การนอนและกินเพื่อเพิ่มเลือด การต่อสู้แบบมือเปล่า การคราฟท์ของ การเก็บทรัพยากร การต่อสู้กับมอนสเตอร์ รวมไปถึงการยกของ ซึ่งเราจะเรียนรู้ได้จาก Shidoh (Malroth) บอสภาค 2 ที่เป็น NPC อยู่บนเรือคอยป้อนภารกิจที่จะค่อยๆ ทำให้เราชินกับตัวเกม จนเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจบนเรือแล้ว จู่ๆ เรือก็อัปปางเราก็หมดสติไปและตื่นขึ้นมาอยู่บนเกาะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัย แบบที่สองคือ การเริ่มจากเราอยู่บนเกาะเลย โหมดนี้จะสอนให้เราเริ่มต้นเก็บทรัพยากร คราฟท์ของ และสร้างบ้าน ผ่าน NPC ต่างๆ ที่จะช่วยสอนระบบการเล่น ที่สำคัญที่สุดคือเพื่อนที่คอยติดตามเรามาคือบอสจากภาคสอง อย่าง Shidoh ที่มาในร่างเด็กหนุ่มผู้สูญเสียความทรงจำ และได้กลายมาเป็นคู่หูร่วมผจญภัยไปกับเราด้วย ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีฉากเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ที่ Shidoh จะกลายมาเป็นบอสในภารกิจสุดท้ายก่อนจบเกมหรือไม่ [caption id="attachment_6016" align="alignnone" width="1280"] ผู้สร้าง และคู่หูบอสเก่า Shidoh[/caption] ด้านกราฟิกทำออกมาได้น่าสนใจมาก ภาพระหว่างเกมสวย ดูสมัยใหม่ ในขณะที่ก็ให้ความรู้สึกคลาสสิคตามแบบฉบับเกมแนว Famicom ผ่านรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างหน้าตาของมินิแมพที่ดูย้อนยุค ลดทอนดีเทลของแผนที่ให้ออกมาในแนวเรโทร นอกจากนี้เมื่อกดปุ่ม touch pad แล้วยังเปลี่ยนมุมมองของมินิแมพให้เป็นมุม Bird eye view ซึ่งก็ใช้สไตล์ที่ย้อนยุค ถูกใจแฟนเกมคลาสสิคแน่นอน   สิ่งที่แตกต่างไปจากภาคก่อนๆ มีดังนี้ น้ำ: น้ำกลายเป็นส่วนสำคัญของเกม ในภาคนี้เราสามารถเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ สร้างภูมิประเทศได้หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโลกใต้น้ำให้เหล่านักสร้าง (Builder) ได้ลงไปสำรวจอีกด้วย EXP:การตีมอนสเตอร์ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น เมื่อในภาคนี้ตัวละครของเราสามารถเก็บ Exp ได้จากการฟาร์มมอนสเตอร์ หลอดเลเวลไม่ได้เป็นเลเวลของบ้านเหมือนภาคแรก ทั้งนี้เนื่องจากเราได้ลองเล่นไปแค่ 20 นาทีและยังไม่ได้ไปจนถึงจุดที่สามารถอัพเลเวลได้เยอะๆ เลยยังไม่แน่ใจว่าหลอดเลเวลนี้ส่งผลอย่างไรต่อตัวเกมกันแน่ Builder Point: ภาคนี้มีเกจ Builder Point เพิ่มขึ้นมา โดยทุกครั้งที่เราทำภารกิจเกี่ยวกับการสร้างบ้านสำเร็จ NPC จะแจกหัวใจให้ ซึ่งเราก็ยังไม่แน่ใจอีกเหมือนกันว่าหากเลเวลอัพแล้วจะสามารถทำอะไรได้ แต่ที่แน่ๆ คือไม่เหมือนกับทั้งเลเวลบ้านและของตอบแทนจากภาคก่อนอย่าง Seed of life แน่นอน ถุงมือยกของ: ภาคนี้เราจะได้เครื่องไม้เครื่องมือมาเพิ่มคือถุงมือวิเศษที่จะช่วยให้เราเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ ฟังดูเผินๆ ก็เหมือนจะคล้ายกับภาคแรกที่สามารถยกของได้เลยด้วยมือเปล่า แต่ที่พิเศษกว่าก็คือเราสามารถใช้ถุงมือที่ว่านี่เคลื่อนย้ายดินหรือก้อนหินได้โดยไม่ต้องเสียเวลาทุบแล้วค่อยขนย้ายให้เสียเวลาเหมือนภาคเก่า ถือว่าเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ดีจริงๆ การวิ่ง: ภาคนี้เราสามารถวิ่งได้โดยกด R1 โดยท่าวิ่งจะคล้ายกับท่าวิ่งของอาราเล่ ช่วยลดเวลาในการเคลื่อนย้ายได้มาก ทว่าก็ไม่สามารถใช้ได้ตลอดเพราะเมื่อกดวิ่งจะลดค่า Stamina การนอน: ในภาคก่อนหากเราเลือดลดแล้วต้องการจะฟื้นเลือด เราสามารถนอนได้ซึ่งจะเป็นการผลัดเปลี่ยนวันโดยอัตโนมัติ แต่ภาคนี้การนอนไม่ได้ทำให้เราสามารถข้ามเวลาได้อีกต่อไป เป็นแค่การค่อยๆ เพิ่มเลือดทีละ 2 หน่วยต่อวินาที หากเลือดเต็มแล้ว ตัวละครก็สามารถใช้ชีวิตต่อได้อย่างปกติ จุดนี้น่าจะเป็นเปลี่ยนการดำเนินเรื่องของเกมอยู่พอสมควร เพราะทำให้เราไม่สามารถข้ามตอนกลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาอันตรายไปได้ การคราฟท์: การคราฟท์ของถือเป็นส่วนที่สำคัญมากของเกมแนว Sand box โดยในภาคใหม่นี้ ตัวเกมได้ช่วยลดภาระทำให้การคราฟท์ของง่ายขึ้นอีกเยอะ เพราะเราไม่จำเป็นต้องแปรรูปทรัพยากรมากเท่าภาคเก่า เช่น หากเราต้องการเชือก เราสามารถฟาร์มจากเถาวัลย์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเก็บใบไม้ไปคราฟท์เป็นเชือกอีกทอด เท่าที่ผู้เขียนได้ลองเล่นเกมมาประมาณ 20 นาที ถือว่า Dragon Quest Builders 2 ทำออกมาได้ค่อนข้างน่าประทับใจ เหมาะกับแฟนเกมซีรีส์ Dragon Quest ทั้งภาคเก่าและ Builders ที่เคยออกมาแล้ว เพลงและกราฟิกภาพสามารถดึงภาพเก่าๆ ของ Dragon Quest II ออกมาได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงระบบการเล่นที่ปรับปรุงใหม่ ก็ช่วยลดเวลาและความยุ่งยากไปได้เยอะเลยทีเดียว  
20 Sep 2018
เตรียมพบกับ Stage Event จากเกม Death Stranding ที่งาน Tokyo Game Show 2018
เมื่อวานนี้ทางทวิตเตอร์ค่ายพัฒนา Kojima Productions ได้เปิดเผยว่าเกมสุดลึกลับของค่ายอย่าง Death Stranding จะจัดงานแถลงข่าวพิเศษขึ้นในเวทีงาน Tokyo Game Show 2018 วันที่ 23 กันยายนนี้ โดยในบทความยังมีคลิปเทรลเลอร์ภาษาญี่ปุ่นตัวใหม่อีกด้วย 2年振りに帰ってきます! 「東京ゲームショウ2018」9月23日(日)に「デス・ストランディング」のステージを開催します! 小島監督はもちろん、豪華声優陣が登壇。時間やゲストの詳細は追って発表します!グッズの物販「コジマプロダクションストア」としても出展します。 #TGS2018 pic.twitter.com/Uyd92iyZKs — Kojima Productions (@KojiPro2015) September 5, 2018 สำหรับงานแถลงข่าวครั้งนี้ ผู้พัฒนาบอกว่าจะมีแขกรับเชิญเป็นคุณ Hideo Kojima เอง ซึ่งจะมาพร้อมกับนักพากย์เสียงเกมภาคภาษาญี่ปุ่นอีกกลุ่มนึงด้วย ผู้พัฒนาไม่ได้เปิดเผยว่าบนเวทีจะทำการพูดถึงตัวเกมแค่ไหน หรือจะเปิดเผยข้อมูลใหม่อะไรหรือเปล่า คงต้องรอดูกันในวันงานจริงๆ ทีเดียวเลยจ้า! Death Stranding ยังไม่มีกำหนดวันวางจำหน่าย (Exclusive PS4) (ขอบคุณข้อมูลจาก Gematsu)
06 Sep 2018